Icon Close

การเมืองกับการสื่อสารทางการเมือง

การเมืองกับการสื่อสารทางการเมือง
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
1 Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
17 เมษายน 2566
ความยาว
279 หน้า
ราคาปก
179 บาท (ประหยัด 44%)
การเมืองกับการสื่อสารทางการเมือง
การเมืองกับการสื่อสารทางการเมือง
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
1 Rating
หนังสือเรื่อง การเมืองกับการสื่อสารทางการเมือง เล่มนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอมโนทัศน์หลักและกรอบการวิเคราะห์การสื่อสารทางการเมืองที่เกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีทางการสื่อสารทางการเมือง การวิเคราะห์ผู้รับสาร การสร้างสารและสื่อเพื่อการสื่อสารทางการเมือง การกำหนดวาระข่าวสารทางการเมือง การรณรงค์เลือกตั้ง ประชาสังคมกับการสื่อสารทางการเมือง การสื่อสารการตลาดทางการเมืองเชิงบูรณาการ การสื่อสารทางการเมืองกับกระบวนการนิติบัญญัติ การสื่อสารทางการเมืองกับการจัดการภาวะวิกฤตทางการเมือง การสื่อสารทางการเมืองกับวัฒนธรรมทางการเมือง ประชามติและการโน้มน้าวใจ สื่อมวลชนกับการเมืองไทย การสื่อสารทางการเมืองท้องถิ่น

ในฐานะที่กระบวนการสื่อสารทางการเมืองเป็นกระบวนการทางการเมืองที่สำคัญยิ่งมีอิทธิพลต่อการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ทางการเมืองในแต่ละช่วงเวลาของประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของมนุษย์

การสื่อสารทางการเมืองเป็นกระบวนการที่เต็มไปด้วยความเป็นการเมืองในทุกขั้นตอนของกระบวนการสื่อสารทางการเมือง ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ส่งสารและผู้รับสาร อาทิ การกำหนดวาระ เนื้อหาสาร ช่องทางการสื่อสาร
เมื่อเป็นเช่นนี้การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับการสื่อสารทางการเมืองเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งและทำให้ได้องค์ความรู้ใหม่ที่ตัวแสดงทางการเมืองสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสื่อสารทางการเมืองให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพต่อไป

สำหรับรายละเอียด หนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 6 บท ประกอบด้วย

บทที่ 1 หลักการสื่อสารทางการเมือง ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ ความหมายของการสื่อสาร ความหมายของการเมือง ความหมายของการสื่อสารทางการเมือง การศึกษาสาขาการสื่อสารทางการเมือง สหวิทยาการของสาขาการสื่อสารทางการเมือง ศาสตร์การสื่อสารและศาสตร์การเมืองกับการสื่อสารทางการเมือง การพัฒนาองค์ความรู้ว่าด้วยการสื่อสารทางการเมือง การศึกษาการสื่อสารทางการเมือง เป้าหมายของการสื่อสารทางการเมือง

รวมถึงนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทางการเมือง ผลกระทบ ความทันสมัย การพัฒนาประชาธิปไตย การพัฒนาการสื่อสาร ขอบข่ายของการสื่อสารทางการเมือง กระบวนการสื่อสาร การรณรงค์ อิทธิพลของสื่อมวลชน การตลาด และนวัตกรรม กับการสื่อสารทางการเมือง

บทที่ 2 การสื่อสาร สาธารณชน การเลือกตั้ง และนโยบาย ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ การสื่อสารและองค์กรทางการเมืองกับสาธารณชน ความหมายของสาธารณชน การสื่อสารทางการเมืองกับสาธารณชน กระบวนการการสื่อสารทางการเมือง องค์กรทางการเมืองกับสาธารณชน การสื่อสารทางการเมืองขององค์กรทางการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างการรณรงค์และการเลือกตั้ง กระบวนการการรณรงค์เลือกตั้ง การรณรงค์เลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตย การรณรงค์เลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม ปฏิสัมพันธ์ของการรณรงค์และการเลือกตั้ง

รวมถึงนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการนโยบายและการพัฒนาทางการเมือง ความหมายของกระบวนการนโยบาย การสื่อสารในนโยบายและการพัฒนาทางการเมือง สารสนเทศนโยบายกับการพัฒนาทางการเมือง นโยบายการพัฒนาทางการเมืองกับประชาธิปไตย ปฏิสัมพันธ์ของนโยบายและการพัฒนาทางการเมือง

บทที่ 3 การแสดงความคิดเห็นสาธารณะและรูปแบบการสื่อสารทางการเมือง ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ การแสดงความคิดเห็นสาธารณะ ความหมายของการแสดงความคิดเห็นสาธารณะ ความสำคัญของการแสดงความคิดเห็นสาธารณะ การสร้างความคิดเห็นสาธารณะ การแสดงความคิดเห็นสาธารณะกับประชาธิปไตย การแสดงความคิดเห็นสาธารณะกับเผด็จการนิยม

รวมถึงนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบและองค์กรการสื่อสารทางการเมือง รูปแบบการสื่อสารทางการเมืองตามเกณฑ์ทิศทาง การสื่อสารทางการเมืองแบบทางเดียว การสื่อสารทางการเมืองแบบสองทาง การสื่อสารทางการเมืองแบบบูรณาการ รูปแบบการสื่อสารทางการเมืองตามเกณฑ์กลุ่มคน การสื่อสารทางการเมืองระหว่างบุคคล การสื่อสารทางการเมืองระหว่างกลุ่มบุคคล การสื่อสารทางการเมืองแบบปราศรัย การสื่อสารทางการเมืองแบบการประชุม การสื่อสารทางการเมืองมวลชน

บทที่ 4 กระบวนการสื่อสารทางการเมืองและประชาธิปไตย ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ องค์กรสื่อสารทางการเมือง โครงสร้างและกระบวนการสื่อสารทางการเมือง โครงสร้างการสื่อสารทางการเมือง รูปแบบ องค์กร โครงสร้าง และกระบวนการสื่อสาร ความสัมพันธ์ของการสื่อสารและประชาธิปไตย การสื่อสารกับกระบวนการประชาธิปไตย การสื่อสารในระบอบประชาธิปไตย การสื่อสารในการเลือกตั้ง การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงการเมือง ปฏิสัมพันธ์การสื่อสารกับประชาธิปไตย

รวมถึงนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารกับการเมือง ผู้ส่งสารครอบงำกดขี่และควบคุมผู้รับสาร สารทางการเมืองเป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตย การควบคุมช่องทางการสื่อสารทางการเมือง การคุกคามเสรีภาพในการสื่อสารทางการเมือง การสื่อสารทางการเมืองเพื่ออำนาจทางการเมือง

บทที่ 5 การรับรู้ การแสดงออกทางการเมือง และวาทกรรม ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ การรับรู้และการแสดงออกทางการเมือง ความหมายของการรับรู้และการรับรู้ทางการเมือง ความหมายของการแสดงออกทางการเมือง นักสื่อสารทางการเมืองกับการรับรู้ทางการเมือง การรับรู้และการแสดงออกทางการเมือง อิทธิพลการรับรู้และการแสดงออกทางการเมือง สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองกับสิทธิและเสรีภาพ การแสดงออกทางการเมืองของรัฐบาล การแสดงออกของชนชั้นนำทางการเมือง รัฐบาลประชาธิปไตย และรัฐบาลเผด็จการนิยม

รวมถึงนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้เกี่ยวกับวาทกรรม การสื่อสาร และสื่อมวลชน ความหมายวาทกรรมและการวิเคราะห์วาทกรรม การสร้างวาทกรรมทางการเมืองของสื่อมวลชน การสร้างวาทกรรมทางการเมืองของนักการเมือง การสร้างวาทกรรมทางการเมืองในการเมืองไทย ปฏิสัมพันธ์ของวาทกรรมและการสื่อสารกับสื่อมวลชน

บทที่ 6 การสื่อสารทางการเมืองและสื่อมวลชน ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์ มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ บทบาทการสื่อสารและสื่อมวลชนในทางการเมือง บทบาทการสื่อสารและการสื่อมวลชน ความสัมพันธ์ของบทบาทการสื่อสารและการสื่อมวลชน สื่อมวลชนในสังคมการเมืองประชาธิปไตย สื่อมวลชนในสังคมการเมืองเผด็จการนิยม การควบคุมสื่อของรัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จนิยม รัฐบาลเผด็จการอำนาจนิยม และชนชั้นนำเศรษฐกิจ
อิทธิพล ผลกระทบ และผลการใช้สื่อ กับการเมือง อิทธิพลการใช้สื่อกับการเมือง อิทธิพลการใช้สื่อในสังคมประชาธิปไตย สังคมเผด็จการเบ็ดเสร็จนิยม และสังคมเผด็จการอำนาจนิยม อิทธิพล ผลกระทบ และผลการใช้สื่อ กับการเมือง บทบาททางการเมืองของสื่อทั่วไปและสื่อทางเลือก

รวมถึงนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้เกี่ยวกับบทบาทของสื่อทั่วไปและสื่อทางเลือก สื่อทั่วไปและสื่อทางเลือกในสังคมประชาธิปไตย บทบาทของสื่อตามวิถีประชาธิปไตย สื่อทั่วไปและสื่อทางเลือกในสังคมเผด็จการนิยม บทบาทของสื่อตามวิถีเผด็จการนิยม

ส่วนสุดท้ายเป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการเมืองกับการสื่อสารทางการเมือง

หนังสือเล่มนี้มีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับประเด็นการเมืองกับการสื่อสารทางการเมือง ซึ่งผู้เขียนได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม

ในการนี้จึงขออวยพรให้ผู้อ่านทุกคนมีความสุขและมีชีวิตที่ดีที่สุดต่อไป

ไพรวัลย์ เคนพรม
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
17 เมษายน 2566
ความยาว
279 หน้า
ราคาปก
179 บาท (ประหยัด 44%)
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
หนังสือเล่มนี้เปิดให้แสดงความคิดเห็นได้เฉพาะผู้ที่มีหนังสือฉบับเต็มเท่านั้น