Icon Close

การเมืองการปกครองไทยสมัยรัฐบาล ป. พิบูลสงคราม

การเมืองการปกครองไทยสมัยรัฐบาล ป. พิบูลสงคราม
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
3 Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
26 พฤศจิกายน 2562
ความยาว
203 หน้า
ราคาปก
199 บาท (ประหยัด 50%)
การเมืองการปกครองไทยสมัยรัฐบาล ป. พิบูลสงคราม
การเมืองการปกครองไทยสมัยรัฐบาล ป. พิบูลสงคราม
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
3 Rating
หนังสือเรื่อง การเมืองการปกครองไทยสมัยรัฐบาล ป. พิบูลสงคราม เล่มนี้ ผู้เขียนได้มีการวิเคราะห์เชิงทฤษฎีเพิ่มเติมในหลายส่วน ซึ่งทำให้มีเนื้อหามากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงต้องจัดระบบเนื้อหาใหม่ โดยมีการแบ่งเนื้อหาเป็นบท อีกทั้งยังมีการปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยยิ่งขึ้นและปรับสำนวนการเขียนในบางส่วนให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น

การเมืองการปกครองไทยสมัยรัฐบาล ป. พิบูลสงคราม เป็นช่วงเวลาที่สำคัญยิ่ง โดยมีข้อเท็จจริงประการสำคัญมากเกี่ยวกับการเมืองการปกครองไทยคือ รัฐบาลสมัยนั้นได้มีนโยบายรัฐที่สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ลุ่มลึกซับซ้อนที่ส่งอิทธิพลต่อวัฒนธรรมทางการเมืองของผู้คนในสังคมไทยมาจนถึงปัจจุบัน ความโดดเด่นของการเมืองการปกครองไทยสมัยรัฐบาล ป. พิบูลสงคราม มีหลากหลายประเด็น อาทิ ผู้นำทางการเมือง จริยธรรมทางการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง ค่านิยมทางการเมือง ชนชั้นนำทางการเมือง พรรคการเมือง ทฤษฎีการเมือง รัฐธรรมนูญ การส่งเสริมการพัฒนาประชาธิปไตย การทำให้ประชาธิปไตยแตกหัก

หนังสือเล่มนี้ได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 บท ประกอบด้วย
บทที่ 1 ชีวิตทางการเมือง ประกอบด้วยผลการวิเคราะห์ชีวิตทางการเมืองของ ป. พิบูลสงคราม ก่อนขึ้นสู่อำนาจทางการเมือง ชีวิตทางการเมืองในการขึ้นสู่อำนาจทางการเมือง หลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ชีวิตทางการเมืองในการขึ้นสู่อำนาจทางการเมือง หลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 การพ้นจากอำนาจทางการเมืองหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2500

บทที่ 2 ทฤษฎีการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง และการเมืองการปกครองไทย ประกอบด้วยผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางการเมืองสมัยรัฐบาล ป. พิบูลสงคราม ในประเด็นต่างๆ อาทิ การพัฒนาทฤษฎีการเมืองจากประสบการณ์ในต่างประเทศ การนำทฤษฎีการเมืองสู่การปฏิบัติจริงทางการเมือง บทบาททางการเมืองและการเจรจาระหว่างประเทศในสงครามอินโดจีน ของ ป. พิบูลสงคราม การเปลี่ยนชื่อจากประเทศจากสยามมาเป็นไทย กระบวนการทำให้วัฒนธรรมไทยทันสมัย
รวมถึงผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับอิทธิพลสหรัฐอเมริกาในการเมืองการปกครองไทย บทบาทของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อการเมืองไทย ระบอบการเมืองการปกครองไทย การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา การเมืองการปกครองระบอบเผด็จการอำนาจนิยม อำนาจทางการเมืองของหัวหน้ารัฐบาล การส่งเสริมอุดมการณ์ทางการเมืองชาตินิยม เผด็จการนิยม และทหารนิยม การแสวงหาอำนาจและการได้มาซึ่งอำนาจทางการเมือง

บทที่ 3 รัฐธรรมนูญ กลุ่มผลประโยชน์และพรรคการเมืองไทย ประกอบด้วยผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางการเมืองสมัยรัฐบาล ป. พิบูลสงคราม ในประเด็นต่างๆ อาทิ การเมืองว่าด้วยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญในฐานะเครื่องมือที่นำมาซึ่งอำนาจการใช้อำนาจ และการสืบทอดอำนาจทางการเมือง อำนาจทางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองที่สนับสนุนรัฐบาล ความชอบธรรมทางการเมืองในการได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองของรัฐบาล อำนาจทางการเมืองและการดุลอำนาจทางการเมือง ของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง ตัวแสดงทางการเมืองในฐานะกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง
รวมถึงผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับบทบาทตัวแสดงทางการเมืองในการเมืองไทยหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 สมาคมคณะราษฎร และคณะชาติในฐานะกลุ่มการเมือง พรรคเสรีมนังคศิลา พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคแนวรัฐธรรมนูญ การเมืองว่าด้วยพรรคการเมืองที่สนับสนุน ปรีดี พนมยงค์ สมัยรัฐบาล ป. พิบูลสงคราม มีอำนาจทางการเมือง การจัดตั้งพรรคเสรีมนังคศิลาเพื่อสนับสนุนผู้นำทางการเมือง การสนับสนุนผู้นำทางการเมืองจากชนชั้นนำกองทัพ และชนชั้นนำตำรวจ

บทที่ 4 วัฒนธรรมเผด็จการอำนาจนิยม ทหารนิยม การสร้างค่านิยมใหม่ให้ทันสมัย และชาตินิยม ประกอบด้วยผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางการเมืองสมัยรัฐบาล ป. พิบูลสงคราม ในประเด็นต่างๆ อาทิ วัฒนธรรมเผด็จการอำนาจนิยม การสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองและบทบาททางการเมืองของนายกรัฐมนตรี วัฒนธรรมการใช้อำนาจทางการเมืองแนวเผด็จการอำนาจนิยม อิทธิพลของวัฒนธรรมการใช้อำนาจทางการเมือง แนวเผด็จการอำนาจนิยม อิทธิพลของทหารนิยมภายใต้อำนาจครอบงำของคณะรัฐประหาร อิทธิพลของทหารนิยมภายใต้อำนาจครอบงำของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลญี่ปุ่น
รวมถึงผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับจริยธรรมทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงประเพณีและวัฒนธรรมให้ทันสมัย การสร้างค่านิยมใหม่ให้ทันสมัย ภาคปฏิบัติของจริยธรรมทางการเมือง อิทธิพลของอุดมการณ์ชาตินิยม การสร้างความชอบธรรมทางการเมืองและการดำเนินนโยบายชาตินิยม การปลูกฝังอุดมการณ์ชาตินิยมผ่านหลักสูตรการศึกษาและโยบายชาตินิยม การแสดงออกของวัฒนธรรมทางการเมืองจากนโยบายชาตินิยม

บทที่ 5 การมีส่วนร่วมทางการเมือง หน้าที่พลเมือง รัฐ และประชาสังคมในระบบการเมือง ประกอบด้วยผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางการเมืองสมัยรัฐบาล ป. พิบูลสงคราม ในประเด็นต่างๆ อาทิ ข้อจำกัดของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน การควบคุมสื่อมวลชนและการจำกัดช่องทางการสื่อสารทางการเมืองของประชาชน การสร้างความหวาดกลัวในหมู่ประชาชนและทำให้ประชาชนอยู่ใต้การปกครองของรัฐบาล การมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งและนโยบายรัฐของประชาชน การกำหนดทิศทางและแนวปฏิบัติให้กับประชาชน
อำนาจนิยม ทหารนิยม การสร้างค่านิยมใหม่ให้ทันสมัย และชาตินิยม การใช้อำนาจและการสืบทอดอำนาจของระบอบเผด็จการอำนาจนิยม ทัศนคติที่มีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาของไทย การนำนโยบายการสร้างชาติไทยไปสู่การปฏิบัติ นโยบายรัฐนิยมเพื่อการสร้างชาติด้วยการสร้างวัฒนธรรมใหม่ นโยบายรัฐนิยมตามอุดมการณ์ชาตินิยมและเชื้อชาตินิยม การปกครองประชาชนระบอบเผด็จการอำนาจนิยมภายใต้ตัวแบบรัฐนิยม
รวมถึงผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับการเมืองว่าด้วยหน้าที่พลเมือง คนดีและพลเมืองดี รัฐและประชาสังคมในระบบการเมือง อำนาจรัฐครอบงำเหนือประชาสังคมในการเมืองระบบปิด การเชื่อฟังรัฐของประชาชนในการเมืองระบบปิด การพัฒนาการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ ให้ก้าวตามแนวทางภาวะความทันสมัย การบั่นทอนการพัฒนาประชาธิปไตยเสรีนิยมและการจำกัดการมีส่วนร่วมของประชาชน การบ่อนทำลายความชอบธรรมทางการเมืองของการเคลื่อนไหวทางสังคมของภาคประชาสังคม

สุดท้ายเป็นการสังเคราะห์การเมืองการปกครองไทยสมัยรัฐบาล ป. พิบูลสงคราม

หนังสือเล่มนี้มีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นการเมืองการปกครองไทย ซึ่งผู้เขียนได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม
ในการนี้จึงขออวยพรให้ผู้อ่านทุกคนมีความสุขและมีชีวิตที่ดีที่สุดต่อไป

ไพรวัลย์ เคนพรม
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
26 พฤศจิกายน 2562
ความยาว
203 หน้า
ราคาปก
199 บาท (ประหยัด 50%)
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
หนังสือเล่มนี้เปิดให้แสดงความคิดเห็นได้เฉพาะผู้ที่มีหนังสือฉบับเต็มเท่านั้น