Icon Close

พื้นฐานความคิดทางการเมืองไทย เล่มที่ 1

พื้นฐานความคิดทางการเมืองไทย เล่มที่ 1
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
1 Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
06 มิถุนายน 2566
ความยาว
679 หน้า
ราคาปก
299 บาท (ประหยัด 40%)
พื้นฐานความคิดทางการเมืองไทย เล่มที่ 1
พื้นฐานความคิดทางการเมืองไทย เล่มที่ 1
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
1 Rating
หนังสือเรื่อง พื้นฐานความคิดทางการเมืองไทย เล่มที่ 1 เล่มนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอมโนทัศน์หลักและกรอบการวิเคราะห์ความคิดทางการเมืองไทย เพื่อให้ผู้อ่านได้ใช้เป็นรากฐานสำคัญในการวิเคราะห์ความคิดทางการเมืองไทยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยในการสถาปนาประชาธิปไตยไทยสากลและประชาธิปไตยไทยนิยมในแต่ละช่วงเวลาของประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย

โดยหนังสือเล่มนี้เป็นการประมวลองค์ความรู้มโนทัศน์พื้นฐานและการวิเคราะห์รายละเอียดย่อยเกี่ยวกับความคิดทางการเมืองไทยไว้อย่างละเอียดตามสมควร ซึ่งในส่วนของการวิเคราะห์รายละเอียดย่อยมากกว่านี้ของแต่ละความคิดทางการเมืองไทยนั้น ผู้เขียนได้เขียนแยกไว้อย่างละเอียดในเล่มอื่นเป็นการเฉพาะแล้ว

ส่วนใหญ่ที่มาของความคิดทางการเมืองเกิดจากการที่รัฐหล่อหลอมกล่อมเกลาทางการเมืองผ่านสถาบันทางสังคมที่มีอยู่มากมายโดยที่ผู้คนที่ตกอยู่ในสังคมอาจจะมีทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัวว่ารัฐได้หยิบยื่นหล่อหลอมให้ประชาชนมีความคิดทางการเมืองหนึ่งๆ ขึ้นมาเพื่อเป้าหมายบางอย่างของรัฐ

โดยความคิดทางการเมืองเกิดขึ้นทั้งจากการพัฒนาขึ้นมาด้วยตนเองและสิ่งแวดล้อมทางสังคมการเมืองได้หล่อหลอมให้เกิดการพัฒนาความคิดทางการเมืองขึ้นมา

ในสังคมการเมืองหนึ่งๆ ในแต่ละช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ย่อมมีกระแสของความคิดทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นกระแสหลักและมีความคิดทางการเมืองอื่นๆ เป็นกระแสรอง ซึ่งแต่ละกระแสความคิดก็อาจมีการต่อสู้คะคานกันก็ได้

แม้ว่าความคิดทางการเมืองกระแสหลักจะกดทับความคิดทางการเมืองบางอย่างตามที่ผู้มีอำนาจทางการเมืองที่ครอบงำสังคมการเมืองนั้นได้เลือกความคิดทางการเมืองขึ้นมา แล้วใช้กลไกและเครื่องมือรัฐกล่อมเกลาทางการเมืองให้เป็นกระแสหลักของประชาชน

ผู้คนในสังคมการเมืองแต่ละคนย่อมมีความคิดทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอโดยเป็นการยอมรับและเชื่อถือในความคิดทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่งภายใต้บริบทของอุดมการณ์การทางการเมืองอย่างหนึ่งโดยมีรากฐานปรัชญาการเมืองรองรับ แม้ว่าบุคคลบางคนอาจไม่รู้ตัวก็เป็นไปได้

ส่วนความคิดทางการเมืองจะหลากหลายเปิดกว้างสำหรับความคิดทางการเมืองหรือไม่ เป็นอีกประเด็นต้องพิจารณา ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าสังคมนั้นปกครองในระบอบใด

หนังสือเล่มนี้มีสาระแบ่งออกเป็น 6 บท ประกอบด้วย

บทที่ 1 ความคิดทางการเมืองและสังคม ผู้เขียนนำเสนอผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับความหมายของความคิดทางการเมือง ความคิดและการเมือง ที่มาของความคิดทางการเมือง ความคิดทางการเมือง ทฤษฎีการเมือง และปรัชญาการเมือง ระบบการเมือง ระบอบการปกครอง รูปแบบการปกครอง และชนิดของการปกครอง

รวมถึงนำเสนอผลการวิเคราะห์มโนทัศน์เกี่ยวกับความคิดทางการเมืองในอุดมการณ์ทางการเมืองและลัทธิทางการเมือง ความคิดทางการเมืองไทยในรัฐโบราณและรัฐสมัยใหม่ และการสังเคราะห์ความคิดทางการเมืองว่าด้วยความคิดทางการเมืองและสังคมไทย

บทที่ 2 พื้นฐานความคิดทางการเมืองในการปฏิวัติสยาม ผู้เขียนนำเสนอผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับพัฒนาการประวัติความคิดทางการเมืองสู่ระบอบใหม่ ความคิดทางการเมืองของฝ่ายคณะเจ้า

นอกจากนี้ยังนำเสนอผลการวิเคราะห์มโนทัศน์เกี่ยวกับความคิดทางการเมืองว่าด้วยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจสูงสุดเป็นของพระมหากษัตริย์ เทวราชา ธรรมราชา การรัฐประหารเงียบ การรัฐประหารของคณะราษฎร กบฏบวรเดช คณะ ร.ศ. 103 คณะ ร.ศ. 130 คณะราษฎร กษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงกระทำผิดมิได้

รวมถึงนำเสนอผลการวิเคราะห์มโนทัศน์เกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยของคณะราษฎร พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ อำนาจคือธรรม ประชาธิปไตยไทยนิยม ความคิดทางการเมืองในประกาศคณะราษฎรฉบับแรกและรัฐธรรมนูญสยามฉบับแรก รัฐธรรมนูญฉบับถาวร รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแต่ใช้คำว่า รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญสยามฉบับแรก ความคิดทางการเมืองในเค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ และการสังเคราะห์ความคิดทางการเมืองว่าด้วยความคิดทางการเมืองในการปฏิวัติสยาม

บทที่ 3 แนวคิดการแทรกแซงทางการเมืองของทหาร ผู้เขียนนำเสนอผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับมโนทัศน์การปฏิวัติ การรัฐประหาร การกบฏ การแทรกแซงทางการเมืองของทหาร การปฏิวัติ การรัฐประหาร กบฏ ธรรมชาติของการแทรกแซงทางการเมืองของทหาร ทฤษฎีการแทรกแซงทางการเมืองของทหาร ทฤษฎีรัฐบาลพลเรือนมีอำนาจเหนือองค์กรทหาร การรัฐประหารที่มีความชอบธรรมทางการเมือง

รวมถึงนำเสนอผลการวิเคราะห์มโนทัศน์เกี่ยวกับตัวแบบป้องกันการแทรกแซงทางการเมืองของทหารที่ประกอบด้วยวัฒนธรรมประชาธิปไตย ความเป็นพลเมือง ความเป็นประชาธิปไตย กลุ่มผลประโยชน์หลากหลาย ความเป็นสถาบันทางการเมือง และความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือนและทหารแบบประชาธิปไตย อีกทั้งยังมีการสังเคราะห์ความคิดทางการเมืองว่าด้วยความคิดการแทรกแซงทางการเมืองของทหาร

บทที่ 4 การแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย ผู้เขียนนำเสนอผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับการที่สหรัฐอเมริการับรองและไม่รับรองการแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย บทบาทการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลคณะรัฐประหาร การแทรกแซงทางการเมืองช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ การแทรกแซงทางการเมืองทำให้เศรษฐกิจและประชาธิปไตยแตกหัก การเข้าแทรกแซงชั่วคราวในฐานะกรรมการ ไม่ใช่คู่ขัดแย้ง รัฐประหารเพราะทางตันหรือไม่ยอมรับทางออก เป้าหมายการรัฐประหารเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและการเมือง

รวมถึงนำเสนอผลการวิเคราะห์มโนทัศน์เกี่ยวกับข้ออ้างในการแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย การเมืองข้ออ้างของคณะรัฐประหาร อัตมโนทัศน์ของหัวหน้าคณะรัฐประหาร ความคิดทางการเมืองของประชาชนและชนชั้นนำ ข้อสังเกตเกี่ยวกับข้ออ้างในการแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย และการสังเคราะห์ความคิดทางการเมืองว่าด้วยการแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย

บทที่ 5 ประชาธิปไตยไทยนิยม ผู้เขียนนำเสนอผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับมโนทัศน์ประชาธิปไตยไทยนิยมและคำที่มีความหมายเหมือนกัน บริบทความหมายของประชาธิปไตยไทยนิยม ความหมายของประชาธิปไตยไทยนิยมและคำที่มีความหมายเหมือนกัน

ข้อสังเกตจากความหมายของประชาธิปไตยไทยนิยม กำเนิดความคิดทางการเมืองในแบบประชาธิปไตยไทยนิยม แนวคิดและพัฒนาการความคิดทางการเมืองในแบบประชาธิปไตยไทยนิยม ภาคปฏิบัติของประชาธิปไตยไทยนิยม อำนาจวุฒิสภาเหนือกว่าสภาผู้แทนราษฎรตามวิถีประชาธิปไตยไทยนิยม

รวมถึงนำเสนอผลการวิเคราะห์มโนทัศน์เกี่ยวกับระบบพรรคการเมืองและระบบการเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตยไทยนิยม การเมืองการยุบพรรคการเมืองตามวิถีประชาธิปไตยไทยนิยม พฤติกรรมการเลือกตั้งและการจัดการเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตยไทยนิยม และการสังเคราะห์ความคิดทางการเมืองไทยว่าด้วยประชาธิปไตยไทยนิยม

บทที่ 6 นายกรัฐมนตรีคนนอก ผู้เขียนนำเสนอผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาของไทย มโนทัศน์เกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีคนนอกของไทย

นายกรัฐมนตรีคนนอกในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย นายกรัฐมนตรีคนนอกของคณะปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ของคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ของคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2519 และจากคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2520 นายกรัฐมนตรีคนนอกของคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2534 และจากคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีคนนอกของคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2549 นายกรัฐมนตรีคนนอกจากคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2557

นายกรัฐมนตรีคนนอกในอุดมคติของชนชั้นนำ กระบวนการได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองของนายกรัฐมนตรีคนนอก นายกรัฐมนตรีคนนอกตามวิถีประชาธิปไตยไทยนิยม การใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีคนนอก

รวมถึงนำเสนอผลการวิเคราะห์มโนทัศน์เกี่ยวกับการสืบทอดอำนาจของนายกรัฐมนตรีคนนอก นายกรัฐมนตรีคนนอกสมัยรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา และการสังเคราะห์ความคิดทางการเมืองว่าด้วยนายกรัฐมนตรีคนนอก

หนังสือเล่มนี้มีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นความคิดทางการเมืองไทย ซึ่งผู้เขียนได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม

ในการนี้จึงขออวยพรให้ผู้อ่านทุกคนมีความสุขและมีชีวิตที่ดีที่สุดต่อไป

ไพรวัลย์ เคนพรม
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
06 มิถุนายน 2566
ความยาว
679 หน้า
ราคาปก
299 บาท (ประหยัด 40%)
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
หนังสือเล่มนี้เปิดให้แสดงความคิดเห็นได้เฉพาะผู้ที่มีหนังสือฉบับเต็มเท่านั้น