Icon Close

การแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย

การแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
1 Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
12 ตุลาคม 2564
ความยาว
377 หน้า
ราคาปก
199 บาท (ประหยัด 50%)
การแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย
การแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
1 Rating
หนังสือเรื่อง การแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย เล่มนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอผลการวิเคราะห์และการสังเคราะห์เกี่ยวกับมโนทัศน์การแทรกแซงทางการเมืองของทหารอันเป็นความคิดทางการเมืองที่อยู่ในความสนใจของผู้คนทุกสมัย นับแต่โบราณมาแล้วอำนาจทางการเมืองเป็นของผู้ที่มีกำลังเข้มแข็งกว่า ซึ่งคำว่า กำลัง ในที่นี้ก็คือ กำลังทหาร

รัฐสมัยใหม่หลายรัฐมักมีการแทรกแซงทางการเมืองจากทหาร จากนั้นก็ปกครองในระบอบเผด็จการอำนาจนิยม บางรัฐทหารทำรัฐประหารจนกลายเป็นวัฒนธรรมในกองทัพ บางรัฐทำรัฐประหารจนกลายเป็นความคุ้นชินกันไปทีเดียว

ผู้เขียนยังได้นำเสนอมโนทัศน์หลักและกรอบการวิเคราะห์ความคิดทางการเมืองไทยที่เกี่ยวกับการแทรกแซงทางการเมืองของทหารโดยการรัฐประหาร

รวมไปถึงผลการสังเคราะห์ความพยายามแทรกแซงทางการเมืองทำให้กลุ่มของตนกลายเป็นกบฏ เพื่อให้ผู้อ่านได้ใช้เป็นรากฐานสำคัญในการวิเคราะห์ความคิดทางการเมืองไทย

หนังสือเล่มนี้มีสาระแบ่งออกเป็น 8 บท ประกอบด้วย

บทที่ 1 ข้ออ้างในการแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย นำเสนอผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับการเมืองในข้ออ้างการรัฐประหาร บทสำรวจข้ออ้างการรัฐประหารของทหารไทย ข้ออ้างหลักของคณะรัฐประหาร อัตมโนทัศน์ของหัวหน้าคณะรัฐประหาร รัฐประหารเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ อาทิ ทำลายรัฐบาลที่ชั่วร้าย ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ พิทักษ์หรือยกเลิกรัฐธรรมนูญ

รวมถึงนำเสนอผลการวิเคราะห์มโนทัศน์เกี่ยวกับข้ออ้างอื่นของคณะรัฐประหาร ความคิดทางการเมืองของประชาชนและชนชั้นนำ การสังเคราะห์ข้ออ้างในการแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย

บทที่ 2 ความคิดทางการเมืองไทยเปรียบเทียบในกรณีข้ออ้างการรัฐประหาร พ.ศ. 2534, 2549 และ 2557 นำเสนอผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับความคิดทางการเมืองไทยเปรียบเทียบว่าด้วยข้ออ้างการรัฐประหาร พรรคการเมืองคู่ขัดแย้งกับคณะรัฐประหาร พรรคพลังประชารัฐ พรรคสามัคคีธรรม พรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคอนาคตใหม่และพรรคก้าวไกล ความคิดทางการเมืองท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง ข้ออ้างการรัฐประหาร พ.ศ. 2534, 2549 และ 2557 การประกาศควบคุมอำนาจการปกครองประเทศและการประกาศใช้กฎอัยการศึกของคณะรัฐประหารทั้งสามครั้ง

รวมถึงนำเสนอผลการวิเคราะห์มโนทัศน์เกี่ยวกับจุดร่วมข้ออ้างการรัฐประหาร พ.ศ. 2534, 2549 และ 2557 การสังเคราะห์ความคิดทางการเมืองไทยเปรียบเทียบในกรณีข้ออ้างการรัฐประหารทั้งสามครั้ง

บทที่ 3 การแทรกแซงทางการเมืองของทหารในประวัติศาสตร์หลังการปฏิวัติสยาม นำเสนอผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับข้อเสนอของประชาชนฝ่ายต่อต้านการรัฐประหาร ประวัติศาสตร์การปฏิวัติสยาม ความคิดทางการเมืองหลังการปฏิวัติสยามถึงการรัฐประหารของคณะทหารของชาติ การสังเคราะห์การแทรกแซงทางการเมืองของทหารในประวัติศาสตร์หลังการปฏิวัติสยาม

บทที่ 4 ความคิดทางการเมืองของคณะรัฐประหารไทย นำเสนอผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์รัฐประหารในสังคมการเมืองการปกครองไทย ความคิดทางการเมืองในการรัฐประหารเงียบของคณะเจ้า สาระสำคัญของพระราชกฤษฎีกาของคณะรัฐประหารเงียบ ข้ออ้างการรัฐประหารเงียบของคณะเจ้า การประนีประนอมกันของคณะราษฎรกับคณะเจ้า

ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างคณะราษฎรกับคณะเจ้า การเมืองของสมาคมคณะราษฎรกับคณะชาติ กฎหมายว่าด้วยเงินกู้ภายในประเทศ และกฎหมายว่าด้วยงบประมาณแผ่นดินประจำปี ภาคปฏิบัติของความคิดทางการเมืองว่าด้วยอำนาจคือธรรม

ความท้าทายในการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐของคณะราษฎร ความคิดทางการเมืองของคณะราษฎรในเค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ ความคิดทางการเมืองของคณะเจ้าในสังคมการเมืองสยามหลังการปฏิวัติสยาม ปฏิกิริยาของคณะเจ้าต่อความคิดทางการเมืองในเค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ

การปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองของคณะราษฎร ความคิดทางการเมืองของคณะรัฐประหารเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ สภาวะความตึงเครียดทางการเมืองภายหลังการรัฐประหารเงียบ ความคิดทางการเมืองของคณะเจ้าในการดึงศัตรูมาเป็นพวก ความไม่ไว้วางใจทางการเมืองต่อคณะเจ้าของคณะราษฎร การทำลายสัญญาการเมืองระหว่างคณะราษฎรและคณะเจ้า

ข้ออ้างการรัฐประหารเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญของคณะราษฎร การรัฐประหารเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญสยาม ฉบับที่ 2 ของคณะราษฎร ความต้องการให้เปิดสภาผู้แทนราษฎรและใช้รัฐธรรมนูญของคณะราษฎร การเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อกลับคืนสู่วิถีประชาธิปไตยสากลของคณะราษฎร รากฐานความคิดทางการเมืองในการรัฐประหารเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญของคณะราษฎร

ความคิดทางการเมืองในการรัฐประหารของคณะทหารของชาติ ครั้งแรก ข้ออ้างการรัฐประหารของคณะทหารของชาติ ครั้งแรก ความคิดทางการเมืองในข้ออ้างการรัฐประหารของคณะทหารของชาติ ครั้งแรก การดึงศัตรูของศัตรูมาเป็นพวกของคณะทหารของชาติ ความคิดทางการเมืองของผู้มีอำนาจแท้จริงของคณะทหารของชาติ ระเบียบการเมืองของคณะทหารของชาติ ความคิดทางการเมืองในการรัฐประหารของคณะทหารของชาติ ครั้งที่ 2 ความสืบเนื่องของการรัฐประหารของคณะทหารของชาติ

ข้อเรียกร้องของคณะทหารของชาติก่อนการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลควง อภัยวงศ์ การบีบบังคับให้ ควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของคณะทหารของชาติ รากฐานความคิดทางการเมืองในการรัฐประหารของคณะทหารของชาติ ครั้งที่ 2 การดุลอำนาจระหว่างกลุ่มการเมืองที่สนับสนุนรัฐบาล ป. พิบูลสงคราม
กลุ่มขัดแย้งทางการเมืองใหม่ระหว่างคณะราษฎร คณะเจ้า และกองทัพ ความคิดทางการเมืองในการรัฐประหารของคณะทหารของชาติ ครั้งที่ 3 การรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลตัวเองของรัฐบาล ป. พิบูลสงคราม ข้ออ้างในการรัฐประหารคณะทหารของชาติ ครั้งที่ 3 การจัดระเบียบอำนาจในคณะรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรของรัฐบาล ป. พิบูลสงคราม

ความคิดทางการเมืองที่แท้จริงของการรัฐประหารคณะทหารของชาติ ครั้งที่ 3 ความคิดทางการเมืองในการรัฐประหารของคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ครั้งแรก ความคิดทางการเมืองในการรัฐประหารของคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ครั้งที่ 2

ความคิดทางการเมืองในการรัฐประหารรัฐบาลตนเองของ ถนอม กิตติขจร ความคิดทางการเมืองในการรัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ครั้งแรก ความคิดทางการเมืองในการรัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ครั้งที่ 2 ความคิดทางการเมืองในการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ

รวมถึงนำเสนอผลการวิเคราะห์มโนทัศน์เกี่ยวกับความคิดทางการเมืองในการรัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ความคิดทางการเมืองในการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ การสังเคราะห์ความคิดทางการเมืองของคณะรัฐประหารไทย

บทที่ 5 ความคิดทางการเมืองว่าด้วยวัตถุประสงค์ของคณะรัฐประหารไทย นำเสนอผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับประเภทความคิดทางการเมืองของคณะรัฐประหารไทย ความคิดทางการเมืองของคณะรัฐประหารที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการพัฒนาระบอบการปกครองต่างๆ อาทิ ราชาธิปไตย ประชาธิปไตย เผด็จการอำนาจนิยม การสังเคราะห์ความคิดทางการเมืองว่าด้วยวัตถุประสงค์ของคณะรัฐประหารไทย

บทที่ 6 ความคิดทางการเมืองของคณะกบฏไทย นำเสนอผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับกบฏในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย ความคิดทางการเมืองของคณะกบฏต่างๆ

รวมถึงนำเสนอผลการวิเคราะห์มโนทัศน์เกี่ยวกับความคิดทางการเมืองของคณะกบฏ อาทิ กบฏเก็กเหม็ง กบฏบวรเดช กบฏนายสิบ กบฏทรงสุรเดช กบฏเสนาธิการ กบฏแบ่งแยกดินแดน กบฏวังหลวง กบฏแมนฮัตตัน กบฏสันติภาพ กบฏนายทหารอากาศ กบฏฉลาด กบฏยังเติร์ก กบฏทหารนอกราชการ รวมถึงการสังเคราะห์ความคิดทางการเมืองของคณะกบฏไทย

บทที่ 7 ความคิดทางการเมืองว่าด้วยวัตถุประสงค์ของคณะกบฏไทย นำเสนอผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับประเภทการก่อกบฏในสังคมการเมืองไทย ความคิดทางการเมืองของคณะกบฏที่ต้องการปฏิวัติโดยมีวัตถุประสงค์ในการสถาปนาระบอบการปกครอง โดยมีทั้งคณะกบฏเพื่อประชาธิปไตย และคณะกบฏเพื่อราชาธิปไตย
อีกทั้งยังมีความคิดทางการเมืองของคณะกบฏที่ต้องการทำรัฐประหารเปลี่ยนรัฐบาลโดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการพัฒนาระบอบการปกครองโดยมีทั้งคณะกบฏเพื่อประชาธิปไตย และคณะกบฏเพื่อเผด็จการอำนาจนิยม

รวมถึงนำเสนอผลการวิเคราะห์มโนทัศน์เกี่ยวกับความคิดทางการเมืองในกระบวนการทำให้กลายเป็นกบฏของรัฐ การสังเคราะห์ความคิดทางการเมืองว่าด้วยวัตถุประสงค์ของคณะกบฏไทย

บทที่ 8 การสังเคราะห์ความคิดทางการเมืองไทยว่าด้วยการแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย นำเสนอผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับการเมืองของการแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย การกลายเป็นกบฏของรัฐ การเมืองของกระบวนการทำให้กลายเป็นกบฏของรัฐ การเมืองของอำนาจคือธรรม การแทรกแซงทางการเมืองของทหาร และทหารนิยม

หนังสือเล่มนี้มีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นความคิดทางการเมืองไทย ซึ่งผู้เขียนได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม

ในการนี้จึงขออวยพรให้ผู้อ่านทุกคนมีความสุขและมีชีวิตที่ดีที่สุดต่อไป

ไพรวัลย์ เคนพรม
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
12 ตุลาคม 2564
ความยาว
377 หน้า
ราคาปก
199 บาท (ประหยัด 50%)
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
หนังสือเล่มนี้เปิดให้แสดงความคิดเห็นได้เฉพาะผู้ที่มีหนังสือฉบับเต็มเท่านั้น