Icon Close

ความคิดทางการเมืองไทย เล่มที่ 2

ความคิดทางการเมืองไทย เล่มที่ 2
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
1 Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
04 มิถุนายน 2566
ความยาว
313 หน้า
ราคาปก
299 บาท (ประหยัด 40%)
ความคิดทางการเมืองไทย เล่มที่ 2
ความคิดทางการเมืองไทย เล่มที่ 2
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
1 Rating
หนังสือเรื่อง ความคิดทางการเมืองไทย เล่มที่ 2 เล่มนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอมโนทัศน์หลักและกรอบการวิเคราะห์ความคิดทางการเมืองไทย ในแต่ละช่วงเวลาของประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย

หนังสือเล่มนี้มีสาระแบ่งออกเป็น 3 บท ประกอบด้วย

บทที่ 1 การแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย ผู้เขียนนำเสนอผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับการที่สหรัฐอเมริการับรองและไม่รับรองการแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย บทบาทการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลคณะรัฐประหาร การแทรกแซงทางการเมืองช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ การแทรกแซงทางการเมืองทำให้เศรษฐกิจและประชาธิปไตยแตกหัก การเข้าแทรกแซงชั่วคราวในฐานะกรรมการ ไม่ใช่คู่ขัดแย้ง รัฐประหารเพราะทางตันหรือไม่ยอมรับทางออก เป้าหมายการรัฐประหารเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและการเมือง

รวมถึงนำเสนอผลการวิเคราะห์มโนทัศน์เกี่ยวกับข้ออ้างในการแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย การเมืองข้ออ้างของคณะรัฐประหาร อัตมโนทัศน์ของหัวหน้าคณะรัฐประหาร ความคิดทางการเมืองของประชาชนและชนชั้นนำ ข้อสังเกตเกี่ยวกับข้ออ้างในการแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย และการสังเคราะห์ความคิดทางการเมืองว่าด้วยการแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย

บทที่ 2 ประชาธิปไตยไทยนิยม ผู้เขียนนำเสนอผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับมโนทัศน์ประชาธิปไตยไทยนิยมและคำที่มีความหมายเหมือนกัน บริบทความหมายของประชาธิปไตยไทยนิยม ความหมายของประชาธิปไตยไทยนิยมและคำที่มีความหมายเหมือนกัน

ข้อสังเกตจากความหมายของประชาธิปไตยไทยนิยม กำเนิดความคิดทางการเมืองในแบบประชาธิปไตยไทยนิยม แนวคิดและพัฒนาการความคิดทางการเมืองในแบบประชาธิปไตยไทยนิยม ภาคปฏิบัติของประชาธิปไตยไทยนิยม อำนาจวุฒิสภาเหนือกว่าสภาผู้แทนราษฎรตามวิถีประชาธิปไตยไทยนิยม

รวมถึงนำเสนอผลการวิเคราะห์มโนทัศน์เกี่ยวกับระบบพรรคการเมืองและระบบการเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตยไทยนิยม การเมืองการยุบพรรคการเมืองตามวิถีประชาธิปไตยไทยนิยม พฤติกรรมการเลือกตั้งและการจัดการเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตยไทยนิยม และการสังเคราะห์ความคิดทางการเมืองไทยว่าด้วยประชาธิปไตยไทยนิยม

บทที่ 3 นายกรัฐมนตรีคนนอก ผู้เขียนนำเสนอผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาของไทย มโนทัศน์เกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีคนนอกของไทย

นายกรัฐมนตรีคนนอกในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย นายกรัฐมนตรีคนนอกของคณะปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ของคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ของคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2519 และจากคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2520 นายกรัฐมนตรีคนนอกของคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2534 และจากคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีคนนอกของคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2549 นายกรัฐมนตรีคนนอกจากคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2557

นายกรัฐมนตรีคนนอกในอุดมคติของชนชั้นนำ กระบวนการได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองของนายกรัฐมนตรีคนนอก นายกรัฐมนตรีคนนอกตามวิถีประชาธิปไตยไทยนิยม การใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีคนนอก

รวมถึงนำเสนอผลการวิเคราะห์มโนทัศน์เกี่ยวกับการสืบทอดอำนาจของนายกรัฐมนตรีคนนอก นายกรัฐมนตรีคนนอกสมัยรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา และการสังเคราะห์ความคิดทางการเมืองว่าด้วยนายกรัฐมนตรีคนนอก

หนังสือเล่มนี้มีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นความคิดทางการเมืองไทย ซึ่งผู้เขียนได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม

ในการนี้จึงขออวยพรให้ผู้อ่านทุกคนมีความสุขและมีชีวิตที่ดีที่สุดต่อไป

ไพรวัลย์ เคนพรม
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
04 มิถุนายน 2566
ความยาว
313 หน้า
ราคาปก
299 บาท (ประหยัด 40%)
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
หนังสือเล่มนี้เปิดให้แสดงความคิดเห็นได้เฉพาะผู้ที่มีหนังสือฉบับเต็มเท่านั้น