Icon Close

ทะแยมอญ

ทะแยมอญ
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
2 Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
27 พฤศจิกายน 2565
ความยาว
16 หน้า
ราคาปก
ฟรี
ทะแยมอญ เป็นชื่อที่คนไทยเรียกการแสดงอย่างหนึ่งของคนมอญ ซึ่งเพี้ยนมาจากคำในภาษามอญว่า แต็ะแหฺย็ะฮ์ หมายถึงการขับร้อง ทะแยมอญเป็นการละเล่นหรือการแสดงของชาวมอญที่มีลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์ (ร้องโต้ตอบกัน) คล้ายกับการเล่นเพลงพื้นเมืองของไทย เช่น เพลงลำตัด เพลงฉ่อย เพลงอีแซว และเพลงเรือ แต่ไม่มีการร้องหยาบคาย โดยจะมีนักร้องฝ่ายชาย (แหม็ะแขวกนิฮ์เตราะฮ์) และนักร้องฝ่ายหญิง (แหม็ะแขวกนิฮ์แปรา) ร้องโต้ตอบกันเป็นคู่ ๆ พร้อมกับการร่ายรำประกอบ สำหรับคำร้องนั้นแต่เดิมเป็นภาษามอญล้วนๆ แต่ในปัจจุบันมีการประยุกต์คำร้องมีทั้งที่เป็นภาษามอญและที่เป็นภาษามอญปนไทย มักใช้กับทำนองเพลงสมัยใหม่ เช่น เพลงลูกทุ่ง เป็นต้น เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงการละเล่นทะแยมอญ ได้แก่วงโกรจยาม ซึ่งประกอบด้วยดนตรี 5 ชิ้น คือ ซอ (โกร) จะเข้มอญ (จยาม) ขลุ่ย(อะโลด) เปิงมาง (ปุงตัง) และฉิ่ง (หะเดหรือคะเด) และเนื่องจากมีการประยุกต์ทำนองเพลงสมัยใหม่มาใช้ร้องจึงต้องเพิ่มซอด้วงทำทำนองอีก ๑ ชิ้น โดยจะปรับเสียงให้เข้ากับซอมอญ อีกทั้งเพิ่ม ฉาบเล็ก กรับ และกลองรำวง สำหรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะอีกด้วย
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
27 พฤศจิกายน 2565
ความยาว
16 หน้า
ราคาปก
ฟรี
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
คุณสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็นได้จ้า