Icon Close

กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติเบื้องต้น

กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติเบื้องต้น
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
1 Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
22 มกราคม 2563
ความยาว
161 หน้า
ราคาปก
99 บาท (ประหยัด 30%)
กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติเบื้องต้น
กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติเบื้องต้น
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
1 Rating
หนังสือเรื่อง กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติเบื้องต้น เล่มนี้ ผู้เขียนได้มีการวิเคราะห์ในเชิงทฤษฎีเพิ่มเติม ผู้เขียนพยายามนำเสนอให้เห็นถึงกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติที่มีหลักการ กฎ กติกา แนวปฏิบัติ และขั้นตอนต่างๆ นานาที่ผู้แทนของประชาชนในสภาใช้ในการพิจารณาร่างกฎหมายและปรึกษาหารือเรื่องอื่นๆ ที่จะตอบสนองและแก้ปัญหาให้ประชาชน

ในแง่นี้กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติจึงกลายเป็นเวทีการต่อสู้ทางการเมืองอย่างหนึ่งของผู้คนหลากหลายกลุ่มโดยเป็นกระบวนการทางการเมืองที่สำคัญยิ่งในระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยม ซึ่งหากกระทำในสภาที่มีสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งทางตรงของประชาชนก็จะมีความชอบธรรมทางการเมืองสูง

ตัวแสดงทางการเมืองต่างๆ ได้พยายามส่งอิทธิพลเข้าไปต่อสู้ในกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อปกป้องและรักษาผลประโยชน์ทั้งหลายของแต่ละกลุ่ม ในความเป็นจริงจึงมีกลุ่มผลประโยชน์มากมายที่อยู่เบื้องหลังที่คอยผลักดันให้กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติเป็นไปในทิศทางที่กลุ่มตนต้องการ ซึ่งก็ถือเป็นปรากฏการณ์ปกติในระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยม แม้จะมีการแข่งขันกันของกลุ่มหลากหลายก็จริงแต่จะมีบางกลุ่มที่มีพลังและอำนาจเหนือกลุ่มอื่นๆ เพราะแต่ละกลุ่มมีพลังและอำนาจไม่เท่ากัน

หนังสือเล่มนี้เป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับความหมายกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติ ความสำคัญกระบวนการ
ฝ่ายนิติบัญญัติ กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติในระบอบการปกครอง ข้อบังคับสภานิติบัญญัติ กระบวนการร่างกฎหมายของรัฐสภา การใช้อำนาจยับยั้งกฎหมาย กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ นิติบัญญัติในกระบวนการทางการเมือง ความชอบธรรมของกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติ สถาบันนิติบัญญัติ ระบบรัฐสภา แนวโน้มระบบรัฐสภา เอกสิทธิ์คุ้มครองของสมาชิกรัฐสภา คณะกรรมาธิการ ซึ่งเน้นไปที่ความหมายคณะกรรมาธิการ ความสำคัญคณะกรรมาธิการ ลักษณะการทำงานของคณะกรรมาธิการ ประเภทคณะกรรมาธิการ

หนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 3 บท ประกอบด้วย

บทที่ 1 หลักกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติ ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ ความหมายกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติ ความสำคัญกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติ กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติในระบอบการปกครอง ข้อบังคับสภานิติบัญญัติ กระบวนการร่างกฎหมายของรัฐสภา การใช้อำนาจยับยั้งกฎหมาย

สำหรับรายละเอียด ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ ความหมายกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติ ความสำคัญกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติ กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติในระบอบการปกครอง ข้อบังคับสภานิติบัญญัติ ผู้มีอำนาจกำหนดข้อบังคับสภานิติบัญญัติ ความสำคัญของข้อบังคับสภานิติบัญญัติ สาระข้อบังคับสภานิติบัญญัติ ความเป็นการเมืองของข้อบังคับสภานิติบัญญัติ

รวมถึงนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการร่างกฎหมายของรัฐสภา การรับหลักการในกระบวนการร่างกฎหมาย การแปรญัญติในกระบวนการร่างกฎหมาย การสงวนความเห็นในกระบวนการร่างกฎหมาย การสงวนคำแปรญัตติในกระบวนการร่างกฎหมาย การลงมติในกระบวนการร่างกฎหมาย การใช้อำนาจยับยั้งกฎหมาย และการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับหลักกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติ

บทที่ 2 กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติกับสถาบันทางการเมือง ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ นิติบัญญัติในกระบวนการทางการเมือง ความชอบธรรมของกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติ สถาบันนิติบัญญัติ ระบบรัฐสภา แนวโน้มระบบรัฐสภา เอกสิทธิ์คุ้มครองของสมาชิกรัฐสภา

สำหรับรายละเอียด ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ นิติบัญญัติในกระบวนการทางการเมือง ความชอบธรรมของกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติ สถาบันนิติบัญญัติ ระบบรัฐสภา รัฐสภาระบบสภาเดียว รัฐสภาระบบสองสภา แนวโน้มระบบรัฐสภา ความจำเป็นต้องมีรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง การมีสภาเดียวที่มาจากการเลือกตั้งเป็นโอกาสที่ดี สมาชิกสภาที่มาจากการเลือกตั้งต้องมีจำนวนน้อย สมาชิกสภามาจากการเลือกตั้งทางตรงของประชาชน

รวมถึงนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้เกี่ยวกับเอกสิทธิ์คุ้มครองของสมาชิกรัฐสภา เหตุผลของการให้มีเอกสิทธิ์คุ้มครอง พัฒนาการทางการเมืองของเอกสิทธิ์คุ้มครอง เงื่อนไขของการไม่ได้รับการคุ้มครอง ความเป็นการเมืองของเอกสิทธิ์คุ้มครอง และการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติกับสถาบันทางการเมือง

บทที่ 3 คณะกรรมาธิการในกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติ ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ ความหมายคณะกรรมาธิการ ความสำคัญคณะกรรมาธิการ ลักษณะการทำงานของคณะกรรมาธิการ และประเภทคณะกรรมาธิการ

สำหรับรายละเอียด ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ ความหมายคณะกรรมาธิการ ความสำคัญคณะกรรมาธิการ การแบ่งเบางานสภาของคณะกรรมาธิการ การทำงานรับใช้ประชาชนของคณะกรรมาธิการ การทำงานเชิงลึกของคณะกรรมาธิการ การเป็นสื่อกลางให้ประชาชนของคณะกรรมาธิการ ลักษณะการทำงานของคณะกรรมาธิการ

รวมถึงนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้เกี่ยวกับประเภทคณะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการถาวร คณะกรรมาธิการพิเศษ คณะกรรมาธิการจัดระเบียบการประชุม คณะกรรมาธิการงบประมาณ คณะกรรมาธิการกฎหมาย คณะกรรมาธิการสืบสวนสอบสวน คณะกรรมาธิการร่วม คณะกรรมาธิการเต็มสภา และการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับคณะกรรมาธิการในกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติ

หนังสือเล่มนี้มีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งผู้เขียนได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม

ในการนี้จึงขออวยพรให้ผู้อ่านทุกคนมีความสุขและมีชีวิตที่ดีที่สุดต่อไป

ไพรวัลย์ เคนพรม
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
22 มกราคม 2563
ความยาว
161 หน้า
ราคาปก
99 บาท (ประหยัด 30%)
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
หนังสือเล่มนี้เปิดให้แสดงความคิดเห็นได้เฉพาะผู้ที่มีหนังสือฉบับเต็มเท่านั้น