Icon Close

พุทธรัฐศาสตร์ : แนวคิด ทฤษฎี และกรณีศึกษา

พุทธรัฐศาสตร์ : แนวคิด ทฤษฎี และกรณีศึกษา
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
No Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
03 เมษายน 2566
ความยาว
379 หน้า
ราคาปก
350 บาท (ประหยัด 14%)
พุทธรัฐศาสตร์ : แนวคิด ทฤษฎี และกรณีศึกษา
พุทธรัฐศาสตร์ : แนวคิด ทฤษฎี และกรณีศึกษา
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
No Rating
การเขียนหนังสือเรื่อง “พุทธรัฐศาสตร์: แนวคิด ทฤษฎี และกรณีศึกษา” นับว่าเป็นความสนใจสมัยใหม่ ที่ต้องการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อความจากพระไตรปิฎก ซึ่งสามารถเชื่อมโยงรัฐศาสตร์ด้วยเนื้อหาทั้งที่เป็นสากลและเชิงพุทธรัฐศาสตร์ให้เกิดการยอมรับ จากนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ได้อย่างแท้จริง
ตำราเล่มนี้ออกแบบเนื้อหาทางรัฐศาสตร์ ให้สอดคล้องกับหลักการทางพระพุทธศาสนา ซึ่งสังเคราะห์จากพระไตรปิฎกทั้ง ๓ ปิฎก เพื่อให้ได้แนวคิดและทฤษฎีเชิงรัฐศาสตร์ จากพระไตรปิฎกที่เชื่อถือได้ ผู้เขียนจึงได้รวบรวมและเรียบเรียงตำรานี้ โดยได้จัดแบ่งประเด็นเนื้อหาออกเป็น ๙ บท ประกอบด้วย
บทที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพุทธรัฐศาสตร์ เป็นการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกที่สัมพันธ์กับหลักรัฐศาสตร์ ซึ่งปรากฏตามพระสูตรต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ และทรงเกี่ยวข้องในบางบริบท
บทที่ ๒ หลักนิติบัญญัติและตุลาการตามแนวพระพุทธศาสนา เป็นการอธิบายการเกิดขึ้นของกฎหมายและการตัดสินคดีความในพระพุทธศาสนา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในบริบทของคณะสงฆ์ ผู้เป็นกลุ่มตัวแบบในการบัญญัติบทลงโทษและกระบวนการตัดสินภิกษุผู้ละเมิด
บทที่ ๓ แนวคิดการปกครองตามแนวพระพุทธศาสนา เป็นการค้นคว้าและสรุปหลักการปกครองตามวิธีการทางพระพุทธศาสนา ที่ปรากฏในพระสูตรต่างๆ ของพระไตรปิฎก
บทที่ ๔ ปรัชญาการปกครองตามแนวพระพุทธศาสนา เป็นปรัชญาการเมืองของพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นอุดมคติ อันเป็นการแสดงความคิดทางการปกครองของพระพุทธเจ้า ทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่สังเคราะห์แล้วว่าเป็นปรัชญาการเมืองที่ปรากฏในพระพุทธศาสนา
บทที่ ๕ หลักพุทธธรรมกับการเมืองการปกครอง เป็นการสังเคราะห์หลักพุทธธรรมซึ่งเป็นข้อธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครอง อันเป็นข้อเท็จจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ และเกิดจากปฏิบัติจริงของผู้ปกครองของรัฐต่างๆ ในสมัยพุทธกาล
บทที่ ๖ แนวคิดการปกครองตามแนวคัมภีร์ชาดก เป็นการอธิบายความหมายและที่มาของคัมภีร์ชาดก ซึ่งทั้งหมดเกี่ยวข้องโดยตรงกับพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์ แล้วให้แนวคิดเกี่ยวกับการปกครองไว้ในชาตินั้นๆ ซึ่งเรียกว่าชาดก
บทที่ ๗ การเมืองการปกครองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักวิชาการสมัยใหม่ เป็นการสรุปความคิดเห็นของนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์สมัยใหม่ ที่สนใจพระพุทธศาสนาในมิติรัฐศาสตร์ ซึ่งสามารถนำไปสังเคราะห์และประยุกต์ใช้กับระบบการเมืองการปกครอง ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านรัฐศาสตร์
บทที่ ๘ แนวโน้มการศึกษาพุทธรัฐศาสตร์ในอนาคต เป็นการประเมินสังคมรัฐที่เต็มไปด้วยความขัดแข้ง จึงจำเป็นต้องเสนอรูปแบบกระบวนการทางรัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนา ที่สามารถแก้ไขความล้มเหลวเชิงจริยธรรมของผู้เกี่ยวข้อง ด้วยการอาศัยตัวแบบปรากฏในพระไตรปิฎก เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงเชิงการเมือง
บทที่ ๙ กรณีศึกษาพุทธรัฐศาสตร์ มีเนื้อเกี่ยวกับแนวคิดทางการเมืองในพระไตรปิฎก การบริหารอำนาจตามแนวพุทธในระบบการปกครองแบบธรรมรัฐ และแนวคิดระบอบการปกครองแบบธรรมาธิปไตยในฐานะอุดมคติเพื่อการสร้างความสมดุลแห่งอำนาจในการปกครองรัฐ ประกอบด้วย แนวคิดเกี่ยวกับหลักราชธรรม ๑๐ ประการ แนวคิดเกี่ยวกับหลักจักรวรรดิวัตร ๑๒ ประการ แนวคิดเกี่ยวกับหลักกาลามสูตรกังขานิยมฐาน ๑๐ ประการ แนวคิดเกี่ยวกับหลักอปริหานิยธรรม ๗ ประการ ของกษัตริย์วัชชี แนวคิดเกี่ยวกับหลักมรรคมีองค์ ๘ ประการ หรือ อัฏฐังคิกมรรค แนวคิดเกี่ยวกับหลักหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ประการ แนวคิดเกี่ยวกับหลักพรหมวิหาร ๔ ประการ และแนวคิดเกี่ยวกับหลักสารณียธรรม ๖ ประการ ตลอดจนการศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาการเมืองในคัมภีร์ทีฆนิกาย คุณลักษณะของผู้นำสังคมในอุดมคติตามหลักคําสอนของพระพุทธศาสนา คุณค่าของพุทธศาสนาในการบริหารราชการ การเมืองการปกครองในคัมภีร์พุทธศาสนา และแนวคิดและบทบาททางการเมืองของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
การรวบรมและเรียบเรียงนี้ ผู้เขียนได้นำข้อมูลเชิงสังเคราะห์จากหนังสือเรื่อง เอกสาร งานวิชาการของนักวิชาการหลากหลาย เพื่อนำมาเป็นกรอบในการจัดลำดับเนื้อหาและแหล่งข้อมูล ที่ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับแนวคิดและข้อมูลของรัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก จึงขอกราบขอบพระคุณเจ้าของผลงานด้วยความเคารพ
ผู้เขียนขอขอบพระคุณและขอบคุณผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ของวิทยาลัยสงฆ์เพชรบุรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทุกท่าน ที่ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือในการสร้างผลงานที่มีประโยชน์ฉบับนี้ หากมีความบกพร่องประการใด ผู้เขียนขออภัยมา ณ โอกาสนี้ และขอน้อมรับไว้ เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักวิชาการต่อไป

ดร.อนุชา พละกุล
๑ เมษายน ๒๕๖๖
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
03 เมษายน 2566
ความยาว
379 หน้า
ราคาปก
350 บาท (ประหยัด 14%)
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
หนังสือเล่มนี้เปิดให้แสดงความคิดเห็นได้เฉพาะผู้ที่มีหนังสือฉบับเต็มเท่านั้น