Icon Close

พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง

พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
2 Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
07 ธันวาคม 2562
ความยาว
429 หน้า
ราคาปก
299 บาท (ประหยัด 40%)
พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
2 Rating
หนังสือเรื่อง พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง เล่มนี้ ผู้เขียนได้ปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยยิ่งขึ้น ปรับสำนวนการเขียนในบางส่วนให้เข้าใจง่ายขึ้น แต่ยังคงโครงสร้างการนำเสนอหนังสือไว้ตามเดิม

ผลของการศึกษาพรรคการเมืองและการเลือกตั้งทำให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างพรรคการเมืองและการเลือกตั้งมีประโยชน์มากมาย จำเป็นอย่างยิ่งต้องนำกรณีศึกษามาวิเคราะห์โดยใช้กรอบแนวคิดทางทฤษฎี อันจะทำให้เกิดความเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองและผลลัพธ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นจริง

พรรคการเมืองและการเลือกตั้งเป็นสถาบันทางการเมืองที่สำคัญยิ่งในการปกครองระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยม อีกทั้งการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมยังเป็นกระบวนการทางการเมืองที่ทำให้การเปลี่ยนผ่านอำนาจเป็นไปโดยไม่มีการใช้ความรุนแรงต่อกัน

ผู้เขียนได้นำเสนอสาระเกี่ยวกับพรรคการเมืองและการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยม อันสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง โดยที่พรรคการเมืองเป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับรัฐบาล พรรคการเมืองต้องการได้อำนาจทางการเมืองเพื่อการจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ ซึ่งเกมอำนาจหนึ่งเดียวในระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยมก็คือ การเลือกตั้ง

เมื่อพรรคการเมืองชนะการเลือกตั้งก็จะจัดตั้งรัฐบาลจากนั้นก็จะได้นำนโยบายของพรรคการเมืองไปกำหนดเป็นนโยบายรัฐบาล จากนั้นก็จะนำนโยบายรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติต่อไป เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและแก้ปัญหาให้กับประชาชน

การสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับพรรคการเมืองและการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย สำหรับในส่วนแรกนำเสนอเกี่ยวกับพรรคการเมืองในหลากหลายประเด็น อาทิ พรรคการเมือง องค์ประกอบของพรรคการเมือง กรณีศึกษาการจัดตั้งพรรคแรงงานในต่างประเทศ ความเป็นสถาบันของพรรคการเมือง บทบาทพรรคการเมือง ระบบพรรคการเมือง พรรคการเมืองไทย ทั้งสมัยหลังการปฏิวัติสยาม สมัยเผด็จการอำนาจนิยม และสมัยการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย องค์การและการจัดการพรรคการเมืองไทย กลุ่มการเมืองในพรรคการเมืองไทย รวมถึงมีการนำเสนอกรณีศึกษาเปรียบเทียบในต่างประเทศด้วย

จากนั้นนำเสนอเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ในหลากหลายประเด็น อาทิ ตัวแสดงในกระบวนการเลือกตั้ง ระบบบัญชีรายชื่อ ระบบเขต ผู้แทนจากการเลือกตั้ง ความสำคัญของการเลือกตั้ง บทบาทการเลือกตั้งในการจัดการความขัดแย้งที่ไม่ใช้ความรุนแรง การเปรียบเทียบการแสดงเจตจำนงของประชาชนในการเลือกตั้ง การใช้การเลือกตั้งทดแทนการใช้ความรุนแรงทางการเมือง การพัฒนากระบวนการเลือกตั้ง กระบวนการเข้าสู่อำนาจที่ไม่ใช้การเลือกตั้งในกรณีการปฏิวัติเปรียบเทียบกรณีศึกษาในต่างประเทศ สิทธิเลือกตั้งของพลเมือง เกณฑ์การรับรองสิทธิเลือกตั้ง โดยมีเปรียบเทียบกรณีศึกษาในต่างประเทศเช่นกัน

สำหรับรายละเอียด หนังสือแบ่งเป็น 4 บท ประกอบด้วย

บทที่ 1 รากฐานพรรคการเมืองตามวิถีประชาธิปไตยเสรีนิยม ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ พรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย องค์ประกอบของพรรคการเมืองในรัฐสมัยใหม่ การจัดตั้งพรรคแรงงานเปรียบเทียบเปรียบเทียบ ความเป็นสถาบันของพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ความเป็นสถาบันของพรรคการเมืองเปรียบเทียบ บทบาทพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย บทบาทพรรคการเมืองเปรียบเทียบ

สำหรับรายละเอียด ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ พรรคการเมืองกับความเป็นสถาบันทางการเมืองในระบบการเมือง พรรคการเมือง ความคิดเห็นกับพรรคการเมือง ทัศนคติกับพรรคการเมือง อุดมการณ์กับพรรคการเมือง และผลประโยชน์กับพรรคการเมืองตามวิถีประชาธิปไตยเสรีนิยม องค์ประกอบของพรรคการเมือง การจัดองค์การของพรรคการเมือง กลไกของพรรคการเมือง นโยบายของพรรคการเมือง การเงินของพรรคการเมือง และการประชุมพรรคการเมืองในการเมืองรัฐสมัยใหม่

การจัดตั้งพรรคแรงงานเปรียบเทียบ ความเป็นสถาบันของพรรคการเมือง ความยั่งยืนถาวรของพรรคการเมือง การกระจายสาขาไปทั่วประเทศของพรรคการเมือง การดำเนินงานต่อเนื่องของพรรคการเมือง และอำนาจการตัดสินใจในนโยบายพรรคการเมืองตามวิถีประชาธิปไตยเสรีนิยม

ความเป็นสถาบันของพรรคการเมืองเปรียบเทียบ บทบาทพรรคการเมือง การกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมของพรรคการเมือง การประสานกลุ่มผลประโยชน์กับรัฐบาลของพรรคการเมือง การประกาศนโยบายพรรคการเมือง การให้ความรู้แก่ประชาชนของพรรคการเมือง การส่งตัวแทนเข้าสมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมือง การสร้างผู้นำทางการเมืองของพรรคการเมือง การควบคุมรัฐบาลของพรรคการเมือง การจัดตั้งรัฐบาลของพรรคการเมือง และบทบาทพรรคการเมืองเปรียบเทียบตามวิถีประชาธิปไตยเสรีนิยม

บทที่ 2 การเมืองพรรคการเมืองตามวิถีประชาธิปไตยเสรีนิยม ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ ระบบพรรคการเมืองในรัฐสมัยใหม่ ระบบพรรคการเมืองเปรียบเทียบ พรรคการเมืองไทยสมัยหลังการปฏิวัติสยาม พรรคการเมืองไทยสมัยเผด็จการอำนาจนิยม พรรคการเมืองไทยสมัยการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย องค์การและการจัดการพรรคการเมืองไทย และกลุ่มการเมืองในพรรคการเมืองไทย

สำหรับรายละเอียด ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ ระบบพรรคการเมือง การออกแบบระบบพรรคการเมือง พรรคการเมืองตามระบบพรรคเดียว พรรคการเมืองตามระบบพรรคเดียวครอบงำ พรรคการเมืองตามระบบพรรคเดียวครอบงำที่ฝ่ายค้านไม่มีบทบาท พรรคการเมืองตามระบบพรรคเดียวครอบงำที่ฝ่ายค้านมีบทบาท พรรคการเมืองตามระบบสองพรรค และพรรคการเมืองตามระบบหลายพรรคในการเมืองรัฐสมัยใหม่

รวมถึงนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาระบบพรรคการเมืองเปรียบเทียบ พรรคการเมืองไทยสมัยหลังการปฏิวัติสยาม พรรคการเมืองไทยสมัยเผด็จการอำนาจนิยม พรรคการเมืองไทยสมัยการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย องค์การและการจัดการพรรคการเมืองไทย กลุ่มการเมืองในพรรคการเมืองไทย ความนิยมทางการเมืองที่มีต่อพรรคการเมือง แนวทางส่งเสริมค่านิยมที่ดีต่อพรรคการเมือง การพัฒนาความรู้เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีต่อพรรคการเมือง การสร้างปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีต่อพรรคการเมือง และการสร้างประสบการณ์เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีต่อพรรคการเมืองในการเมืองไทย

บทที่ 3 รากฐานการเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตยเสรีนิยม ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ ตัวแสดงในกระบวนการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ระบบบัญชีรายชื่อในการเลือกตั้ง ระบบเขตในการเลือกตั้ง ผู้แทนจากการเลือกตั้ง ความสำคัญของการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย บทบาทการเลือกตั้งในการจัดการความขัดแย้งที่ไม่ใช้ความรุนแรงเปรียบเทียบ การแสดงเจตจำนงของประชาชนในการเลือกตั้งของไทย การใช้การเลือกตั้งทดแทนการใช้ความรุนแรงทางการเมือง

สำหรับรายละเอียด ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ รากฐานการเลือกตั้ง ตัวแสดงในกระบวนการเลือกตั้ง ระบบบัญชีรายชื่อในการเลือกตั้ง ระบบเขตเลือกตั้ง ผู้แทนจากการเลือกตั้ง ความสำคัญของการเลือกตั้ง การจัดการความขัดแย้งที่ไม่ใช้ความรุนแรง การแสดงเจตจำนงของประชาชน ที่มาของความชอบธรรม กระบวนการเข้าสู่อำนาจ บทบาทการเลือกตั้งในการจัดการความขัดแย้งที่ไม่ใช้ความรุนแรง การแสดงเจตจำนงของประชาชนในการเลือกตั้งของไทย และการใช้การเลือกตั้งทดแทนการใช้ความรุนแรงทางการเมืองตามวิถีประชาธิปไตยเสรีนิยม

บทที่ 4 การเมืองการเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตยเสรีนิยม ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ การพัฒนากระบวนการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย กระบวนการเข้าสู่อำนาจที่ไม่ใช้การเลือกตั้งในกรณีการปฏิวัติเปรียบเทียบ สิทธิเลือกตั้งของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย สิทธิเลือกตั้งเปรียบเทียบ เกณฑ์การรับรองสิทธิเลือกตั้ง และการรับรองสิทธิเลือกตั้งเปรียบเทียบ

สำหรับรายละเอียด ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ การพัฒนากระบวนการเลือกตั้ง กระบวนการเข้าสู่อำนาจที่ไม่ใช้การเลือกตั้งในกรณีการปฏิวัติเปรียบเทียบ และสิทธิเลือกตั้งของพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยเสรีนิยม การศึกษาสิทธิเลือกตั้งเปรียบเทียบ เกณฑ์การรับรองสิทธิเลือกตั้ง อาทิ ทรัพย์สิน ชนชั้นทางสังคม เพศ สีผิว ความสามารถ เชื้อชาติ และศาสนากับการรับรองสิทธิเลือกตั้งตามวิถี ประชาธิปไตยเสรีนิยม การศึกษาการรับรองสิทธิเลือกตั้งเปรียบเทียบ

ส่วนสุดท้ายเป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง

หนังสือเล่มนี้มีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับประเด็นพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และการเลือกตั้ง ซึ่งผู้เขียนได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม

ในการนี้จึงขออวยพรให้ผู้อ่านทุกคนมีความสุขและมีชีวิตที่ดีที่สุดต่อไป

ไพรวัลย์ เคนพรม
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
07 ธันวาคม 2562
ความยาว
429 หน้า
ราคาปก
299 บาท (ประหยัด 40%)
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
หนังสือเล่มนี้เปิดให้แสดงความคิดเห็นได้เฉพาะผู้ที่มีหนังสือฉบับเต็มเท่านั้น