Icon Close

เด็กปอเนาะ

เด็กปอเนาะ
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
No Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
15 กุมภาพันธ์ 2565
ความยาว
139 หน้า
ราคาปก
140 บาท (ประหยัด 46%)
เด็กปอเนาะ
เด็กปอเนาะ
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
No Rating
ขอเชิญอ่านข้อเขียนคุณ "ปิยรักษ์"ผู้อ่านวรรณกรรมเยาวชน"เด็กปอเนาะ" ดังนี้
ผู้เขียน : อนุสรณ์ มาราสา
สำนักพิมพ์ : ต้นอ้อ 1999 (พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2542)
จำนวนหน้า : 119 หน้า
ตลอดเวลานับเนื่องกว่าที่ศาสนาอิสลามอุบัติขึ้นมาบนโลก
ใครเลยจะปฏิเสธได้ถึงกระแสธารแห่งวัฒนธรรมมุสลิมที่ทอดรินไหลลึกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ
ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของพื้นที่โลก และยังคงความเป็นกระแสหลักแห่งศรัทธาและความเชื่อสายหนึ่ง
ที่เป็นสรณะแก่ผู้คนนับร้อยรับพันล้านตราบเท่าทุกวันนี้
สถาบันหนึ่งที่รับภาระในการปลูกฝังและหล่อหลอมอนุชนให้เติบโตเป็นมุสลิมที่ดีเห็นจะได้แก่ ‘ปอเนาะ’
หรือ โรงเรียนที่ให้ความรู้ทางศาสนาควบคู่ไปกับความรู้ทางวิชาการ ซึ่งสำหรับคนไทยชาวพุทธโดยทั่วไปแล้ว
ดูออกจะเป็นเรื่องห่างไกลการรับรู้อยู่ไม่น้อย ดังนั้นจึงน่าจะเป็นโอกาสอันดีสำหรับการนำเสนอ ‘เด็กปอเนาะ’
วรรณกรรมเยาวชนที่ถ่ายทอดเรื่องราวของเด็กไทยมุสลิมสู้ผู้อ่านทั่วไป
ทั้งนั้น เพื่อประโยชน์แก่ความเข้าใจอันดีบนพื้นฐานแห่งมิตรภาพของคนบนแผ่นดินเดียวกันสืบไป
ได้หนังสือเล่มนี้มาจากงานสัปดาห์หนังสือของ มช. เมื่อเดือนพฤศจิกายนนี่เองค่ะ
แต่จะลอกรีวิวคุณเที่ยงวันก็เกรงใจ
พอเปิดอ่านบทแรกแล้ว รู้สึกคลิกกับหนังสือเล่มนี้เลย เพราะเริ่มต้นเรื่องด้วยความสงสัยของนาเสด
เด็กชาวไทยมุสลิมที่เพิ่งจบประถมหก แล้วพ่อต้องการให้เขาไปเรียนโรงเรียนปอเนาะ
ในขณะที่เพื่อน ๆ อีกหลายคนทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิมได้ไปเรียนต่อในโรงเรียนสายสามัญ
และมีเพื่อนที่เรียนเก่ง แต่ฐานะไม่ดี จำเป็นต้องออกจากโรงเรียนไปช่วยพ่อแม่ทำงานแทน
ชีวิตในปอเนาะไม่เห็นน่าสนุกเลย ต้องกินนอนที่โรงเรียน แถมต้องทำกับข้าว ซักผ้าเองอีกต่างหาก
จบมาจะไปเรียนหรือทำงานต่อที่ไหนได้ จบแล้วจะต้องไปเป็นครูสอนศาสนาอิสลามอย่างเดียวหรือเปล่า
คำถามเหล่านี้เกิดขึ้นในใจของนาเสด (คนอ่านก็สงสัยด้วย) แต่ในที่สุด นาเสดก็ตัดสินใจไปเรียนปอเนาะ
เพราะคำพูดปริศนาที่ปะ (พ่อ) อมพะนำไว้ไม่ยอมบอก แต่ให้ไปเรียนรู้หาคำตอบเอาเองว่า
ทำไมต้องเรียนปอเนาะ เรียนปอเนาะแล้วจะได้อะไร ทำไมมนุษย์ต้องเรียนรู้อะไรมากมายด้วย
เมื่อตัดสินใจไปเรียนทั้งที่ยังงง ๆ นาเสดก็ได้พบกับเพื่อนใหม่ การใช้ชีวิตรูปแบบใหม่
บททดสอบใหม่ ๆ ที่เขาต้องคิดและตัดสินใจเลือกทางของตัวเอง และคำตอบของคำถามที่เคยสงสัย
ซึ่งสิ่งที่เขาได้รับจากการเรียนปอเนาะนั้นมากมายกว่าที่เคยคิดเอาไว้เสียอีก
ตัวเองก็เพิ่งรู้จากการอ่านเรื่องนี้ว่า โรงเรียนปอเนาะเป็นโรงเรียนสหศึกษาเอกชน มีผู้หญิงเรียนด้วย
สอนทั้งวิชาสามัญและศาสนา นักเรียนปอเนาะอาจไม่เรียนวิชาสามัญที่ปอเนาะก็ได้
แต่ไปเรียนที่โรงเรียนธรรมดา พอเรียนวิชาสามัญที่โรงเรียนเสร็จแล้ว
ค่อยกลับมาเรียนวิชาศาสนากับปฏิบัติศาสนกิจ และนอนค้างที่โรงเรียนปอเนาะในตอนเย็น
คนที่จบจากโรงเรียนปอเนาะสามารถเอาวิชาสามัญไปสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ด้วย
เป็นเรื่องที่อ่านแล้วชอบมาก และถูกชะตากับนาเสด เพราะเด็กคนนี้มักจะมีคำถามว่า ‘ทำไม’ อยู่เรื่อย ๆ
และคำว่าทำไมนี่ละ ที่ทำให้เราเริ่มคิดแล้วก็ตั้งคำถามตัวเองเหมือนกันว่า “เออ... นั่นสิ ทำไม”
นอกจากนี้ ยังได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับศาสนาอิสลามที่ไม่เคยรู้หลายอย่าง เช่น
ตั้งแต่การละหมาด 5 เวลาของชาวมุสลิมทำตอนไหนบ้าง แต่ละช่วงเรียกว่าอะไร
ชาวมุสลิมถือศีลอดไปเพื่ออะไรแล้วจะเรียนรู้อะไรจากการถือศีลอดได้บ้าง
รวมถึงการศึกษา วิถีชีวิต ภาษา และวัฒนธรรมของชาวไทยมุสลิมอีกหลายเรื่อง เช่น
คำเรียกพ่อแม่ พี่ ของชาวไทยมุสลิม วันหยุดทางศาสนา ขนมของชาวมุลิม ซึ่งแทรกอยู่ในเรื่อง
สำนวนเขียนของเรื่องนี้ เรียบง่ายแต่เห็นภาพ และมีข้อคิดที่อ่านแล้วชอบและเห็นด้วยอยู่หลายตอน
ถึงบางจุดก็มีคำพูดในบางช่วงดูเป็นภาษาเขียนไปบ้าง แต่ก็ไม่ทำให้เรื่องเสียอรรถรสไป
การแบ่งเนื้อหา ผู้เขียนได้แบ่งเรื่องออกเป็นตอน ๆ โดยแต่ละตอนมีความเกี่ยวเนื่องกัน
สถานการณ์ในแต่ละตอนก็น่าคิดเหมือนกันนะคะว่า แล้วนาเสดจะแก้ปัญหายังไง
ซึ่งบทสรุปของเหตุการณ์ในแต่ละตอนอ่านแล้วรู้สึกว่า หาทางออกให้ตัวละครได้ดีจัง
และตรงนี้ละค่ะ ที่ทำให้รู้สึกว่าเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมเยาวชนที่ ‘สะอาด’ มาก
สรุปสั้น ๆ แบบโฆษณาสมัยก่อนว่า... โรงเรียนปอเนาะให้อะไรมากกว่าที่คุณคิดค่ะ
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
15 กุมภาพันธ์ 2565
ความยาว
139 หน้า
ราคาปก
140 บาท (ประหยัด 46%)
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
คุณสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็นได้จ้า