Icon Close

ผู้เฒ่าเล่าความหลัง (แผ่นดินที่น่าอยู่)

ผู้เฒ่าเล่าความหลัง (แผ่นดินที่น่าอยู่)
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
1 Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
22 กุมภาพันธ์ 2566
ความยาว
51 หน้า
ราคาปก
100 บาท (ประหยัด 40%)
ผู้เฒ่าเล่าความหลัง (แผ่นดินที่น่าอยู่)
ผู้เฒ่าเล่าความหลัง (แผ่นดินที่น่าอยู่)
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
1 Rating
ตอนที่ผมยังเป็นเด็กแรกเกิด ถึงอายุ ๑๒ ขวบ (ในปี พ.ศ.๒๕๘๔ ถึง พ.ศ.๒๔๙๖) ที่พอจะเล่าเป็นความหลังได้ ครอบครัวของพ่อแม่และครอบครัวของตายาย ต่างมีที่นาผืนใหญ่กว้างลิบลิ่ว และอาชีพที่ทำก็คือ การเลี้ยงควาย วัว ไว้ไถนาและลากเกวียน ซึ่งทุกครอบครัวในชนบททุ่งนา ที่มีพื้นที่ติดต่อกัน หลายอำเภอ ต่างต้องมีขาดไม่ได้
ทุกบ้าน ต่างเลี้ยงควาย วัว พร้อมกับการทำสวน ไร่ นา สืบทอดกันมานานกว่าร้อยปีเป็นอาชีพหลัก พร้อมกับเลี้ยงสัตว์ วัว-ควาย หมู เป็ด ไก่ ยกเว้นพวกปลา ปู กุ้ง หอย เพราะมีอยู่ในธรรมชาติ คือ แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงจนถึงทะเล
ส่วนวัว ควาย นอกจากจะใช้แรงงาน วัว ควาย ตัวเมียยังให้นมแก่เราได้ดื่มกิน และนมวัว ควาย ก็มีซื้อขายกันอยู่ โดยที่นมสด นมกล่อง ยังไม่มีมาขาย จึงนับได้ว่าสัตว์เลี้ยง วัว ควาย เป็นสัตว์มีบุญคุณ บางคนจึงไม่กินเนื้อวัวและควาย เพราะถือว่า เป็นสัตว์มีบุญคุณ
ปู่ ย่า ตา ยาย เล่าว่า ในชนบททุ่งนา เมื่อ ๘๐-๙๐ กว่าปีที่ผ่านมา ที่ ๆ ชนชาวบ้านอาศัย มักมีแต่พื้นที่ซึ่งเป็นทุ่งนา แม่น้ำ และลำคลอง เสียส่วนใหญ่ ขณะที่ดินที่เป็นป่าเขา มักไม่มีใครไปอยู่ หรือมีก็น้อยเพราะเป็นที่สูง ห่างไกลจากเมือง และที่สำคัญ ผู้คนชอบเลือกอยู่ในที่ราบ มีทุ่งนา เพราะทุกคนต้องปลูกข้าวไว้กิน พร้อมกับเลี้ยงวัว ควาย ไว้เป็นแรงงานหลัก
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
22 กุมภาพันธ์ 2566
ความยาว
51 หน้า
ราคาปก
100 บาท (ประหยัด 40%)
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
คุณสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็นได้จ้า