ล็อกอินเข้าระบบ
เข้าระบบผ่าน Social Network
เข้าสู่ระบบด้วย Facebook
เข้าสู่ระบบด้วย Line
เข้าสู่ระบบด้วย Apple
เข้าสู่ระบบด้วย Google
หรือ เข้าระบบด้วยบัญชี meb
จำ Password ไม่ได้
จำ Username ไม่ได้
หากยังไม่สมัครบัญชี meb โปรด
สมัครสมาชิก
สมัครสมาชิก MEB Account
กรุณาใส่ข้อมูลที่มีเครื่องหมาย * ให้ครบถ้วน
Username
*
ต้องมีไม่ต่ำกว่า 4 ตัวอักษร และยาวไม่เกิน 32 ตัวอักษร และใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ a ถึง z, A ถึง Z หรือเครื่องหมาย _-@.
Password
*
ระบุอย่างน้อย 8 ตัว
Retype Password
*
E-mail
*
Display name
*
Phone
ระบุเฉพาะตัวเลข
First Name
Last Name
Gender
Not specified
Male
Female
ส่งข้อมูล
ล็อกอินเข้าระบบ The1
สำหรับผู้ที่มีบัญชี meb อยู่แล้ว
ครอปรูปภาพ
ล็อกอินเข้าระบบ / สมัครสมาชิก
ล็อกอินเข้าระบบ
ตะกร้า
จัดการอีบุ๊กที่วางขาย
จัดการอีบุ๊ก
อีบุ๊กทั้งหมด
เมนู
อีบุ๊กทั้งหมด
นิยายทั้งหมด
นิยายแปล
การ์ตูนทั้งหมด
อีบุ๊กทั่วไป
หนังสือเด็ก
หนังสือเรียน
หนังสือเสียง
บุฟเฟต์
หมวดหมู่ทั้งหมด
สำนักพิมพ์
เลือกหมวดหมู่ย่อย
ค้นหาสำนักพิมพ์
หน้าแรก
ขายดี
มาใหม่
โปรโมชัน
ฟรีกระจาย
ฮิตขึ้นหิ้ง
แนะนำ
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนดำเนินรายการด้วยค่ะ
ล็อกอินเข้าระบบ
กรุณายืนยันบัตรประชาชนก่อนดำเนินรายการด้วยค่ะ
ไปยืนยันบัตรประชาชน
ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลบัตรประชาชน
กรุณาดำเนินการใหม่อีกครั้งในภายหลังค่ะ
ขออภัยค่ะไม่สามารถเข้าชมได้
เนื่องจากเนื้อหาเหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
มิติใหม่การพัฒนานโยบายเพื่อสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชน
โดย
ดร.วิมลพรรณ สิริกาญจนาทัศน์
สำนักพิมพ์
สำนักพิมพ์เดือนกระจ่าง
หมวดหมู่
การเมือง/รัฐศาสตร์
ทดลองอ่าน
ซื้อ 80 บาท
4.50
2 Rating
อยากได้
ซื้อเป็นของขวัญ
ติดตาม
นักเขียน
ดร.วิมลพรรณ สิริกาญจนาทัศน์
สำนักพิมพ์
สำนักพิมพ์เดือนกระจ่าง
หมวดหมู่
การเมือง/รัฐศาสตร์
แชร์
Facebook
Twitter
LINE
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
01 กันยายน 2565
ความยาว
142 หน้า
ราคาปก
200 บาท (ประหยัด 60%)
มิติใหม่การพัฒนานโยบายเพื่อสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชน
โดย
ดร.วิมลพรรณ สิริกาญจนาทัศน์
สำนักพิมพ์เดือนกระจ่าง
การเมือง/รัฐศาสตร์
ทดลองอ่าน
ซื้อ 80 บาท
4.50
2 Rating
อยากได้
ซื้อเป็นของขวัญ
ติดตาม
นักเขียน
ดร.วิมลพรรณ สิริกาญจนาทัศน์
สำนักพิมพ์
สำนักพิมพ์เดือนกระจ่าง
หมวดหมู่
การเมือง/รัฐศาสตร์
แชร์
Facebook
Twitter
LINE
ตำราวิชานโยบายสาธารณะ รหัสวิชา 412303 ได้เรียบเรียงขี้นอย่างเป็นระบบครอบคลุมเนื้อหาสาระตามคำอธิบายของวิชาในแผนการเรียนเพื่อใช้ในการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาหรือผู้ที่สนใจในวิชาดังกล่าว สามารถอ่านและทำความเข้าใจในเนื้อหาได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเข้าศึกษาในวิชานี้
ตำรานี้ได้เพิ่มได้เพิ่มเนื้อหาให้กว้างขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในสาขาวิชาที่ผู้เรียนและผู้สนใจที่จะศึกษาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารได้ จะเน้นเนื้อหาที่เป็นกระบวนการบริหารงานและการบริหารจัดการสามารถนำมาใช้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชน โดยในอนาคตมีแนวโน้มว่าการบริหารจัดการของหน่วยงานทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนจะไม่แตกต่างกันมากเนื่องจากบุคลากรจำนวนไม่น้อยของทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่างมีการศึกษาหาความรู้ มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่ไม่แตกต่างกันรวมทั้งประสานงานกันและบุคลากรของแต่ละภาคต่างมีโอกาสเข้าไปปฏิบัติงานในอีกภาคหนึ่ง เช่น หลังจากออกจากงานภาครัฐได้เข้าไปทำงานในภาคเอกชน หรือหลังจากออกจากงานภาคเอกชนได้ไปสมัครรับเลือกตั้งและเข้าไปปฏิบัติงานในภาครัฐในฐานะเป็นฝ่ายการเมืองหรือเข้ารับการคัดเลือกเพื่อเข้ามาเป็นผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่ประกาศรับสมัคร คำว่า การบริหารจัดการ การบริหารยุทธศาสตร์ ในที่นี้ ได้ใช้คำว่า Strategic Administration เพราะคำว่า การบริหาร ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Administration แต่บางครั้งพบว่า ได้มีการให้ความหมายของการบริหารยุทธศาสตร์เป็น ภาษาอังกฤษว่า Strategic Management ซึ่งคำภาษาอังกฤษดังกล่าวนี้ น่าจะแปลว่า การจัดการยุทธศาสตร์ หรือการจัดการเชิงยุทธศาสตร์มากกว่า กล่าวได้ว่า การบริหารจัดการ การบริหารยุทธศาสตร์ หรือแม้กระทั่งการบริหารการพัฒนา (Development Administration) และการบริหารการบริการ (Service Administration) แต่ละคำมีความหมายของบางส่วนที่คล้ายคลึง หรือใกล้เคียงกัน หรือมีลักษณะร่วมที่เห็นได้อย่างชัดเจนอย่างน้อย 3 ส่วน คือ หนึ่ง ล้วนเป็น แนวทาง หรือวิธีการบริหารงานภาครัฐที่หน่วยงานของรัฐ และ/ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ นำมาใช้ในการบริหารเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารราชการ สอง มีกระบวนการบริหารงานที่อย่างน้อยประกอบด้วย 3 ขั้นตอนสำคัญ คือ การวางแผน (Planning)การดำเนินงาน (Acting) และการประเมินผล (Evaluating)และ สาม มีจุดหมายปลายทาง คือ การพัฒนาประเทศไปในทิศทางที่ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น รวมทั้งประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้าและมั่นคงเพิ่มขึ้น สำหรับส่วนที่แตกต่างกัน คือ แต่ละคำมีจุดเน้นต่างกัน ซึ่งหมายความว่า การบริหารจัดการเน้นเรื่องการนำแนวคิดการจัดการของภาคเอกชน เช่น การมุ่งหวังผลกำไร การแข่งขัน ความรวดเร็ว การตลาด การลดขั้นตอนและลดพิธีการ เข้ามาใช้การบริหารราชการ ในขณะที่การบริหารยุทธศาสตร์ซึ่งนับได้ว่า เป็นการบริหารจัดการใหม่ หรือการบริหารใหม่แนวทางหนึ่ง และเมื่อนำคำนี้มาใช้กับหน่วยงานภาครัฐ และ/หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงเรียกว่า เป็นการบริหารภาครัฐแนวใหม่ (New Public Administration) หรือการจัดการภาครัฐ (New Public Management)ที่ให้ความสำคัญกับการวางแผนยุทธศาสตร์ที่ประกอบด้วย 5 ส่วน (ขั้นตอน) ได้แก่ (1) วิสัยทัศน์ (2) พันธกิจ (3) เป้าหมาย (หรืออาจเรียกว่า เป้าประสงค์ วัตถุประสงค์ หรือจุดหมายปลายทาง) (4) ยุทธศาสตร์ (หรืออาจเรียกว่า ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน ยุทธศาสตร์การพัฒนา หรือประเด็นยุทธศาสตร์) และ (5) แผนที่ทางยุทธศาสตร์ และตัวชี้วัดการบริหารยุทธศาสตร์ของแผนงานหรือโครงการของหน่วยงานของรัฐ ส่วนการบริหารการพัฒนาให้ความสำคัญเรื่องการบริหารและการพัฒนานโยบาย แผน แผนงาน โครงการ (Policy, Plan, Program, Project) หรือกิจกรรมของหน่วยงานของรัฐ ส่วนการบริหารการบริการเน้นเรื่องการอำนวยความสะดวกและการให้บริการแก่ประชาชนที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน เหล่านี้เป็นต้น หน่วยงานของรัฐ (Tate Agencies) เป็นคำกลาง ๆ ที่ใช้กับหน่วยงานภาครัฐทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และศาล เป็นต้นว่า กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัด อำเภอ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล กรุงเทพมหานคร คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน และศาลรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาองค์กรตามรัฐธรรมนูญ (Organs under the Constitution) โดยถือว่า เป็นหน่วยงานของรัฐที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550) ด้วย“การบริหารจัดการและการบริหารยุทธศาสตร์ของหน่วยงานของรัฐ” นี้ ได้นำคำว่า การบริหารจัดการ การบริหารยุทธศาสตร์ และหน่วยงานของรัฐมารวมกันและพิจารณาศึกษา ทั้งนี้ ไม่เพียงต้องการแสดงให้เห็นลักษณะสำคัญของการบริหารจัดการในทางวิชาการที่นำไปใช้กันอย่างแพร่หลายเท่านั้น แต่ยังต้องการตอกย้ำแนวคิดและลักษณะสำคัญของการบริหารยุทธศาสตร์ และการวางแผนยุทธศาสตร์ โดยนำหน่วยงานของรัฐ 12 หน่วยงานมาเป็นกรณีศึกษา คือ (1) องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ องค์กรอัยการ และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (2) ศาล ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง รวมตลอดถึง (3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปและรูปแบบพิเศษ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ทั้งนี้ เป็นการนำหน่วยงานของรัฐที่สำคัญและบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550) มาศึกษาเพื่อให้เป็นงานวิชาการที่น่าสนใจ ทันสมัย แตกต่างจากที่เคยมีมา สอดคล้องกับสภาพของประเทศ และนำไปปรับใช้ได้
การศึกษาครั้งนี้อาจมีข้อบกพร่องเกิดขึ้นได้ ผู้ศึกษาจะรวบรวมและนำไปแก้ไขปรับปรุงในโอกาสต่อไป สำหรับข้อดีถ้าเกิดมีขึ้น ผู้เขียนขอมอบให้แก่นักศึกษา โดยเฉพาะผู้ที่มีจิตใจและการกระทำที่คิดและทำนอกกรอบเพื่อส่วนรวมในทิศทางที่ดีหรือคาดว่าดีกว่าเดิม ผู้ศึกษาต้องกราบขอบพระคุณดร.สุชีราภรณ์ธุวานนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา ที่ได้ให้โอกาสแก่ผู้ศึกษาในการเขียนตำราเล่มนี้ เพื่อใช้เป็นประโยขน์ในการเรียนการสอนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนาและผู้สนใจสืบต่อไป
ผู้แต่งหวังว่า ตำรานี้คงอำนวยประโยชน์ต่อการเรียนการสอนตามสมควร หากท่านที่นำไปใช้มีข้อเสนอแนะ ผู้แต่งยินดีรับฟังความคิดเห็น และขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย
ดร.วิมลพรรณ สิริกาญจนาทัศน์
การเมือง
สังคมศึกษา
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
01 กันยายน 2565
ความยาว
142 หน้า
ราคาปก
200 บาท (ประหยัด 60%)
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
คุณสามารถ
เข้าสู่ระบบ
เพื่อแสดงความคิดเห็นได้จ้า
รีวิวทั้งหมด