Icon Close

บทสวดมนต์วันพระ แผ่เมตตา อโหสิกรรม

บทสวดมนต์วันพระ แผ่เมตตา อโหสิกรรม
สำนักพิมพ์Thai Publisher
หมวดหมู่ธรรมะ/ปรัชญา
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
1 Rating
ประเภทไฟล์
pdf, epub
วันที่วางขาย
21 พฤศจิกายน 2566
ความยาว
52 หน้า (≈ 4,692 คำ)
ราคาปก
ฟรี
บทสวดมนต์วันพระ แผ่เมตตา อโหสิกรรม
แอพสวดมนต์ + ปฏิทินวันพระ
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.ydms.dev1557262.jarun&gl=th&hl=th

บทสวดมนต์ไหว้พระ ประกอบด้วยบทสวดมนต์ ดังนี้
- บทบูชาพระรัตนตรัย
- กราบพระรัตนตรัย
- นมัสการพระพุทธเจ้า (นโม)
- ขอขมาพระรัตนตรัย
- ไตรสรณคมน์
- สมาทานศีล 5
- บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย
- พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ)
- บทชัยปริตร (มหากาฯ)
- ชินบัญชร
- บทสัพพมงคลคาถา
- โพชฌังคปริตร
- มงคลสูตร
- รตนสูตร
- กรณียเมตตสูตร
- บทอธิษฐานขออโหสิกรรม
- แผ่เมตตาให้ตัวเอง
- บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
- บทอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล (บทกรวดนํ้า)


วันพระ มีชื่อเรียกว่า 'วันอุโบสถ' ก็ได้ วันอุโบสถแปลว่า วันถือศีลของอุบาสกและอุบาสิกาผู้มีศรัทธา หรือจะเรียกว่า 'วันธรรมสวนะ' ก็ได้ คำว่าธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม


วันพระ มีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ, วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)


กล่าวโดยรวมคือ เป็นวันที่พุทธศาสนิกชน จะถือศีลฟังธรรม และปฏิบัติกิจกรรมทางพุทธศาสนากันมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สมัยพุทธกาล


ในประเทศไทย มีหลักฐานว่าได้มีประเพณีวันพระมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

ธรรมเนียมปฏิบัติในวันพระ มีอยู่แต่เฉพาะประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท เท่านั้น เช่น ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว และกัมพูชา


ในประเทศไทยยังมีคำเรียกวันก่อนวันพระหนึ่งวันว่า วันโกน เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ในประเทศไทยที่จะโกนผมในวันนี้




ความเป็นมา

ในสมัยต้นพุทธกาล นักบวชนอกพระพุทธศาสนา จะประชุมกันแสดงธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขาทุก ๆ วัน 8 ค่ำ, 15 ค่ำ แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี

ต่อมา พระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลพระราชดำริของพระองค์ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารกราบทูลแล้ว พระศาสดาจึงทรงอนุญาตให้เหล่าภิกษุสงฆ์สาวกประชุมกันเพื่อสนทนาและแสดงพระธรรมเทศนาให้แก่อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย ได้ฟังกันในวันอุโบสถ (วัน 8 ค่ำ) หรือวันลงอุโบสถ (วัน 14 หรือ 15 ค่ำ)

พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะเพื่อกำหนดให้มีการประชุมพร้อมเพรียงกันฟังธรรม
ประเภทไฟล์
pdf, epub
วันที่วางขาย
21 พฤศจิกายน 2566
ความยาว
52 หน้า (≈ 4,692 คำ)
ราคาปก
ฟรี
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
คุณสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็นได้จ้า