Icon Close

การสื่อสารทางการเมืองและการจัดการพรรคการเมือง

การสื่อสารทางการเมืองและการจัดการพรรคการเมือง
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
1 Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
03 พฤษภาคม 2566
ความยาว
555 หน้า
ราคาปก
299 บาท (ประหยัด 40%)
การสื่อสารทางการเมืองและการจัดการพรรคการเมือง
การสื่อสารทางการเมืองและการจัดการพรรคการเมือง
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
1 Rating
หนังสือเรื่อง การสื่อสารทางการเมืองและการจัดการพรรคการเมือง เล่มนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอมโนทัศน์ต่างๆ อาทิ หลักการจัดการการสื่อสารทางการเมืองและพรรคการเมือง การจัดการความนิยมและการสื่อสารทางการเมืองของพรรคการเมือง การจัดการสารและช่องทางการสื่อสารทางการเมืองของพรรคการเมือง และการจัดการการให้ความรู้และการสื่อสารทางการเมืองของพรรคการเมือง

การสื่อสารทางการเมืองและการจัดการพรรคการเมืองเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการทางการเมืองของตัวแสดงทางการเมือง อาทิ พรรคการเมือง นักการเมือง สภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการการเลือกตั้ง รัฐบาล

ในรัฐที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยมนั้น พรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมทางการเมืองจากประชาชนนับเป็นตัวแสดงที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นที่รวมของกลุ่มผลประโยชน์จำนวนมากที่ให้การสนับสนุนพรรคการเมืองต่างๆ ซึ่งในกลุ่มผลประโยชน์แต่ละกลุ่มก็มีประชาชนหลากหลายกลุ่มสนับสนุนเช่นกันที่มีทั้งกลุ่มชนชั้นนำ กลุ่มชนชั้นกลาง และกลุ่มชนชั้นล่าง

การจัดการพรรคการเมืองให้พรรคได้รับความนิยมทางการเมืองจากประชาชนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากความอยู่รอดของพรรคขึ้นอยู่กับความนิยมทางการเมืองจากประชาชนที่จะนำมาซึ่งการสนับสนุนให้พรรคการเมืองนั้นๆ ได้อำนาจทางการเมืองเพื่อนำนโยบายของพรรคไปสู่การปฏิบัติต่อไป โดยที่การแก้ปัญหาและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนจำนวนมากที่สุดสามารถทำได้นั้นต้องอาศัยกระบวนการสื่อสารทางการเมืองที่มีการจัดการอย่างมีหลักวิชาการและสอดคล้องกับพฤติกรรมทางการเมืองของนักการเมืองและพรรคการเมืองนั้นๆ

การจัดการทางการเมืองของพรรคการเมืองเป็นสิ่งที่ยากลำบากในการจัดการเนื่องจากเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของพรรคการเมือง โดยจะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่พรรคการเมืองสามารถควบคุมและจัดการได้ อันเป็นผลจากเรื่องการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับคนทุกคนในสังคมการเมือง การเมืองเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยผลประโยชน์ที่แต่ละฝ่ายต้องการ

ด้วยเหตุนี้ การเมืองจึงเป็นพื้นที่ของการเจรจา ต่อรอง ประนีประนอม และประสานผลประโยชน์ของผู้คนแต่ละฝ่ายในสังคมการเมือง

จะเห็นได้ว่า รากฐานการสื่อสารทางการเมืองและการจัดการพรรคการเมืองมีเป้าหมายเพื่อสร้างความนิยมทางการเมืองที่มีต่อพรรคการเมืองและตัวแทนของพรรคที่ลงสมัครรับเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตยเสรีนิยม

ในภาพรวมของหนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 4 บท ประกอบด้วย
บทที่ 1 หลักการจัดการการสื่อสารทางการเมืองและพรรคการเมือง
บทที่ 2 การจัดการความนิยมและการสื่อสารทางการเมืองของพรรคการเมือง
บทที่ 3 การจัดการสารและช่องทางการสื่อสารทางการเมืองของพรรคการเมือง
บทที่ 4 การจัดการการให้ความรู้และการสื่อสารทางการเมืองของพรรคการเมือง

ส่วนสุดท้ายเป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารทางการเมืองและการจัดการพรรคการเมือง

สำหรับรายละเอียด หนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 4 บท ประกอบด้วย

บทที่ 1 หลักการจัดการการสื่อสารทางการเมืองและพรรคการเมือง ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ รากฐานหลักการจัดการการสื่อสารทางการเมืองและพรรคการเมือง การจัดการการสื่อสารทางการเมืองและการจัดการพรรคการเมือง การจัดการพรรคการเมืองตามวิถีประชาธิปไตย การจัดการการสื่อสารทางการเมืองและการจัดการพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ พรรคก้าวไกล พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ และพรรคพลังประชารัฐ

นอกจากนี้ ผู้เขียนมีการวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับพรรคพลังประชารัฐ อาทิ การรับรู้ข่าวสารทางการเมือง ข้อมูลย้อนกลับที่มีต่อการรับรู้ข่าวสารทางการเมือง การส่งเสริมและข้อมูลย้อนกลับที่มีต่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพรรค

บทที่ 2 การจัดการความนิยมและการสื่อสารทางการเมืองของพรรคการเมือง ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ รากฐานการสร้างความนิยมและการสื่อสารทางการเมืองของพรรคการเมือง กระแสโรคเกลียดกลัวการยุบพรรคการเมืองกับความนิยมและการสื่อสารทางการเมือง การจัดการพรรคเพื่อไทยท่ามกลางกระแสโรคเกลียดกลัวการยุบพรรคการเมือง การสร้างความนิยมและการสื่อสารทางการเมืองของพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ พรรคก้าวไกล พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ และพรรคพลังประชารัฐ

นอกจากนี้ ผู้เขียนมีการวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับพรรคพลังประชารัฐ อาทิ วิกฤติความนิยมและการสื่อสารทางการเมือง ข้อมูลย้อนกลับที่มีต่อความนิยมและการสื่อสารทางการเมือง รวมถึงนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างความนิยมและการจัดการการสื่อสารทางการเมือง การปรับตัวและการจัดการการสื่อสารทางการเมือง ผลลัพธ์และผลกระทบจากการจัดการความนิยมและการสื่อสารของพรรค

บทที่ 3 การจัดการสารและช่องทางการสื่อสารทางการเมืองของพรรคการเมือง ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ รากฐานการจัดการสารและช่องทางการสื่อสารทางการเมืองของพรรคการเมือง การจัดการสารและช่องทางการสื่อสารทางการเมืองของพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ พรรคก้าวไกล พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ และพรรคพลังประชารัฐ

นอกจากนี้ ผู้เขียนมีการวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับพรรคพลังประชารัฐ อาทิ รากฐานการจัดการช่องทางการสื่อสารทางการเมือง การจัดการปัญหาการสื่อสารผ่านช่องทางการสื่อสารทางการเมือง ความเคลื่อนไหวและการสื่อสารทางการเมือง ข้อมูลย้อนกลับที่มีต่อความเคลื่อนไหวทางการเมือง บทบาทแกนนำพรรคและการสื่อสารทางการเมือง ข้อมูลย้อนกลับที่มีต่อบทบาทแกนนำพรรค

นโยบายและการสื่อสารทางการเมือง ข้อมูลย้อนกลับที่มีต่อนโยบายพรรคและการสื่อสารทางการเมือง การจัดการปัญหาประชาชนและการสื่อสารทางการเมือง ข้อมูลย้อนกลับที่มีต่อการจัดการปัญหาประชาชนและการสื่อสารทางการเมือง กิจกรรมและการสื่อสารทางการเมือง ข้อมูลย้อนกลับที่มีต่อกิจกรรมพรรคและการสื่อสารทางการเมือง ปัญหาและข้อมูลย้อนกลับที่มีต่อปัญหาการสื่อสารทางการเมือง

การวิพากษ์การจัดการช่องทางการสื่อสารทางการเมือง ปัญหาการสื่อสารผ่านช่องทางการสื่อสารทางการเมือง ช่องทางการสื่อสารทางการเมือง ปัญหาการสื่อสารผ่านช่องทางการสื่อสารทางการเมือง รวมถึงนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้เกี่ยวกับการวิพากษ์การกำหนดสารทางการเมือง ข้อมูลย้อนกลับที่มีต่อการกำหนดสาร เนื้อหาสารทางการเมือง และข้อมูลย้อนกลับที่มีต่อเนื้อหาสารของพรรค การวิพากษ์ข้อมูลย้อนกลับที่มีต่อการจัดการสารและช่องทางการสื่อสารของพรรค

บทที่ 4 การจัดการการให้ความรู้และการสื่อสารทางการเมืองของพรรคการเมือง ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ รากฐานการจัดการการให้ความรู้และการสื่อสารทางการเมืองของพรรคการเมือง การจัดตั้งสถาบันการศึกษาเพื่อให้ความรู้และการสื่อสารทางการเมืองของพรรคการเมือง การจัดการการให้ความรู้และการสื่อสารทางการเมืองของพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ พรรคก้าวไกล พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ และพรรคพลังประชารัฐ

นอกจากนี้ ผู้เขียนมีการวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับพรรคพลังประชารัฐ อาทิ การให้ความรู้ทางการเมือง ข้อมูลย้อนกลับที่มีต่อการให้ความรู้ทางการเมือง การจัดการองค์ความรู้การสื่อสารทางการเมืองและการเมืองตามนโยบายของพรรค รวมถึงนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์การบูรณาการองค์ความรู้การสื่อสารและการเมือง การวิพากษ์การจัดการการให้ความรู้และการสื่อสารตามนโยบายของพรรค

ส่วนสุดท้ายเป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารทางการเมืองและการจัดการพรรคการเมือง

หนังสือเล่มนี้มีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับประเด็นการเมืองกับการสื่อสารทางการเมือง ซึ่งผู้เขียนได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม

ในการนี้จึงขออวยพรให้ผู้อ่านทุกคนมีความสุขและมีชีวิตที่ดีต่อไป

ไพรวัลย์ เคนพรม
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
03 พฤษภาคม 2566
ความยาว
555 หน้า
ราคาปก
299 บาท (ประหยัด 40%)
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
หนังสือเล่มนี้เปิดให้แสดงความคิดเห็นได้เฉพาะผู้ที่มีหนังสือฉบับเต็มเท่านั้น