Icon Close

จากนาลันทาถึงมหาจุฬาฯ

หนังสือ ‘จากนาลันทา ถึง มหาจุฬาฯ’ เล่มนี้ จัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๒.
มหาวิทยาลัยนาลันทา กับมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีความคล้ายคลึงกัน ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยนาลันทา เดิมเป็นสวนมะม่วงที่เศรษฐีชาวกรุงโกสัมพี ชื่อ ‘ปาวาริกะ’ บริจาคทรัพย์ซื้อจากเจ้าของเดิม แล้วสร้างสังฆารามถวายพระผู้มีพระภาค สำหรับเป็นที่พำนักของพระองค์และภิกษุสงฆ์ สังฆารามนั้นจึงมีชื่อว่า ‘ปาวาริกัมพวัน’ พระผู้มีพระภาคเสด็จมาประทับ ณ ที่นี้หลายครั้ง ครั้งสุดท้ายคือครั้งที่เสด็จผ่านไปปรินิพพานที่กรุงกุสินารา ทุกครั้งที่มาประทับพระองค์ได้ทรงแสดงธรรมะสำคัญแก่พระภิกษุสงฆ์ และพุทธบริษัทที่เข้าเฝ้า หลังพุทธปรินิพพาน พระเจ้าโศกมหาราช ราชวงศ์โมริยะหรือเมารยะได้ทรงสร้างสังฆารามขึ้นใหม่ในบริเวณปาวาริกัมพวันนี้ ต่อมากษัตริย์ราชวงศ์คุปตะพระองค์หนึ่งพระนามว่าพระเจ้ากุมารคุปตะ ได้ทรงสร้างสังฆารามขึ้นใหม่อีกในบริเวณเดียวกัน และมีกษัตริย์ราชวงศ์คุปตะและราชวงศ์อื่นๆ อีกหลายพระองค์ได้ทรงสร้างสังฆาวาสเพิ่มเติม จนกลายเป็น ‘มหาวิทยาลัยนาลันทา’ ซึ่งนับเป็น ‘มหาวิทยาลัยทางพระพุทธศาสนาแห่งแรกในโลก’ ที่เปิดสอนวิชาพระพุทธศาสนา พุทธปรัชญา และศาสตร์อื่นๆ รวมทั้ง ศาสนาและปรัชญาฮินดูแก่นักศึกษาและบรรพชิตและคฤหัสถ์ทั้งชาวอินเดียและชาวต่างประเทศ จึงถือเป็นแหล่งเกิดศิลปะวัฒนธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของอินเดีย ส่วนมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยของไทยเป็นราชวิทยาลัยทางพระพุทธศาสนาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาขึ้น ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์.

สารบัญเนื้อหาในเล่ม ได้แก่
บทที่ ๑. การศึกษาพระพุทธศาสนา / ระบบการศึกษาในพระพุทธศาสนาดั้งเดิม / การศึกษาพระพุทธศาสนาหลังพุทธกาล
บทที่ ๒. มหาวิทยาลัยนาลันทา / นาลันทาในครั้งพุทธกาล ที่ตั้งและสถานของนาลันทา / ความหมายของคำว่า ‘นาลันทา’ / หมู่บ้านนาลกะ : แดนแห่งนักปราชญ์ในพุทธกาล / กำเนิดมหาวิทยาลัยนาลันทา / บรรยากาศทางวิชาการและการอุปถัมภ์จากมวลชน / การบริหารวิชาการ / ปรัชญาและวัตถุประสงค์ : จากศรัทธาสู่นาลันทา และจากปัญญาวิมุติติสู่ปรัชญาวิเคราะห์ / นาลันทากับมหาวิทยาลัยร่วมสมัย
บทที่ ๓. นาลันทากับภารกิจทางวิชาการ / มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก / แหล่งบ่มเพาะแนวคิดเชิงพุทธปรัชญา / ศูนย์กลางการแปล-แต่งและปริวรรตคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา /แหล่งสร้างสรรค์นักปราชญ์และภูมิปัญญาเชิงพุทธ / พระสงฆ์นักปราชญ์อื่นๆ ในยุค พ.ศ. ๑๐๙๑-๑๒๔๓ ฯลฯ
บทที่ ๔. มรดกทางวัฒนธรรม / อายุของมหาวิทยาลัยนาลันทา / การล่มสลายของมหาวิทยาลัยนาลันทา ความเลือนหายไปแห่งพระพุทธศาสนาจากอินเดีย / อิทธิพลเชิงวิชาการจากตักศิลาสู่นาลันทา ฯลฯ
บทที่ ๕. การสืบทอดมรดกทางวิชาการ / การสืบสานมรดกทางงวิชาการพระพุทธศาสนา : จากนาลันทาถึงมหาจุฬาฯ ฯลฯ
ภาคผนวก : ประมวลภาพ
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
03 เมษายน 2566
ความยาว
119 หน้า
ราคาปก
ฟรี
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
คุณสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็นได้จ้า