Icon Close

การเลือกตั้งเบื้องต้น

การเลือกตั้งเบื้องต้น
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
2 Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
29 สิงหาคม 2562
ความยาว
333 หน้า
ราคาปก
199 บาท (ประหยัด 50%)
การเลือกตั้งเบื้องต้น
การเลือกตั้งเบื้องต้น
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
2 Rating
หนังสือเรื่อง การเลือกตั้งเบื้องต้น เล่มนี้ ผู้เขียนได้ปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยยิ่งขึ้น ปรับสำนวนการเขียนในบางส่วนให้เข้าใจง่ายขึ้น แต่ยังคงโครงสร้างการนำเสนอหนังสือไว้ตามเดิม

การเลือกตั้งเป็นทั้งกระบวนการทางการเมืองและสถาบันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยม โดยเป็นสิทธิทางการเมืองที่พลเมืองต้องมีในฐานะที่เป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง อีกทั้งยังคงเป็นสัญลักษณ์ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยม รัฐที่ดีควรจัดให้ประชาชนได้ใช้สิทธิการเลือกตั้งเพื่อให้ประชาชนได้ลงคะแนนเสียงในการกำหนดอนาคตของตนเองผ่านกระบวนการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมตามมาตรฐานขั้นต้นของการปกครองระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยม

การศึกษาพื้นฐานเกี่ยวกับการเลือกตั้งควรศึกษาทั้งในส่วนของความหมายการเลือกตั้ง ประเภทการเลือกตั้ง การเลือกตั้งในประเทศที่มีระบอบการปกครองต่างกัน วิธีการเลือกตั้ง ระบบการเลือกตั้ง มุมมองต่อการเลือกตั้ง องค์ประกอบการเลือกตั้ง การควบคุมการเลือกตั้ง พัฒนาการการเลือกตั้งของไทย ปัญหาการเลือกตั้งของไทย การเลือกตั้งของไทย ระบบการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ระบบการเลือกตั้ง การบริหารจัดการการเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และการเลือกตั้งเปรียบเทียบ

การเลือกตั้งเป็นกระบวนการทางการเมืองที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการปกครองระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยม การออกแบบระบบการเลือกตั้งจะส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อผลลัพธ์ทางการเมือง ในแง่นี้จึงเต็มไปด้วยความเป็นการเมืองที่ต้องต่อสู้ ต่อรอง และประนีประนอมกัน ในการได้มาซึ่งระบบการเลือกตั้งที่แต่ละกลุ่มการเมืองและพรรคการเมืองต้องการ ในฐานะประชาชนคนหนึ่งที่เป็นสมาชิกของสังคมการเมืองมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเรียนรู้เรื่องระบบการเลือกตั้งและให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งเพื่อให้ได้ผู้แทนของตนไปทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร เพื่อทำให้การตอบสนองต่อความต้องการและการแก้ปัญหาให้กับประชาชนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพต่อไป อันจะนำมาซึ่งความสุขและมีชีวิตที่ดีของทุกคน

ประเด็นพื้นฐานในการศึกษาการเลือกตั้งมีหลากหลาย อาทิ พัฒนาการการเลือกตั้ง ปัญหาการเลือกตั้ง การเลือกตั้งของไทย การปฏิรูประบบการเลือกตั้ง การเลือกตั้งเปรียบเทียบโดยเสนอกรณีศึกษาการเลือกตั้งในต่างประเทศ เพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ในชั้นสูงต่อไป

หนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 4 บท ประกอบด้วย

บทที่ 1 หลักการเลือกตั้ง ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ ความหมายการเลือกตั้ง ประเภทการเลือกตั้ง การเลือกตั้งในประเทศที่มีระบอบการปกครองต่างกัน วิธีการเลือกตั้ง ระบบการเลือกตั้ง มุมมองต่อการเลือกตั้ง องค์ประกอบการเลือกตั้ง การควบคุมการเลือกตั้ง

สำหรับรายละเอียด ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ ความหมายการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยม การเลือกตั้งในมิติกฎหมาย การเลือกตั้งในมิติปรัชญา บทบาทการเลือกตั้ง ประเภทการเลือกตั้ง ชนชั้นกลางกับสิทธิการเลือกตั้ง และการพัฒนาการเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตยเสรีนิยม
การเลือกตั้งในประเทศที่มีระบอบการปกครองต่างกัน การเมืองการเลือกตั้งในรัฐประชาธิปไตยเสรีนิยม การเมืองการเลือกตั้งในรัฐเผด็จการนิยม วิธีการเลือกตั้งในรัฐประชาธิปไตยเสรีนิยม ประเภทการเลือกตั้ง การเลือกตั้งในประเทศที่มีระบอบการปกครองต่างกัน วิธีการเลือกตั้งในรัฐประชาธิปไตยเสรีนิยม

ข้อดีและข้อเสียของการเลือกตั้งระบบเขตละหลายคนตามวิถีประชาธิปไตยเสรีนิยม ข้อดีและข้อเสียของการเลือกตั้งระบบเขตละหนึ่งคนตามวิถีประชาธิปไตยเสรีนิยม ข้อดีและข้อเสียของการเลือกตั้งระบบเขตเดียวตามวิถีประชาธิปไตยเสรีนิยม ระบบการเลือกตั้ง มุมมองต่อการเลือกตั้ง บทบาทของการเลือกตั้งในทางปฏิบัติ องค์ประกอบการเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตยเสรีนิยม และการกำหนดคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตยเสรีนิยม คุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้งและคุณสมบัติผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง

การกำหนดเขตเลือกตั้ง หลักการสากลในการกำหนดเขตเลือกตั้ง หลักเกณฑ์ในการกำหนดเขตเลือกตั้ง การใช้จ่ายในการเลือกตั้ง แหล่งที่มาของเงินทุนการเลือกตั้ง การใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้จ่ายในการเลือกตั้ง การควบคุมการเลือกตั้ง การควบคุมการเลือกตั้งโดยรัฐ และการควบคุมการเลือกตั้งโดยสังคมตามวิถีประชาธิปไตยเสรีนิยม บทบาทของการเลือกตั้งในทางปฏิบัติ องค์ประกอบการเลือกตั้ง และการควบคุมการเลือกตั้ง ส่วนสุดท้ายเป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับหลักการเลือกตั้ง

บทที่ 2 การเมืองพัฒนาการและปัญหาการเลือกตั้ง ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ พัฒนาการการเลือกตั้งของไทย ปัญหาการเลือกตั้งของไทย การเลือกตั้งของไทย

สำหรับรายละเอียด ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ การเมืองพัฒนาการการเลือกตั้งในการเมืองไทย พัฒนาการการเลือกตั้งในการเมืองหลังการปฏิวัติสยามถึงปัจจุบัน กฎหมายการเลือกตั้งในการเมืองไทยสมัยปัจจุบัน การเลือกตั้งในการเมืองเผด็จการอำนาจนิยมของไทย การเลือกตั้งในการเมืองสมัยฟื้นฟูประชาธิปไตยไทย ชนชั้นนำกับการเลือกตั้งในการเมืองสมัยฟื้นฟูประชาธิปไตยไทย กลุ่ม กปปส. กับการเมืองการเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตย และการเมืองการเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตยไทยนิยมกับการระหว่างประเทศ

ปัญหาการเลือกตั้งในการเมืองไทย ปัญหาระบบการเลือกตั้งในการเมืองไทย ปัญหาการบริหารจัดการการเลือกตั้งในการเมืองไทย ปัญหาผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเมืองไทย และปัญหาผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในการเมืองไทย
ประเภทการเลือกตั้งในการเมืองไทย การเมืองการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนในการเมืองไทย การเมืองการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในการเมืองไทย และการเมืองการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นในการเมืองไทย ส่วนสุดท้ายเป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการเมืองพัฒนาการและปัญหาการเลือกตั้ง

บทที่ 3 การเมืองการปฏิรูประบบการเลือกตั้ง ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ ระบบการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ระบบการเลือกตั้ง การบริหารจัดการการเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

สำหรับรายละเอียด ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง และการเลือกตั้งกับการปฏิรูประบบการเลือกตั้ง การเมืองระบบการเลือกตั้งในการเมืองไทย การเมืองการปฏิรูประบบและกระบวนการทางการเมืองในการเมืองไทย การเมืองการปฏิรูปคณะกรรมการการเลือกตั้งในการเมืองไทย การเมืองการปฏิรูปผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเมืองไทย การเมืองการปฏิรูปการเลือกตั้งในการเมืองไทยสมัยรัฐบาลคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2557 และการเมืองการปฏิรูปผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในการเมืองไทย

ปัญหาการออกแบบระบบการเลือกตั้งในการเมืองไทย ปัญหาการเมืองการบริหารจัดการการเลือกตั้งในการเมืองไทย บทบาทการสนับสนุนการเลือกตั้งของภาครัฐในการเมืองไทย ปัญหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ปัญหาระบบการเลือกตั้ง ปัญหาการบริหารจัดการการเลือกตั้ง แนวทางสนับสนุนการเลือกตั้งของภาครัฐ แนวทางสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้ง และแนวทางสนับสนุนผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกับการเมืองการปฏิรูประบบการเลือกตั้งของไทย ส่วนสุดท้ายเป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการเมืองการปฏิรูประบบการเลือกตั้ง

บทที่ 4 การเมืองการเลือกตั้งเปรียบเทียบ ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ การเลือกตั้งในการเมืองสหรัฐอเมริกา การเลือกตั้งในการเมืองอังกฤษ การเลือกตั้งในการเมืองแคนาดา
สำหรับรายละเอียด ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ การศึกษาการเมืองการเลือกตั้งเปรียบเทียบตามวิถีประชาธิปไตยนิยม การเมืองการเลือกตั้งในการเมืองสหรัฐอเมริกา การเมืองการเลือกตั้งในการเมืองอังกฤษ และการเมืองการเลือกตั้งในการเมืองแคนาดา ส่วนสุดท้ายเป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการเมืองการเลือกตั้งเปรียบเทียบ

หนังสือเล่มนี้มีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับประเด็นพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และการเลือกตั้ง ซึ่งผู้เขียนได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม

ในการนี้จึงขออวยพรให้ผู้อ่านทุกคนมีความสุขและมีชีวิตที่ดีที่สุดต่อไป

ไพรวัลย์ เคนพรม
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
29 สิงหาคม 2562
ความยาว
333 หน้า
ราคาปก
199 บาท (ประหยัด 50%)
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
หนังสือเล่มนี้เปิดให้แสดงความคิดเห็นได้เฉพาะผู้ที่มีหนังสือฉบับเต็มเท่านั้น