ล็อกอินเข้าระบบ
เข้าระบบผ่าน Social Network
เข้าสู่ระบบด้วย Facebook
เข้าสู่ระบบด้วย Line
เข้าสู่ระบบด้วย Apple
เข้าสู่ระบบด้วย Google
หรือ เข้าระบบด้วยบัญชี meb
จำ Password ไม่ได้
จำ Username ไม่ได้
หากยังไม่สมัครบัญชี meb โปรด
สมัครสมาชิก
สมัครสมาชิก MEB Account
กรุณาใส่ข้อมูลที่มีเครื่องหมาย * ให้ครบถ้วน
Username
*
ต้องมีไม่ต่ำกว่า 4 ตัวอักษร และยาวไม่เกิน 32 ตัวอักษร และใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ a ถึง z, A ถึง Z หรือเครื่องหมาย _-@.
Password
*
ระบุอย่างน้อย 8 ตัว
Retype Password
*
E-mail
*
Display name
*
Phone
ระบุเฉพาะตัวเลข
First Name
Last Name
Gender
Not specified
Male
Female
ส่งข้อมูล
ล็อกอินเข้าระบบ The1
สำหรับผู้ที่มีบัญชี meb อยู่แล้ว
ครอปรูปภาพ
ล็อกอินเข้าระบบ / สมัครสมาชิก
ล็อกอินเข้าระบบ
ตะกร้า
จัดการอีบุ๊กที่วางขาย
จัดการอีบุ๊ก
อีบุ๊กทั้งหมด
เมนู
อีบุ๊กทั้งหมด
นิยายทั้งหมด
นิยายแปล
การ์ตูนทั้งหมด
อีบุ๊กทั่วไป
หนังสือเด็ก
หนังสือเรียน
หนังสือเสียง
บุฟเฟต์
หมวดหมู่ทั้งหมด
สำนักพิมพ์
เลือกหมวดหมู่ย่อย
ค้นหาสำนักพิมพ์
หน้าแรก
ขายดี
มาใหม่
โปรโมชัน
ฟรีกระจาย
ฮิตขึ้นหิ้ง
แนะนำ
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนดำเนินรายการด้วยค่ะ
ล็อกอินเข้าระบบ
กรุณายืนยันบัตรประชาชนก่อนดำเนินรายการด้วยค่ะ
ไปยืนยันบัตรประชาชน
ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลบัตรประชาชน
กรุณาดำเนินการใหม่อีกครั้งในภายหลังค่ะ
ขออภัยค่ะไม่สามารถเข้าชมได้
เนื่องจากเนื้อหาเหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
ปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐาน (หนังสือเสียง)
โดย
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
สำนักพิมพ์
rung chinpanthana
หมวดหมู่
ชีวประวัติ
ฟรี
5.00
2 Rating
ติดตาม
นักเขียน
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
สำนักพิมพ์
rung chinpanthana
หมวดหมู่
ชีวประวัติ
แชร์
Facebook
Twitter
LINE
นักพากย์
ท่านพระอาจารย์
ประเภทไฟล์
Audio
(สารบัญ)
วันที่วางขาย
23 พฤษภาคม 2566
ความยาว
17 ชั่วโมง 40นาที
ราคาปก
ฟรี
ปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐาน (หนังสือเสียง)
โดย
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
rung chinpanthana
ชีวประวัติ
ฟรี
5.00
2 Rating
ติดตาม
นักเขียน
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
สำนักพิมพ์
rung chinpanthana
หมวดหมู่
ชีวประวัติ
แชร์
Facebook
Twitter
LINE
หนังสือปฏิปทานี้ หากมีท่านผู้ศรัทธาพิมพ์แจกเป็นธรรมทาน ผู้เขียนมีความยินดีอนุโมทนาด้วยทุกโอกาส กรุณาทราบตามนัยที่เรียนมาแล้วนี้ จะไม่เป็นกังวลในการต้องขออนุญาตอีกในวาระต่อไป แต่การพิมพ์จำหน่ายนั้นขอสงวนลิขสิทธิ์ ดังที่เคยปฏิบัติมากับหนังสือทุกเล่มที่ผู้เขียนเป็นผู้เรียบเรียง เพราะมุ่งประโยชน์แก่โลกด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ประสงค์ให้มีอะไรเป็นเครื่องผูกพัน จึงขอความเห็นใจมาพร้อมนี้ด้วย ขอความเป็นสิริมงคลที่โลกปรารถนา จงเกิดมีแด่ท่านผู้อ่านผู้ฟังและท่านผู้ปฏิบัติตามทั้งหลายโดยทั่วกัน
ต่อไปนี้จะเริ่มเขียนปฏิปทาเครื่องดำเนิน คือ ข้อปฏิบัติของพระกรรมฐานที่ท่านพระอาจารย์มั่นพาดำเนินมา เพื่อท่านผู้อ่านได้ทราบไว้บ้างพอเป็นแนวทาง โดยคิดว่าท่านพุทธศาสนิกชน พระเณรทั้งหลายที่มีความสนใจใคร่ธรรมและข้อปฏิบัติประจำนิสัย อาจมีความสนใจอยากทราบอยู่มาก จึงได้พยายามรวบรวมมาลงไว้เท่าที่สามารถ ผิดถูกประการใด หวังว่าคงได้รับอภัยจากท่านผู้อ่านตามเคย คราวนี้ก็ส่งมาลงทาง “ศรีสัปดาห์” ตามเคย โดยขอร้องให้ทางโรงพิมพ์ช่วยลงให้เป็นตอน ๆ ไปดังที่เคยทำมา และได้เรียนกำชับขอให้ลงพอประมาณ เกรงจะเขียนส่งมาไม่ทัน ดังที่เคยเรียนเกี่ยวกับประวัติท่านพระอาจารย์มาแล้ว การส่งมา ขอความกรุณาทาง “ศรีสัปดาห์” ให้ช่วยลงให้นั้น เป็นอุบายช่วยบังคับตัวเองซึ่งมีนิสัยขี้เกียจไปในตัว เพื่อเรื่องที่เขียนจะได้สำเร็จไปด้วยดี ไม่มีข้อแก้ตัวว่ายุ่งนั้นยุ่งนี้แล้วหยุดไปเสีย ซึ่งอาจทำให้งานที่กำลังทำเสียไป ตามปกติหนังสือศรีสัปดาห์เคยออกทุกวันศุกร์ จึงพอมีทางว่าการเขียนจะมีความรู้สึกตัวพยายามทำให้ทันกับกำหนดวันเวลาที่หนังสือจะออก เรื่องที่เขียนก็พลอยมีหวังจะสำเร็จได้ จึงได้ส่งและขอร้องทางศรีสัปดาห์ให้ช่วยลงให้จนกว่าเรื่องจะยุติลง ซึ่งทางศรีสัปดาห์ก็ยินดีให้เป็นไปตามความประสงค์ทุกประการ
คำว่า “กรรมฐาน” เป็นศัพท์พิเศษและเป็นบทธรรมพิเศษที่วงพระธุดงค์ท่านปฏิบัติกันมา แต่องค์ของกรรมฐานแท้นั้นมีอยู่กับทุกคน ทั้งหญิงทั้งชาย ทั้งนักบวชและฆราวาส ได้แก่ เกศา โลมา เป็นต้น บางท่านอาจยังไม่เข้าใจในคำว่า กรรมฐาน หรือพระธุดงคกรรมฐาน ว่าเป็นอย่างไรบ้าง แต่จะเขียนเฉพาะข้อปฏิบัติแห่งธุดงคกรรมฐานสายของท่านพระอาจารย์มั่น นอกจากนี้ผู้เขียนไม่ค่อยสันทัดจัดเจนนักว่าท่านปฏิบัติกันอย่างไรบ้าง เป็นเพียงเห็น ๆ ผ่านๆ ไปบ้างเท่านั้น ไม่ค่อยมีโอกาสได้สนใจใกล้ชิดนัก เฉพาะสายของท่านอาจารย์มั่นพาดำเนินมานั้น พอเข้าใจบ้างตามที่เคยได้เห็นได้ยินและปฏิบัติมา แต่ก่อนจะเขียนเรื่องนี้ จึงขออธิบายคำว่ากรรมฐานอันเป็นทางดำเนินของท่านพอเป็นแนวทางเล็กน้อย เพื่อเข้ารูปกันกับปฏิปทาที่จะเขียนต่อไป
คำว่า กรรมฐาน นี้ เป็นคำชินปากชินใจของชาวพุทธเรามานาน เมื่อถือเอาใจความ ก็แปลว่า ที่ตั้งแห่งการงาน แต่งานในที่นี้เป็นงานสำคัญ และหมายถึงงานรื้อภพรื้อชาติรื้อกิเลสตัณหา รื้อถอนอวิชชาทั้งมวลออกจากใจ เพื่อไกลทุกข์ คือความเกิดแก่เจ็บตาย อันเป็นสะพานเกี่ยวโยงของวัฏวนที่สัตว์โลกข้ามพ้นได้โดยยาก มากกว่าจะมีความหมายไปทางอื่นแบบงานของโลกที่ทำกัน ส่วนผลที่พึงได้รับแม้ยังไม่ถึงจุดหมายปลายทาง ก็ทำให้ผู้บำเพ็ญมีความสุขในปัจจุบันและภพชาติต่อไป ฉะนั้นพระที่สนใจปฏิบัติธรรมเหล่านี้ จึงมักมีนามว่าพระธุดงคกรรมฐานเสมอ อันเป็นคำชมเชยให้เกียรติท่านผู้มุ่งต่องานนี้ด้วยใจจริงจากพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
กรรมฐาน ที่เป็นธรรมจำเป็นมาแต่พุทธกาลที่พระอุปัชฌาย์มอบให้แต่เริ่มบรรพชาอุปสมบท มี ๕ อาการด้วยกันโดยสังเขป คือ เกศาได้แก่ผม โลมาได้แก่ขน นขาได้แก่เล็บ ทันตาได้แก่ฟัน ตโจได้แก่หนัง โดยอนุโลมปฏิโลม เพื่อกุลบุตรผู้บวชแล้วได้ยึดเป็นเครื่องมือบำเพ็ญพิจารณาถอยหน้าถอยหลังซ้ำซากไปมา จนมีความชำนิชำนาญและแยบคายในอาการหนึ่ง ๆ หรือทั้งห้าอาการ อันเป็นชิ้นส่วนสำคัญของร่างกายชายหญิงทั่วๆ ไป แต่คำว่ากรรมฐานอันเป็นอารมณ์ของจิตนั้นมีมาก ท่านกล่าวไว้ถึง ๔๐ อาการ ซึ่งมีในตำราโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว ท่านผู้ประสงค์อยากทราบกรรมฐานใดก็ค้นหาดูได้โดยสะดวก บรรดากรรมฐานที่ท่านกล่าวไว้มากมายนั้น ข้อใหญ่ใจความก็เพื่อท่านผู้สนใจใคร่ต่อการปฏิบัติซึ่งมีจริตนิสัยต่าง ๆ กัน จะได้เลือกปฏิบัติเอาตามใจชอบที่เห็นว่าถูกกับจริตของตน ๆ เช่นเดียวกับโรคมีชนิดต่าง ๆ กัน ที่ควรแก่ยาขนานต่าง ๆ กันฉะนั้น
ชีวประวัติ
นักพากย์
ท่านพระอาจารย์
ประเภทไฟล์
Audio
(สารบัญ)
วันที่วางขาย
23 พฤษภาคม 2566
ความยาว
17 ชั่วโมง 40นาที
ราคาปก
ฟรี
เวอร์ชันอีบุ๊ก
นอกจากหนังสือเสียงแล้ว หนังสือเล่มนี้ยังมีวางขายที่ MEB ในรูปแบบอีบุ๊กปกติด้วย หากสนใจสามารถเลือกซื้อได้เลยจ้ะ
เวอร์ชันอีบุ๊ก
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
คุณสามารถ
เข้าสู่ระบบ
เพื่อแสดงความคิดเห็นได้จ้า
รีวิวทั้งหมด