Icon Close

เอกสารประกอบการสอนรายวิชา “ทฤษฎีการเมือง”

เอกสารประกอบการสอนรายวิชา “ทฤษฎีการเมือง”
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
No Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
29 มีนาคม 2566
ความยาว
305 หน้า
ราคาปก
300 บาท (ประหยัด 16%)
เอกสารประกอบการสอนรายวิชา “ทฤษฎีการเมือง”
เอกสารประกอบการสอนรายวิชา “ทฤษฎีการเมือง”
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
No Rating
เอกสารประกอบการสอนรายวิชา “ทฤษฎีการเมือง” ผู้เขียนรวมรวบขึ้นเพื่อเพื่อให้นิสิตทราบและเข้าใจทฤษฎีการเมืองต่างๆ ที่ผู้เขียนรับผิดชอบบรรยายมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งเป็นวิชาที่ต้องการให้นิสิตศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีการเมืองตะวันตก ทฤษฎีการเมืองตะวันออก ปรัชญาการเมือง ความคิดทางการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง ลัทธิทางการเมือง ลัทธิชาตินิยม ลัทธิประชาธิปไตย ระบอบเผด็จการ ลัทธิสังคมนิยม และลัทธิอนาธิปไตย เพื่อให้ครอบลคุมประเด็นการศึกษาที่กำหนดไว้ ผู้เขียนจึงจัดแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๑๒ บท ดังนี้
บทที่ ๑ ความนำเกี่ยวกับทฤษฎีการเมือง มีลักษณะชัดเจนและแน่นอนกว่าปรัชญาการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสาระ คำอธิบาย และความหมาย โดยทั่วไปทฤษฎีการเมืองจะเป็นผล เนื่องมาจากการศึกษาค้นคว้าและพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริงที่อาจรับกันได้ แต่อาจไม่เป็นความจริงแท้สมบูรณ์เหมือนวิทยาศาสตร์ บทนี้จะนำเสนอประเด็นสำคัญ ได้แก่ ความนำ ความหมายของทฤษฎีการเมือง ศัพท์ที่เกี่ยวกับทฤษฎีการเมือง ทฤษฎีการเมืองกับปรัชญาการเมือง และสรุปความนำเกี่ยวกับทฤษฎีการเมือง
บทที่ ๒ ทฤษฎีการเมืองตะวันตก เป็นแนวคิดทางการเมืองที่น่าสนใจทุกยุคสมัย มีอิทธิพลต่ออารยธรรมโลกทั้งหมด ซึ่งหลักปรัชญาการเมืองกลายเป็นรูปแบบการเมืองการปกครองสำคัญในปัจจุบัน บทนี้จะนำเสนอประเด็นสำคัญ ได้แก่ ทฤษฎีการเมืองยุคกรีก ทฤษฎีการเมืองยุคโรมัน ทฤษฎีการเมืองยุคกลาง ทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่ ทฤษฎีการเมืองหลังสมัยใหม่ และสรุปทฤษฎีการเมืองตะวันตก
บทที่ ๓ ทฤษฎีการเมืองตะวันออก เป็นแนวคิดที่สะคุณค่าเชิงนามธรรมหรือจิตใจของทั้งผู้ปกครองและประชาชน บทนี้จะนำเสนอประเด็นสำคัญ ได้แก่ ทฤษฎีการเมืองของอินเดีย ประกอบด้วย ทฤษฎีการเมืองของพราหมณ์-ฮินดู ทฤษฎีการเมืองของพระพุทธศาสนา และทฤษฎีการเมืองของจาณักยะ ทฤษฎีการเมืองของจีน ประกอบด้วย ทฤษฎีการเมืองของเต๋า ทฤษฎีการเมืองของขงจื้อ ทฤษฎีการเมืองของโม่จื้อ ทฤษฎีการเมืองขอเม้งจื๊อ และทฤษฎีการเมืองของซุนจื๊อ ทฤษฎีการเมืองของคริสต์ศาสนา ทฤษฎีการเมืองของศาสนาอิสลาม และสรุปทฤษฎีการเมืองตะวันออก
บทที่ ๔ ความคิดทางการเมือง เป็นการศึกษาพัฒนาการของความคิดทางการเมืองของนักปรัชญา นักคิดท่านต่าง ๆ ในแต่ละยุคสมัยโดยคำนึงถึงบริบททางกาลเทศะว่ามีผลต่อทฤษฎี หรือหลักปรัชญาของนักปรัชญา นักคิด คนนั้นๆ อย่างไรบ้าง รวมถึงได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจากใคร อะไร อย่างไร บทนี้จะนำเสนอประเด็นสำคัญ ได้แก่ ความหมายของความคิดทางการเมือง ปฐมเหตุความคิดทางการเมือง ความคิดทางการเมืองสมัยโบราณ (Antiquity) ความคิดทางการเมืองสมัยกลาง (Middle Ages หรือ Medieval) ความคิดทางการเมืองสมัยใหม่ (Modern Ages and Contemporary) ความคิดทางการเมืองหลังสมัยใหม่ (postmodern political philosophy) และสรุปความคิดทางการเมือง
บทที่ ๕ อุดมการณ์ทางการเมือง เป็นระบบความคิดทางการเมืองและความเชื่อในทางการเมืองของนักคิดคนเดียวหรือหลายคนที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในสังคมนั้นๆ บทนี้จะนำเสนอประเด็นสำคัญ ได้แก่ ความหมาย ประโยชน์ และประเภทของอุดมการณ์ทางการเมือง อุดมการณ์ทางการเมืองระบอบประชาธิปไตย อุดมการณ์ทางการเมืองระบอบเผด็จการ อุดมการณ์ทางการเมืองระบอบราชาธิปไตย อุดมการณ์ทางการเมืองการปกครองของไทย และสรุปอุดมการณ์ทางการเมือง
บทที่ ๖ ลัทธิการเมือง เป็นหลักการทางการเมืองที่มีลักษณะผสมผสาน จากความคิดหรือทฤษฎีของเมธีหลายท่าน ประกอบกันเป็นแนวความคิดเกี่ยวกับระบบการเมือง ชี้แนะและการจัดวางอำนาจ โครงสร้างทางการเมือง ความเกี่ยวพันระหว่างองค์กรที่ใช้อำนาจกับบุคคล และประโยชน์คุณค่าที่จะบังเกิดขึ้นในการปฏิบัติตามลัทธิ บทนี้จะนำเสนอประเด็นสำคัญ ได้แก่ ลัทธิเสรีนิยม ลัทธิประชาธิปไตย ลัทธิสังคมนิยมประชาธิปไตย ลัทธิอนุรักษ์นิยม ลัทธิชาตินิยม ลัทธิสังคมนิยม ลัทธิอนาธิปไตย และสรุปลัทธิการเมือง
บทที่ ๗ ลัทธิชาตินิยม เป็นแนวคิดหรือลัทธิที่สะท้อนความจงรักภักดีต่อชาติมากกว่าสิ่งอื่นใด ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นครอบครัว กลุ่มของคน วงศาคณาญาติ หรือประเทศชาติอื่น บทนี้จะนำเสนอประเด็นสำคัญ ได้แก่ ระบอบชาตินิยม ความหมายของชาตินิยม นิยามและอุดมการณ์ชาตินิยม องค์ประกอบของชาตินิยม ประเภทของชาตินิยม วิวัฒนาการชาตินิยม สรุปลัทธิชาตินิยม
บทที่ ๘ ลัทธิประชาธิปไตย เป็นลัทธิที่ตระหนักในคุณค่าของประชาชน ซึ่งเชื่อว่าเป็นเจ้าของอำนาจรัฐโดยชอบธรรม ร่วมกันปกครองรัฐตามกติกาที่กำหนดไว้ร่วมกัน ในฐานะรัฐธรรมนูญของประเทศ ซึ่งมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันตามกฎหมาย มีสิทธิเสรีภาพในขอบเขตของกฎหมาย การดำเนินการของรัฐ ถือมติเสียงข้างมากเป็นเครื่องตัดสิน แต่เคารพเสียงข้างน้อยหรือคนส่วนน้อยของรัฐ จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย ตามกระบวนการเลือกตั้ง การอภิปราย การออกเสียง ประชามติ การเสนอร่างกฎหมายของประชาชน บทนี้จะนำเสนอประเด็นสำคัญ ได้แก่ ความหมายของลัทธิประชาธิปไตย ประวัติศาสตร์ลัทธิประชาธิปไตย ลักษณะสำคัญของลัทธิประชาธิปไตย รูปแบบลัทธิประชาธิปไตย ประเภทของลัทธิประชาธิปไตย รูปแบบประชาธิปไตยแบบผู้แทนหรือประชาธิปไตยทางอ้อม การแสดงออกถึงอำนาจที่ประชาชนพึงมีตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย หลักการสำคัญของการปกครองลัทธิประชาธิปไตย และสรุปลัทธิประชาธิปไตย
บทที่ ๙ ระบอบเผด็จการ เป็นรูปแบบรัฐบาลมีผู้นำคนเดียวหรือกลุ่มเดียว มีความอดทนเพียงเล็กน้อยต่อหรือไม่ทนเลย ต่อความเป็นพหุนิยมทางการเมืองและต่อสื่อเสรี เป็นรูปแบบการปกครองแบบอัตตาธิปไตย บทนี้จะนำเสนอประเด็นสำคัญ ได้แก่ ระบอบเผด็จการทหาร ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ หลักการของระบอบเผด็จการ ข้อดีและข้อเสียของระบอบเผด็จการ และสรุประบอบเผด็จการ
บทที่ ๑๐ ลัทธิสังคมนิยม เป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งที่รวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางของประเทศ คือคณะรัฐบาลและประมุขของประเทศ เป็นระบอบการปกครองที่ไม่มีกษัตริย์เป็นประมุข จึงมีลักษณะเป็นสาธารณรัฐเสมอ ทรัพย์สินส่วนใหญ่รัฐบาลจะเป็นผู้รวบรวมไว้และแจกจ่ายให้ประชาชนอย่างเท่าเทียมกันที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและความไม่เท่าเทียมสังคมนิยม เป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจซึ่งสังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและการจัดการเศรษฐกิจแบบร่วมมือกัน บทนี้จะนำเสนอประเด็นสำคัญ ได้แก่ ความหมายของสังคมนิยม การปกครองแนวสังคมนิยม ลักษณะของสังคมนิยม รูปแบบของสังคมนิยม รูปแบบการใช้ระบบสังคมนิยมในประเทศต่างๆ และสรุปลัทธิสังคมนิยม
บทที่ ๑๑ ลัทธิอนาธิปไตย เป็นลัทธิที่กำหนดพื้นฐานความเชื่อว่า กฎหมาย กฎเกณฑ์ หรือรัฐบาลทุกรูปแบบเป็นสิ่งเลวร้าย เพราะมีการจำกัดสิทธิส่วนบุคคลจึงสมควรที่จะต้องทำลายทุกรัฐบาลที่เป็นสัญลักษณ์ของการกดขี่ให้สิ้นซาก คำนี้มาจากคำว่า “anarchist” ของภาษากรีกโบราณ แปลว่า “ไม่มีรัฐบาล” บทนี้จะนำเสนอประเด็นสำคัญ ได้แก่ ความหมายของอนาธิปไตย ประวัติความเป็นมาของแนวคิดอนาธิปไตย การแบ่งกลุ่มของอนาธิปไตย และสรุปลัทธิอนาธิปไตย
บทที่ ๑๒ ลัทธิอนุรักษ์นิยม (Conservativism) คือ อุดมการณ์หรือความคิดทางการเมืองที่สนับสนุนคุณค่า (Value) ดั่งเดิม โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะรักษาระเบียบสังคมที่มีอยู่เดิม หรือการนำระเบียบสังคมในอดีตกลับมาใช้อีก บทนี้จะนำเสนอประเด็นสำคัญ ได้แก่ องค์ประกอบของอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมอนุรักษ์นิยมคลาสสิก (Classic Conservatism) อนุรักษ์นิยมใสมัยใหม่ (Modern Conservation) สรุประบอบอนุรักษ์นิยม
สำหรับเนื้อหาแต่ละบทกล่าวถึงทฤษฎีการเมืองตามยุคสมัยเป็นหลัก สังเคราะห์จากแนวคิดและทฤษฎีของนักปรัชญาการเมืองตั้งแต่โบราณถึงปัจจุบัน โดยใช้แหล่งข้อมูลทั้งจากหนังสือ บทความวิชาการ บทความวิจัย วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ รายงานวิจัย แหล่งข้อมูลออนไลน์ ผู้เขียนขอบคุณเจ้าของผลงานอย่างยิ่ง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน หากมีประเด็นและรายละเอียดใดผิดพลาด ผู้เขียนขออภัยมา ณ โอกาสนี้ และขอน้อมรับไปปรับปรุงแก้ไขในฉบับต่อไป



ดร.อนุชา พละกุล
๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๕
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
29 มีนาคม 2566
ความยาว
305 หน้า
ราคาปก
300 บาท (ประหยัด 16%)
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
หนังสือเล่มนี้เปิดให้แสดงความคิดเห็นได้เฉพาะผู้ที่มีหนังสือฉบับเต็มเท่านั้น