Icon Close

ความคิดทางการเมืองไทยสมัยใหม่

ความคิดทางการเมืองไทยสมัยใหม่
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
1 Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
04 ตุลาคม 2565
ความยาว
1063 หน้า
ราคาปก
299 บาท (ประหยัด 40%)
ความคิดทางการเมืองไทยสมัยใหม่
ความคิดทางการเมืองไทยสมัยใหม่
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
1 Rating
หนังสือเรื่อง ความคิดทางการเมืองไทยสมัยใหม่ เล่มนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอมโนทัศน์หลักและกรอบการวิเคราะห์ความคิดทางการเมืองไทยที่เกี่ยวกับความคิดทางการเมืองไทยสมัยใหม่ เพื่อให้ผู้อ่านได้ใช้เป็นรากฐานสำคัญในการวิเคราะห์ความคิดทางการเมืองไทยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยในแต่ละช่วงเวลาของประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย

หนังสือเรื่อง ความคิดทางการเมืองไทยสมัยใหม่ เล่มนี้ มีสาระแบ่งออกเป็น 11 บท ประกอบด้วย
บทที่ 1 ความคิดทางการเมืองและสังคม เกี่ยวกับความหมายของความคิดทางการเมือง ความคิดและการเมือง ที่มาของความคิดทางการเมือง ความคิดทางการเมือง ทฤษฎีการเมือง และปรัชญาการเมือง ระบบการเมือง ระบอบการปกครอง รูปแบบการปกครอง และชนิดของการปกครอง ความคิดทางการเมืองในอุดมการณ์ทางการเมืองและลัทธิทางการเมือง ความคิดทางการเมืองไทยในรัฐโบราณและรัฐสมัยใหม่ และการสังเคราะห์ความคิดทางการเมืองและสังคมไทย

บทที่ 2 พื้นฐานความคิดทางการเมืองในการปฏิวัติสยาม เกี่ยวกับพัฒนาการประวัติความคิดทางการเมืองสู่ระบอบใหม่ ความคิดทางการเมืองของฝ่ายคณะเจ้า ความคิดทางการเมืองว่าด้วยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจสูงสุดเป็นของพระมหากษัตริย์ เทวราชา ธรรมราชา การรัฐประหารเงียบ การรัฐประหารของคณะราษฎร กบฏบวรเดช คณะ ร.ศ. 103 คณะ ร.ศ. 130 คณะราษฎร กษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงกระทำผิดมิได้ ระบอบประชาธิปไตยของคณะราษฎร พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ อำนาจคือธรรม ประชาธิปไตยไทยนิยม ความคิดทางการเมืองในประกาศคณะราษฎรฉบับแรกและรัฐธรรมนูญสยามฉบับแรก รัฐธรรมนูญฉบับถาวร รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแต่ใช้คำว่า รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญสยามฉบับแรก ความคิดทางการเมืองในเค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ และการสังเคราะห์ความคิดทางการเมืองในการปฏิวัติสยาม

บทที่ 3 แนวคิดการแทรกแซงทางการเมืองของทหาร เกี่ยวกับมโนทัศน์การปฏิวัติ การรัฐประหาร การกบฏ การแทรกแซงทางการเมืองของทหาร การปฏิวัติ การรัฐประหาร กบฏ ธรรมชาติของการแทรกแซงทางการเมืองของทหาร ทฤษฎีการแทรกแซงทางการเมืองของทหาร ทฤษฎีรัฐบาลพลเรือนมีอำนาจเหนือองค์กรทหาร การรัฐประหารที่มีความชอบธรรมทางการเมือง ตัวแบบป้องกันการแทรกแซงทางการเมืองของทหารที่ประกอบด้วยวัฒนธรรมประชาธิปไตย ความเป็นพลเมือง ความเป็นประชาธิปไตย กลุ่มผลประโยชน์หลากหลาย ความเป็นสถาบันทางการเมือง และความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือนและทหารแบบประชาธิปไตย รวมถึงการสังเคราะห์ความคิดการแทรกแซงทางการเมือง ของทหาร

บทที่ 4 การแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย เกี่ยวกับการที่สหรัฐอเมริการับรองและไม่รับรองการแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย บทบาทการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลคณะรัฐประหาร การแทรกแซงทางการเมืองช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ การแทรกแซงทางการเมืองทำให้เศรษฐกิจและประชาธิปไตยแตกหัก การเข้าแทรกแซงชั่วคราวในฐานะกรรมการ ไม่ใช่คู่ขัดแย้ง รัฐประหารเพราะทางตันหรือไม่ยอมรับทางออก เป้าหมายการรัฐประหารเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและการเมือง ข้ออ้างในการแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย การเมืองข้ออ้างของคณะรัฐประหาร อัตมโนทัศน์ของหัวหน้าคณะรัฐประหาร ความคิดทางการเมืองของประชาชนและชนชั้นนำ ข้อสังเกตเกี่ยวกับข้ออ้างในการแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย และการสังเคราะห์การแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย

บทที่ 5 ประชาธิปไตยไทยนิยม เกี่ยวกับมโนทัศน์ประชาธิปไตยไทยนิยมและคำที่มีความหมายเหมือนกัน บริบทความหมายของประชาธิปไตยไทยนิยม ความหมายของประชาธิปไตยไทยนิยมและคำที่มีความหมายเหมือนกัน ข้อสังเกตจากความหมายของประชาธิปไตยไทยนิยม กำเนิดความคิดทางการเมืองในแบบประชาธิปไตยไทยนิยม แนวคิดและพัฒนาการความคิดทางการเมืองในแบบประชาธิปไตยไทยนิยม ภาคปฏิบัติของประชาธิปไตยไทยนิยม อำนาจวุฒิสภาเหนือกว่าสภาผู้แทนราษฎรตามวิถีประชาธิปไตยไทยนิยม ระบบพรรคการเมืองและระบบการเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตยไทยนิยม การเมืองการยุบพรรคการเมืองตามวิถีประชาธิปไตยไทยนิยม พฤติกรรมการเลือกตั้งและการจัดการเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตยไทยนิยม และการสังเคราะห์ประชาธิปไตยไทยนิยม

บทที่ 6 นายกรัฐมนตรีคนนอก เกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาของไทย มโนทัศน์เกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีคนนอกของไทย นายกรัฐมนตรีคนนอกในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย นายกรัฐมนตรีคนนอกของคณะปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ของคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ของคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2519 และจากคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2520 นายกรัฐมนตรีคนนอกของคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2534 และจากคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีคนนอกของคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2549 นายกรัฐมนตรีคนนอกจากคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2557 นายกรัฐมนตรีคนนอกในอุดมคติของชนชั้นนำ กระบวนการได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองของนายกรัฐมนตรีคนนอก นายกรัฐมนตรีคนนอกตามวิถีประชาธิปไตยไทยนิยม การใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีคนนอก การสืบทอดอำนาจของนายกรัฐมนตรีคนนอก นายกรัฐมนตรีคนนอกสมัยรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา และการสังเคราะห์นายกรัฐมนตรีคนนอก

บทที่ 7 การยึดโยงกับประชาชนของนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับความสำคัญของการยึดโยงกับประชาชนของนายกรัฐมนตรี การเมืองการเลือกตั้งของพรรคการเมืองไทยและการแย่งชิงการนำในการจัดตั้งรัฐบาล การเสนอชื่อบุคคลให้เป็นนายกรัฐมนตรี การประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อแบบฉบับคณะกรรมการการเลือกตั้ง พฤติกรรมการเบี่ยงเบนจากกระบวนการทำให้ได้สัดส่วนระหว่างคะแนนเสียงที่ได้รับกับที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร ความแตกต่างระหว่างระบบการเลือกตั้งระบบจัดสรรปันส่วนผสมของเยอรมนีและไทย ข้อเสนอในการแก้ไขระบบการเลือกตั้งระบบจัดสรรปันส่วนผสมของไทย และการสังเคราะห์การยึดโยงกับประชาชนของนายกรัฐมนตรี

บทที่ 8 การสร้างความเป็นสถาบันของพรรคการเมืองไทย เกี่ยวกับแนวโน้มการพัฒนาพรรคการเมืองไทยภายใต้ประชาธิปไตยไทยนิยม ที่ได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองขนาดกลางและพรรคการเมืองขนาดเล็ก ความพยายามเปลี่ยนระบบพรรคเดียวครอบงำให้เป็นระบบหลายพรรค การเมืองภายใต้ประชาธิปไตยไทยนิยม การเมืองการยุบพรรคประชาชนปฏิรูปรวมเข้ากับพรรคพลังประชารัฐ การยุบพรรคประชาชนปฏิรูปรวมเข้ากับพรรคพลังประชารัฐ นักการเมืองงูเห่าในพรรคการเมืองไทยภายใต้ประชาธิปไตยไทยนิยม ความเป็นสถาบันของพรรคการเมืองขนาดกลางภายใต้ประชาธิปไตยไทยนิยม ความเป็นสถาบันทางการเมืองของพรรคการเมืองต่างๆ อาทิ พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรคอนาคตใหม่ พรรคก้าวไกล พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย ระบบพรรคการเมืองไทยและความคิดทางการเมืองว่าด้วยอำนาจคือธรรม อำนาจต่อรองตำแหน่งโควตารัฐมนตรีของพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทย ผลกระทบจากการเปลี่ยนขั้วการเมืองโดยเข้าร่วมรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทย ความเป็นสถาบันของพรรคการเมืองขนาดเล็กภายใต้ประชาธิปไตยไทยนิยม และการสังเคราะห์การสร้างความเป็นสถาบันของพรรค การเมืองไทย

บทที่ 9 ความคิดทางการเมืองของกลุ่มคนหนุ่มสาว เกี่ยวกับพัฒนาการความคิดทางการเมืองในการเมืองการปกครองไทย กลุ่มหลากหลายในการเมืองการปกครองไทย ความคิดทางการเมืองสมัยก่อนและหลังการปฏิรูปการเมือง ข้อเรียกร้องในการเคลื่อนไหวทางสังคมการเมือง ความคิดทางการเมืองที่มีวัตถุประสงค์ต่างๆ อาทิ เพื่อฟื้นฟูประชาธิปไตยสากล เพื่อประชาธิปไตยไทยนิยม เพื่อฟื้นฟูประชาธิปไตยไทยนิยม รวมถึงมโนทัศน์ทางการเมืองในประเด็นต่างๆ ของกลุ่มคนหนุ่มสาว อาทิ การเมืองการปกครองไทย สถาบันทางการเมือง กระบวนการทางการเมือง การสร้างความเป็นสถาบันทางการเมือง ภาคปฏิบัติของการสร้างความเป็นสถาบันทางการเมือง และการสังเคราะห์ความคิดทางการเมืองของกลุ่มคนหนุ่มสาว

บทที่ 10 การสถาปนาประชาธิปไตยไทย เกี่ยวกับการสถาปนาประชาธิปไตยสยามแบบคณะราษฎร จุดเริ่มต้นพัฒนาการความคิดทางการเมืองในแบบประชาธิปไตยไทยนิยม การต่อรองประนีประนอมระหว่างคณะราษฎรกับคณะเจ้า ระบอบการเมืองการปกครองของคณะราษฎรและคณะเจ้า การสถาปนาประชาธิปไตยสยามสมัยรัฐบาล ป. พิบูลสงคราม สมัยแรก การแตกหักของประชาธิปไตยสยามแบบคณะราษฎร การสถาปนาประชาธิปไตยไทยนิยมผ่านกลไกต่างๆ อาทิ อำนาจกฎหมายพิเศษ อำนาจรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา รวมถึงการสถาปนาประชาธิปไตยไทยสมัยก่อนและหลังการปฏิรูปการเมือง การสถาปนาประชาธิปไตยไทยนิยมสมัยก่อนและหลังการปฏิรูปการเมือง และการสังเคราะห์การสถาปนาประชาธิปไตยไทย

บทที่ 11 ประชาธิปไตยไทยภูมิภาคนิยมเปรียบเทียบ เกี่ยวกับประชาธิปไตยไทยภูมิภาคนิยมเปรียบเทียบ ทั้งความคิดทางการเมืองไทยอีสาน ไทยเหนือ ไทยใต้ ไทยกลาง ไทยตะวันออก และไทยตะวันตก โดยเป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบเกี่ยวกับความคิดทางการเมือง อาทิ ประชาธิปไตยไทยในอุดมคติ ภาพจำเรื่องการเมืองว่าด้วยกลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง และการเลือกตั้ง พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในประชาธิปไตยไทย ภูมิทัศน์การเมืองกับการสถาปนาประชาธิปไตยไทย แนวโน้มการสถาปนาประชาธิปไตยไทย และการสังเคราะห์ประชาธิปไตยไทยภูมิภาคนิยมเปรียบเทียบ

ผู้เขียนใช้หนังสือเล่มนี้ประกอบการสอนวิชา ความคิดทางการเมืองไทย และวิชาที่เกี่ยวข้อง อาทิ การเมืองการปกครองไทย การเมืองเปรียบเทียบ โดยใช้ร่วมกับหนังสืออีกหลายเล่ม
ผู้เขียนขอขอบคุณผู้อ่านทุกคนที่ให้การตอบรับหนังสือเล่มนี้เป็นอย่างดี และในการนี้จึงขออวยพรให้ผู้อ่านทุกคนมีความสุขและมีชีวิตที่ดีที่สุดต่อไป

ไพรวัลย์ เคนพรม
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
04 ตุลาคม 2565
ความยาว
1063 หน้า
ราคาปก
299 บาท (ประหยัด 40%)
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
หนังสือเล่มนี้เปิดให้แสดงความคิดเห็นได้เฉพาะผู้ที่มีหนังสือฉบับเต็มเท่านั้น