Icon Close

อรรถประโยชน์ทางการเมือง: หุ้นส่วนทางการเมือง: พฤติกรรมทางการเมืองของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย Political Utilities: Political Partnerships: Citizens’ Political Behaviors in Democracy Regime

อรรถประโยชน์ทางการเมือง: หุ้นส่วนทางการเมือง: พฤติกรรมทางการเมืองของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย  Political Utilities: Political Partnerships: Citizens’ Political Behaviors in Democracy Regime
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
8 Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
24 สิงหาคม 2564
ความยาว
182 หน้า
ราคาปก
180 บาท (ประหยัด 44%)
อรรถประโยชน์ทางการเมือง: หุ้นส่วนทางการเมือง: พฤติกรรมทางการเมืองของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย Political Utilities: Political Partnerships: Citizens’ Political Behaviors in Democracy Regime
หนังสือ “อรรถประโยชน์ทางการเมือง : หุ้นส่วนทางการเมือง : พฤติกรรมทางการเมืองของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย (Political Utilities : Political Partnerships : Citizens’ Political Behaviors in Democracy Regime) เป็นหนังสือที่ผู้เขียนได้เรียบเรียงจากการศึกษาและวิเคราะห์เอกสารทางวิชาการ การสังเกตและการศึกษาภาคสนามเกี่ยวกับพฤติกรรมการแสดงออกทางการเมืองของประชาชนบริบทประเทศไทย สำหรับเนื้อหาสาระของบทเรียนในแต่ละบทมีความสมบูรณ์พอสมควรเนื่องจากผ่านกระบวนการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในลักษณะของบทความวิชาการมาแล้วเบื้องต้น สำหรับขอบข่ายหนังสือเล่มนี้วางออกเป็น 9 บทเรียน ดังนี้
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิถีประชาธิปไตย เป็นการอธิบายวิถีประชาธิปไตยของพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยโดยพิจารณาองค์ประกอบ 3 มิติ ได้แก่ (1) ความเข้าใจในหลักแห่งประชาธิปไตย (2) อุดมการณ์แบบประชาธิปไตย และ(3) การดำเนินชีวิตแบบประชาธิปไตย
บทที่ 2 พฤติกรรมทางการเมืองแบบวิถีประชาธิปไตย เป็นการอธิบายพฤติกรรมการการแสดงออกทางการเมืองใน 3 ลักษณะ ได้แก่ บทบาทผู้สังเกตการณ์ บทบาทผู้มีส่วนร่วม และ บทบาทความเป็นหุ้นส่วน
บทที่ 3 พฤติกรรมความเป็นหุ้นส่วนทางการเมือง อธิบายพฤติกรรมการเข้าไปมีส่วนพัวพันทางการเมืองโดยยึดหลักแห่งความเป็นเจ้าของในกิจกรรมทางการเมือง จำแนกออกเป็น 2 มิติ ได้แก่ (1) หุ้นส่วนทางการเมืองมิติปัจเจกชน และ (2) หุ้นส่วนทางการเมืองมิติปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและ/หรือองค์กร
บทที่ 4 การเสริมสร้างอุดมการณ์แบบประชาธิปไตยฐานคติหุ้นส่วนทางการเมือง เป็นการอธิบายอุดมการณ์ทางการเมืองซึ่งทำหน้าที่ปัจจัยเงื่อนไขที่มีอิทธิพลสำคัญต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมือง ได้แก่ (1) การพัฒนาปัจเจกบุคคล (2) การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนา (3) การออกแบบและปฏิรูปโครงสร้างและกลไกของรัฐ และ(4) การเข้าร่วมประชาคมระหว่างประเทศ
บทที่ 5 ความเป็นหุ้นส่วนทางการเมืองกับการพัฒนาวิถีประชาธิปไตย การพัฒนาวิถีประชาธิปไตยด้วยกระบวนการเสริมสร้างอุดมการณ์แบบประชาธิปไตยฐานคติหุ้นส่วนทางการเมือง ประกอบด้วย (1) การขับเคลื่อนโดยสถาบันรัฐด้วยการสร้างบรรยากาศและการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาประชาธิปไตย (2) การพัฒนาตนเองของปัจเจกและชุมชน (3) การพัฒนาเครือข่ายภาคประชาสังคม และ(4) การเข้าร่วมทำสัญญาประชาคมกับองค์การระหว่างประเทศ
บทที่ 6 อรรถประโยชน์ทางการเมือง : ตัวแปรอิทธิต่อพฤติกรรมการตัดสินใจทางการเมือง การอธิบายปัจจัยสิ่งเร้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทางการเมือง โดยอธิบายด้วย 4 ทฤษฎี กล่าวคือ ทฤษฎีปัจจัยกำหนด ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน ทฤษฎีจิตวิทยา และ ทฤษฎีความสำนึกเชิงเหตุผล
บทที่ 7 อรรถประโยชน์ทางการเมืองกับการจัดบริการสาธารณะ อธิบายแนวทางการประยุกต์ใช้อรรถประโยชน์ทางการเมืองโดยผ่านกระบวนการการตัดสินใจเลือกตั้งและการการจัดบริการสาธารณะ
บทที่ 8 สังคมอุดมปัญญาประชาธิปไตย นำเสนอคุณลักษณะของสังคมประชาธิปไตยที่พึงประสงค์ ประกอบด้วย (1) วิถีปัจเจกแห่งประชาธิปไตย ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจในหลักการประชาธิปไตย อุดมการณ์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตย และ การแสดงออกทางการเมืองตามวิถีประชาธิปไตย (2) วิถีประชาแห่งประชาธิปไตย ได้แก่ สมัยนิยม ความนิยมชั่วครู่ ความคลั่งไคล้ งานพิธี พิธีการ พิธีกรรม มารยาททางสังคม และ (3) ระบบและกลไกการจัดระเบียบทางสังคมแห่งประชาธิปไตย
บทที่ 9 วิถีพอเพียง : วิถีประชาธิปไตย การศึกษาภาคสนามเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับวิถีความเป็นประชาธิปไตย
ผู้เขียนหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาค้นคว้าและเป็นคู่มือสำหรับนักเรียนนักศึกษาตลอดจนนักการศึกษารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์เพื่อเป็นแนวทางและออกแบบยุทธวิธีการพัฒนาการเมืองให้ดียิ่งๆขึ้นไป

ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
24 สิงหาคม 2564
ความยาว
182 หน้า
ราคาปก
180 บาท (ประหยัด 44%)
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
คุณสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็นได้จ้า