Icon Close

ปรัชญา ทฤษฎี และแนวคิดทางการเมือง และจริยศาสตร์

ปรัชญา ทฤษฎี และแนวคิดทางการเมือง และจริยศาสตร์
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
2 Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
23 ธันวาคม 2562
ความยาว
315 หน้า
ราคาปก
299 บาท (ประหยัด 40%)
ปรัชญา ทฤษฎี และแนวคิดทางการเมือง และจริยศาสตร์
ปรัชญา ทฤษฎี และแนวคิดทางการเมือง และจริยศาสตร์
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
2 Rating
หนังสือเรื่อง ปรัชญา ทฤษฎี และแนวคิดทางการเมือง และจริยศาสตร์ เป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับปรัชญา ทฤษฎี และแนวคิดทางการเมือง รวมถึงจริยศาสตร์ โดยเน้นนำเสนอวิวัฒนาการปรัชญาการเมืองและจริยศาสตร์สมัยคลาสสิค สมัยใหม่ และหลังสมัยใหม่ โดยเฉพาะปรัชญาการเมืองและจริยศาสตร์สมัยคลาสสิคและสมัยใหม่ เพื่อนำเสนอให้ผู้อ่านเห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างปรัชญาการเมืองและจริยศาสตร์ในสมัยต่างๆ ในอดีตจนถึงปัจจุบัน

หนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนได้ปรับปรุงสำนวนการเขียนในบางส่วนที่ผู้อ่านสะท้อนว่ายากต่อการทำความเข้าใจโดยปรับสำนวนการเขียนใหม่ในบางส่วน และปรับการนำเสนอใหม่ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ผู้เขียนขอขอบคุณผู้อ่านทุกคนที่ให้การตอบรับหนังสือเล่มนี้อย่างดีเยี่ยม

หนังสือเล่มนี้มีสาระแบ่งเป็น 5 บท ประกอบด้วย

บทที่ 1 ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น ประกอบด้วยความหมายของปรัชญาการเมือง ตำแหน่งแห่งที่ของปรัชญาการเมือง กระทำที่มีลักษณะเป็นการเมืองมุ่งเปลี่ยนแปลงหรือคงรักษาไว้ เนื้อหาของปรัชญาการเมืองภายใต้บริบทของสังคมศาสตร์ ปรัชญาการเมือง ทฤษฎีการเมือง ความคิดทางการเมือง และอุดมการณ์ทางการเมือง ปรัชญาการเมืองภายใต้จริยศาสตร์และรัฐศาสตร์แนวใหม่ พัฒนาการแนวการศึกษาปรัชญาการเมืองในอดีตและปัจจุบัน เนื้อหาวิชาปรัชญาการเมืองในแวดวงรัฐศาสตร์ตะวันตก แนวการศึกษาปรัชญาการเมือง การศึกษาปรัชญาการเมืองในประเทศตะวันตกและไทย ข้อสังเกตเกี่ยวกับการศึกษาปรัชญาการเมือง

บทที่ 2 จริยศาสตร์เบื้องต้น ประกอบด้วยความหมายของจริยศาสตร์ ขอบข่ายของการศึกษาจริยศาสตร์ เนื้อหาของจริยศาสตร์ มโนธรรมในจริยศาสตร์ คุณค่าของจริยศาสตร์ มาตรฐานในการตัดสินปัญหาทางจริยศาสตร์ การตัดสินจริยธรรมในแบบสัมพันธนิยม จุดมุ่งหมายของชีวิต ความสุข ความยุติธรรม ลักษณะของจริยศาสตร์ ประโยชน์ของการศึกษาจริยศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับจริยศาสตร์

บทที่ 3 วิวัฒนาการปรัชญาการเมืองและจริยศาสตร์สมัยคลาสสิค สมัยใหม่ และหลังสมัยใหม่ ประกอบด้วยการพัฒนาทฤษฎีสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์ ตัวแบบแนวคิดและทฤษฎีสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ของทฤษฎี ตัวแบบ โครงสร้าง และองค์ประกอบ ทฤษฎีการเมืองการปกครอง การศึกษาประวัตินักปรัชญาการเมือง ความต่อเนื่องของปรัชญาการเมืองและจริยศาสตร์สมัยคลาสิค สมัยกลาง และสมัยใหม่ ลักษณะปรัชญาการเมืองคลาสสิคและปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ ระเบียบทางการเมืองในปรัชญาการเมืองสมัยคลาสสิค ความบกพร่องของปรัชญาการเมืองคลาสสิค ปรัชญาสมัยคลาสสิคเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตย อิทธิพลของธรรมชาติและคริสต์ศาสนาที่มีต่อสันติสุขในสังคม สิ่งที่นักปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ปฏิเสธ จุดเน้นของนักปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ ปรัชญาการเมืองและจริยศาสตร์หลังสมัยใหม่ กระแสการวิพากษ์สังคมอย่างสุดขั้ว กระแสหลังสมัยใหม่นิยมและหลังโครงสร้างนิยม ปรัชญาและจริยศาสตร์ปรากฏการณ์วิทยา อำนาจครอบงำอุดมการณ์

บทที่ 4 ปรัชญาการเมืองและจริยศาสตร์สมัยคลาสสิค ประกอบด้วยพื้นฐานการศึกษาปรัชญาการเมืองและจริยศาสตร์สมัยคลาสสิค รากฐานมหาวิทยาลัยของโลกตะวันตก หลักคุณธรรม คณะปราชญ์เหนือปราชญ์ คำถามหลักทางปรัชญาการเมืองและจริยศาสตร์สมัยคลาสสิค อิทธิพลของปรัชญาและจริยศาสตร์คลาสสิคต่อการจัดการศึกษาของรัฐสมัยใหม่ การเมือง รัฐเป็นผลรวมของทุกสิ่งทุกอย่าง รัฐเป็นวิวัฒนาการทางธรรมชาติ การศึกษาการปกครองเปรียบเทียบ ประเภทระบอบการปกครอง ประเภทผู้คนในรัฐ นครรัฐในอุดมคติ ประเด็นศึกษาในปรัชญาการเมืองและจริยศาสตร์สมัยคลาสสิค หลักปรัชญาการเมืองและจริยศาสตร์สมัยคลาสสิค แนวคิดรัฐขนาดเล็กนักปรัชญากรีกโบราณกับจีนโบราณ รัฐที่ดีในการเมืองการปกครองสยามสมัยราชาธิปไตย รัฐที่ดีในการเมืองการปกครองไทยสมัยประชาธิปไตย คนดีในการเมืองการปกครองไทย คุณธรรมทางการเมืองในการเมืองการปกครองไทย

บทที่ 5 ปรัชญาการเมืองและจริยศาสตร์สมัยใหม่ ประกอบด้วยรากฐานปรัชญาการเมืองและจริยศาสตร์สมัยใหม่ การศึกษาปรัชญาการเมืองและจริยศาสตร์สมัยใหม่ ปรัชญาการเมืองและจริยศาสตร์สมัยใหม่ภายใต้บริบทของพฤติกรรมศาสตร์ เป้าหมายของปรัชญาการเมืองและจริยศาสตร์สมัยใหม่ จุดเริ่มต้นของหลักปรัชญาการเมืองและจริยศาสตร์สมัยใหม่ ธรรมชาติของคนและรัฐ ศิลปะแห่งการปกครอง การใช้อำนาจของผู้ที่ยึดอำนาจรัฐ ทหารประจำการกับทหารรับจ้าง กรณีรัฐเพื่อนบ้านทำสงครามกัน เจ้าหน้าที่รัฐและที่ปรึกษา คุณสมบัติของผู้ปกครอง ระบอบการปกครองที่ดีที่สุด การปกครองที่ใช้อำนาจเด็ดขาด กฎหมาย ประชาธิปไตยเสรีนิยม อุดมการณ์เสรีนิยม กลุ่มหลากหลายในสังคมประชาธิปไตยเสรีนิยม รากฐานอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ การต่อสู้ทางชนชั้น ทฤษฎีการปฏิวัติสังคม การต่อสู้ทางอุดมการณ์ทางการเมือง ความแปลกแยก รากฐานการพัฒนาอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ผลกระทบของการวิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม บทบาทปัญญาชนในการปฏิวัติสังคม เผด็จการโดยชนชั้นแรงงาน ความเท่าเทียม กระบวนการกลายเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ วิวาทะของนักปรัชญาการเมืองและจริยศาสตร์สมัยใหม่

สิ่งสำคัญประการหนึ่งก็คือแต่ละปรัชญา ทฤษฎี และแนวคิดทางการเมือง รวมถึงรากฐานจริยศาสตร์ที่แตกต่างกันย่อมมีแบบแผนที่ต้องปฏิบัติแตกต่างกัน ในกรณีที่มีความแตกต่างกันและมีความคล้ายคลึงกัน ย่อมส่งผลต่อความประพฤติ พฤติกรรม และมโนธรรมของตัวแสดงที่เกี่ยวข้องมีทั้งแตกต่างกันและคล้ายคลึงกัน

ในแง่นี้การศึกษาปรัชญา ทฤษฎี และแนวคิดทางการเมือง และจริยศาสตร์ จึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาและตัวแสดงเกี่ยวข้องกับการเมืองในมิติของการทราบถึงสิ่งที่ควรทำ สิ่งที่ไม่ควรทำ สิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่ไม่ถูกต้อง เป็นการใช้ความรู้ทดแทนความเห็น อันจะส่งผลต่อการมีความอดทนอดกลั้นต่อกันอย่างเข้าใจซึ่งกันและกันของผู้คนในสังคมการเมืองที่เต็มไปด้วยความแตกต่างหลากหลายทั้งความคิดและความเห็น แน่นอนว่าการศึกษาดังกล่าวย่อมเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมการเมืองได้อย่างมีความสุขและทำให้ทุกคนมีชีวิตที่ดีต่อไป

หนังสือเล่มนี้มีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นปรัชญาการเมือง ซึ่งผู้เขียนได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม

ในการนี้จึงขออวยพรให้ผู้อ่านทุกคนมีความสุขและมีชีวิตที่ดีที่สุดต่อไป

ไพรวัลย์ เคนพรม
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
23 ธันวาคม 2562
ความยาว
315 หน้า
ราคาปก
299 บาท (ประหยัด 40%)
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
หนังสือเล่มนี้เปิดให้แสดงความคิดเห็นได้เฉพาะผู้ที่มีหนังสือฉบับเต็มเท่านั้น