Icon Close

ใครๆก็เขียนได้ 10 เทคนิควิธี ฝึกเริ่มต้นเขียน

ใครๆก็เขียนได้ 10 เทคนิควิธี ฝึกเริ่มต้นเขียน
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
No Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
30 กรกฎาคม 2563
ความยาว
91 หน้า
ราคาปก
399 บาท (ประหยัด 50%)
ใครๆก็เขียนได้ 10 เทคนิควิธี ฝึกเริ่มต้นเขียน
ใครๆก็เขียนได้ 10 เทคนิควิธี ฝึกเริ่มต้นเขียน
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
No Rating
ความรู้สึกอยากเขียน เป็นจุดเริ่มต้นของนักเขียน เพราะการเขียน มีจุดเริ่มมาจากอารมณ์ความรู้สึกหรือที่เรียกว่า "ความอยาก" ถ้าไม่มีอารมณ์นี้นำมาก่อน ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จในการเขียน
เมื่อเกิดความอยากแล้ว อารมณ์ความรู้สึกที่ตามมาคือ อยากเรียนรู้เพื่อให้งานเขียนของเราดีขึ้น และเมื่อได้เรียนรู้แล้ว ก็เกิดความรู้สึกว่าอยากทำให้ดียิ่งๆขึ้นไป
ยิ่งเขียนมากขึ้นเท่าไหร่ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นตามมา คือ ทำไมถึงเขียนแล้วถึงรู้สึกว่า "ยังไม่ดีพอ" เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นกับนักเขียนมืออาชีพหลายๆท่าน 
งานเขียนที่ดีที่สุด ไม่ได้มีอยู่จริง แต่งานเขียนที่ดีที่สุด อยู่ในงานชิ้นต่อไปเสมอ ตราบใดที่นักเขียนเหล่านั้นยังมีความรู้สึก "อยากเขียนอยู่"
หนังสือเล่มนี้ มีชื่อว่า "ใครๆก็เขียนได้ 10 เทคนิควิธีการฝึกเริ่มต้นเขียน" เป็นการอธิบาย และบอกเคล็ดลับวิธี รวมถึงแนวทางในการเริ่มต้นเขียน
การเริ่มต้นเขียนที่ง่ายที่สุด ก็คือ การเริ่มต้นฝึกเขียนไดอารี่ หรือที่เรียกว่า การเขียนบันทึกประจำวัน
การเขียนบันทึกประจำวัน เป็นการเริ่มต้นที่มาจากภายใน เกิดจากความรู้สึกร่วม และสามารถถ่ายทอดอารมณ์และเหตุการณ์ได้อย่างสมจริงมากยิ่งขึ้น เทคนิคที่ 1: จึงเป็นการเริ่มต้นฝึกเขียนจากไดอารี่ก่อน
เมื่อเขียนไดอารี่ได้แล้ว สิ่งที่ต้องฝึกต่อมา คือ การกำหนดโครงร่างของเรื่อง เปรียบเสมือนวางโครงเรื่องก่อนที่เราจะลงมือเขียนจริง ถ้าไม่วางโครงร่างก่อน บ้านอาจไม่เป็นบ้าน และเรื่องที่เขียนอาจจะไม่ได้เรื่อง ซึ่งเรียนรู้ได้ในเทคนิคที่ 2
เมื่อวางโครงร่างได้แล้ว สิ่งที่ต้องพัฒนาต่อมา คือ การเรียนรู้ในเทคนิคที่ 3-4 ที่ชื่อว่า การฝึกเขียนแบบ "โฟกัส" (Focus) เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการเขียน เพราะถ้าเราไม่ฝึกการโฟกัส จะทำให้เราเกิดอาการหลงทิศ หรือเขียนผิดเส้นทางจากที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้ 
เทคนิคที่ 5 ที่ไม่แพ้เทคนิคอื่นๆ คือ การค้นหาสไตล์การ
เขียนของตัวเอง จะเห็นได้ว่านักเขียนมืออาชีพหลายท่านจะมีสไตล์การเขียนของตัวเอง เพราะฉะนั้นเราในฐานะนักเขียน ต้องสามารถบอกให้โลกใบนี้จดจำได้ว่า "เรามีสไตล์การเขียนแบบไหน"
แค่ได้เขียนตามสไตล์ของเราก็คงยังไม่พอ นักเขียนจะต้องดึงพลังของผู้อ่านให้หยิบหนังสือ ขึ้นมาอ่านและเปิดหน้าถัดไปให้ได้ โดยใช้เทคนิคที่ 6 ที่เรียกว่า "เทคนิคการตั้งชื่อเรื่อง"
เมื่อเริ่มต้นอ่านแล้ว สิ่งที่ทุกคนเห็น คือ ส่วนนำของเรื่อง จะอ่านบรรทัดต่อไปได้อย่างไร ถ้าบทนำเขียนไม่น่าสนใจ เรียนรู้เทคนิคการเขียนส่วนนำอย่างไร ให้มีอารมณ์อยากอ่านต่อได้ในเทคนิคที่ 7
เมื่อเราได้ดึงสายตาผู้อ่านมาในส่วนของเนื้อเรื่องแล้ว ทำอย่างไร ให้เขาเกิดอารมณ์ร่วม ไอเดียบรรเจิดจากการอ่าน จนวางไม่ลง เป็นเทคนิคที่ 8 ที่อยากจะบอก
เมื่อมาถึงบทสรุป เริ่มต้นเขียนก็ว่ายากแล้ว แต่ที่ยากกว่าก็คือ การเขียนบทสรุปนี่เอง เพราะบทสรุปเป็นการบอกว่า "คุณเขียนทั้งเรื่องมาดีหรือไม่"  บางครั้ง
ส่วนนำดี เนื้อเรื่องเยี่ยม สรุปแย่ > งานเขียน "แย่"
ส่วนนำดี เนื้อเรื่องแย่ สรุปเยี่ยม > งานเขียน "เยี่ยม"
ส่วนนำแย่ เนื้อเรื่องเยี่ยม สรุปเยี่ยม > งานเขียน "เยี่ยม"
จะเห็นว่าส่วนสรุปสำคัญอย่างมากที่จะเป็นตัวตัดสินว่างานชิ้นนี้ เยี่ยม/แย่ เรียนรู้เทคนิคนี้ได้ในบทที่ 9
เมื่อเขียนทั้งเรื่องจบ ในเทคนิคที่ 10 บอกว่า งานเขียนของเราไม่ได้หมายความว่าจะจบกันแค่นี้ เพราะสุดท้ายต้องมาดูและตรวจสอบความสอดคล้อง ของงานทั้งหมดเพื่อที่บอกว่า "อ่านเรื่องนี้แล้วได้อะไร ผู้อ่านจดจำอะไรจากงานเขียนของเรา"
และเมื่อทุกท่านอ่านจบแล้ว ก็คงจะบอกได้ว่า ฉันจะทำอะไรต่อไป นั่นก็คือ >> การเปิดหน้าต่อไป เพื่ออ่านต่อ
สารบัญ
เทคนิคที่ 1: เริ่มต้นฝึกเขียนจากไดอารี่ P11
เทคนิคที่ 2: การกำหนดโครงร่างของเรื่อง P18
เทคนิคที่ 3: ฝึกการเขียนแบบโฟกัส (Focus) P24
เทคนิคที่ 4: ฝึกการเขียนแบบโฟกัส (ต่อ) P32
เทคนิคที่ 5: การค้นหาสไตล์การเขียนของตัวเอง P37
เทคนิคที่ 6: เทคนิคการตั้งชื่อเรื่อง P41
เทคนิคที่ 7: เทคนิคการเขียนส่วนนำ P50
เทคนิคที่ 8: เทคนิคการเขียนส่วนเนื้อเรื่อง P60
เทคนิคที่ 9: เทคนิคการเขียนส่วนสรุป P67
เทคนิคที่ 10: การตรวจสอบความสอดคล้องของเรื่อง P81
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
30 กรกฎาคม 2563
ความยาว
91 หน้า
ราคาปก
399 บาท (ประหยัด 50%)
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
คุณสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็นได้จ้า