Icon Close

อ.ส.ท. ฉบับพฤษภาคม 2568

อ.ส.ท. ฉบับพฤษภาคม 2568
สำนักพิมพ์อ.ส.ท.
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
No Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
14 พฤษภาคม 2568
ความยาว
116 หน้า
ราคาปก
85 บาท (ประหยัด 54%)
อ.ส.ท. ฉบับพฤษภาคม 2568
อ.ส.ท. ฉบับพฤษภาคม 2568
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
No Rating
อ.ส.ท. ฉบับพฤษภาคม 2568
เล่า เรื่อง ราง Train Travelogue

พาทุกท่านขึ้นรถไฟออกเดินทางไปพบกับความงดงามและประสบการณ์อันทรงคุณค่าตามเส้นทางต่าง ๆ รับรองว่าจะเป็นการเดินทางที่น่าจดจำและน่าตามไปเยือน

นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งความพิเศษกับปกพับ และบทสัมภาษณ์ Exclusive "สืบสาน...เสน่ห์ลิเกไทย กับ ศรราม เอนกลาภ" จากคณะลิเก ศรราม น้ำเพชร

- รอยทางบนรางรถไฟ จากปางต้นผึ้งถึงลับแล
ทางรถไฟสายภาคเหนือมีเสน่ห์เสมอยามพาไปถึงภูเขา ชตาทิพย์ อำพันทอง ชวนแวะลงสถานีศิลาอาสน์ เที่ยวเมืองลับแลอุตรดิตถ์ ผ่านสถาปัตยกรรมของรางรถไฟเก่าแก่อย่างสะพานหัวกลับ อุโมงค์ปางตูบขอบ แล้วเลาะเลยไปชมงานศิลป์เที่ยวกินในคาเฟ่ เท่านั้นยังไม่พอ ขาดการเที่ยวสวนผลไม้และของกินมีเอกลักษณ์ไม่ได้ ทั้งทุเรียน มะยงชิด ลองกอง หรือหมี่พันที่คนลับแลยินดีนำเสนอ เธอเอามาฝากไว้ในการนั่งรถไฟเที่ยวทริปนี้

- แปดริ้ว-บ้านคลองลึก ใบหน้าหลากหลายริมทางรถไฟสายอรัญประเทศ
ก่อนไปสิ้นสุดชายแดนไทย-กัมพูชาที่สระแก้ว ฐากูร โกมารกุล ณ นคร เลือกนานาสถานียิบย่อยระหว่างการเชื่อมเมืองฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และสระแก้วเข้าด้วยกันของทางรถไฟสายอรัญประเทศเป็นจุดหมาย ลงไปทักทายผู้คนหลากหลายใบหน้า ทั้งดูฟาร์มผักออร์แกนิก ลองไปปรุงยาดม แค้มปิ้งในสวนลับ หรือข้ามไปลงเรือล่องแม่น้ำบางปะกง ก่อนไปสิ้นสุดที่เมืองอรัญประเทศ ดูความเติบโตของเมืองการค้าที่ไปถึงง่าย ๆ สั้น ๆ ด้วยการคมนาคมแสนคลาสสิก

- นครปฐม-ราชบุรี แล่นรางสู่รอยเวลาแห่งทวารวดี
เหมือนนั่งรถไฟย้อนอดีต ภาคภูมิ น้อยวัฒน์ พาเที่ยวใกล้ แต่ลงลึกไปสู่หลักฐานทางโบราณคดียุคเมืองท่าโบราณสมัยทวารวดีอย่างนครปฐมและราชบุรี ที่ส่วนใหญ่ซุกซ่อนอยู่กลางเมืองและเข้าถึงง่ายด้วยการนั่งรถไฟแล้วไปเดินเที่ยวต่อ ทั้งวัดวาอารามเก่าแก่งดงามด้วยเจดีย์อลังการ หรือพิพิธภัณฑ์ที่ขุดค้นพบและจัดแสดงโบราณวัตถุ ไล่เลยไปถึงเมืองโบราณของสองจังหวัด แถมด้วยของกินขึ้นชื่อตามตลาดโต้รุ่งที่สายกินก็ตามมาเที่ยวชิมกันได้

- บ้านแหลม-แม่กลอง การเดินทางของกาลเวลาจากคลองสู่ราง
ธีรพัฒน์ บุปผาพิบูลย์ พาไปเที่ยวสบาย ๆ กินเพลิน ๆ เดินสนุก ที่ท่าฉลอม สมุทรสาคร เมืองท่าเก่าแก่ริมแม่ท่าจีน จุดเริ่มต้นของทางรถไฟสายสองสมุทร เมืองสุขาภิบาลแห่งแรกของไทยที่พัฒนาสู่การท่องเที่ยวอย่างน่ารัก ก่อนจับรถไฟสายสั้นผ่านนาเกลือและวิวชายฝั่งสวย ๆ ไปสิ้นสุดที่แม่กลอง สมุทรสงคราม ชิมอาหารอร่อย ลงเรือเที่ยวสวนผลไม้ เข้าใจความเป็นสวนผ่านกิจกรรมยั่งยืนหลากหลายที่ซุกซ่อนในความรื่นรมย์

- วันวานสู่ความหวัง เมื่อกันตังยังอยู่
สถานีปลายทางของทางรถไฟสายอันดา คือเมืองท่าริมทะเลที่กันตัง ชาญชัย หาสสุด นั่งรถไฟไปลงที่สถานีสีเหลืองมัสตาร์ดแสนคลาสสิก ก่อนละเลียดอดีตของย่านเก่ากันตังที่เติบโตและคงอยู่ไปอย่างละมุนละไม เดินตลาด ดูพิพิธภัณฑ์ของเจ้าเมืองโบราณ ก่อนค้นพบว่า นอกจากอาหารการกินผสมผสานระหว่าง ไทย จีน มุสลิม คนกันตังรุ่นใหม่ยังต่อยอดให้อดีตยังมีชีวิตด้วยการปรับเปลี่ยนโรงแรมเก่า ร้านอาหารคลาสสิก ให้ร่วมสมัยและมีเสน่ห์จนต้องนั่งรถไฟยาวไกลเพื่อไปถึง
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
14 พฤษภาคม 2568
ความยาว
116 หน้า
ราคาปก
85 บาท (ประหยัด 54%)
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
คุณสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็นได้จ้า