Icon Close

พื้นฐานความคิดทางการเมืองไทย เล่มที่ 2

พื้นฐานความคิดทางการเมืองไทย เล่มที่ 2
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
1 Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
07 มิถุนายน 2566
ความยาว
705 หน้า
ราคาปก
299 บาท (ประหยัด 40%)
พื้นฐานความคิดทางการเมืองไทย เล่มที่ 2
พื้นฐานความคิดทางการเมืองไทย เล่มที่ 2
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
1 Rating
หนังสือเรื่อง พื้นฐานความคิดทางการเมืองไทย เล่มที่ 2 เล่มนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอมโนทัศน์หลักและกรอบการวิเคราะห์ความคิดทางการเมืองไทย เพื่อให้ผู้อ่านได้ใช้เป็นรากฐานสำคัญในการวิเคราะห์ความคิดทางการเมืองไทยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยในการสถาปนาประชาธิปไตยไทยสากลและประชาธิปไตยไทยนิยมในแต่ละช่วงเวลาของประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย

หนังสือเล่มนี้เป็นการประมวลองค์ความรู้มโนทัศน์พื้นฐานและการวิเคราะห์รายละเอียดย่อยเกี่ยวกับความคิดทางการเมืองไทยไว้อย่างละเอียดตามสมควร ซึ่งในส่วนของการวิเคราะห์รายละเอียดย่อยมากกว่านี้ของแต่ละความคิดทางการเมืองไทยนั้น ผู้เขียนได้เขียนแยกไว้อย่างละเอียดในเล่มอื่นเป็นการเฉพาะแล้ว

ส่วนใหญ่ที่มาของความคิดทางการเมืองเกิดจากการที่รัฐหล่อหลอมกล่อมเกลาทางการเมืองผ่านสถาบันทางสังคมที่มีอยู่มากมายโดยที่ผู้คนที่ตกอยู่ในสังคมอาจจะมีทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัวว่ารัฐได้หยิบยื่นหล่อหลอมให้ประชาชนมีความคิดทางการเมืองหนึ่งๆ ขึ้นมาเพื่อเป้าหมายบางอย่างของรัฐ

จะเห็นได้ว่า ความคิดทางการเมืองของผู้คนมีการเกิดขึ้นทั้งจากการพัฒนาขึ้นมาด้วยตนเองและสิ่งแวดล้อมทางสังคมการเมืองได้หล่อหลอมให้เกิดการพัฒนาความคิดทางการเมืองขึ้นมา

ในสังคมการเมืองหนึ่งๆ ในแต่ละช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ย่อมมีกระแสของความคิดทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นกระแสหลักและมีความคิดทางการเมืองอื่นๆ เป็นกระแสรอง ซึ่งแต่ละกระแสความคิดก็อาจมีการต่อสู้คะคานกันก็ได้ แม้ว่าความคิดทางการเมืองกระแสหลักจะกดทับความคิดทางการเมืองบางอย่างตามที่ผู้มีอำนาจทางการเมืองที่ครอบงำสังคมการเมืองนั้นได้เลือกความคิดทางการเมืองขึ้นมา แล้วใช้กลไกและเครื่องรัฐกล่อมเกลาทางการเมืองให้เป็นกระแสหลักของประชาชน

หนังสือเล่มนี้มีสาระแบ่งออกเป็น 5 บท ประกอบด้วย

บทที่ 1 การยึดโยงกับประชาชนของนายกรัฐมนตรี ผู้เขียนนำเสนอผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับความสำคัญของการยึดโยงกับประชาชนของนายกรัฐมนตรี การเมืองการเลือกตั้งของพรรคการเมืองไทยและการแย่งชิงการนำในการจัดตั้งรัฐบาล

การเสนอชื่อบุคคลให้เป็นนายกรัฐมนตรี การประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อแบบฉบับคณะกรรมการการเลือกตั้ง พฤติกรรมการเบี่ยงเบนจากกระบวนการทำให้ได้สัดส่วนระหว่างคะแนนเสียงที่ได้รับกับที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร

รวมถึงนำเสนอผลการวิเคราะห์มโนทัศน์เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างระบบการเลือกตั้งระบบจัดสรรปันส่วนผสมของเยอรมนีและไทย ข้อเสนอในการแก้ไขระบบการเลือกตั้งระบบจัดสรรปันส่วนผสมของไทย และการสังเคราะห์ความคิดทางการเมืองว่าด้วยการยึดโยงกับประชาชนของนายกรัฐมนตรี

บทที่ 2 การสร้างความเป็นสถาบันของพรรคการเมืองไทย ผู้เขียนนำเสนอผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับแนวโน้มการพัฒนาพรรคการเมืองไทยภายใต้ประชาธิปไตยไทยนิยม ที่ได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองขนาดกลางและพรรคการเมืองขนาดเล็ก

ความพยายามเปลี่ยนระบบพรรคเดียวครอบงำให้เป็นระบบหลายพรรค การเมืองภายใต้ประชาธิปไตยไทยนิยม การเมืองการยุบพรรคประชาชนปฏิรูปรวมเข้ากับพรรคพลังประชารัฐ การยุบพรรคประชาชนปฏิรูปรวมเข้ากับพรรคพลังประชารัฐ นักการเมืองงูเห่าในพรรคการเมืองไทยภายใต้ประชาธิปไตยไทยนิยม

ความเป็นสถาบันของพรรคการเมืองขนาดกลางภายใต้ประชาธิปไตยไทยนิยม ความเป็นสถาบันทางการเมืองของ
พรรคการเมืองต่างๆ อาทิ พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรคอนาคตใหม่ พรรคก้าวไกล พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย

รวมถึงนำเสนอผลการวิเคราะห์มโนทัศน์เกี่ยวกับระบบพรรคการเมืองไทยและความคิดทางการเมืองว่าด้วยอำนาจคือธรรม อำนาจต่อรองตำแหน่งโควตารัฐมนตรีของพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทย ผลกระทบจากการเปลี่ยนขั้วการเมืองโดยเข้าร่วมรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทย ความเป็นสถาบันของพรรคการเมืองขนาดเล็กภายใต้ประชาธิปไตยไทยนิยม และการสังเคราะห์ความคิดทางการเมืองว่าด้วยการสร้างความเป็นสถาบันของพรรค การเมืองไทย

บทที่ 3 ความคิดทางการเมืองของกลุ่มคนหนุ่มสาว ผู้เขียนนำเสนอผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับพัฒนาการความคิดทางการเมืองในการเมืองการปกครองไทย กลุ่มหลากหลายในการเมืองการปกครองไทย ความคิดทางการเมืองสมัยก่อนและหลังการปฏิรูปการเมือง ข้อเรียกร้องในการเคลื่อนไหวทางสังคมการเมือง ความคิดทางการเมืองที่มีวัตถุประสงค์ต่างๆ อาทิ เพื่อฟื้นฟูประชาธิปไตยสากล เพื่อประชาธิปไตยไทยนิยม เพื่อฟื้นฟูประชาธิปไตยไทยนิยม

รวมถึงนำเสนอผลการวิเคราะห์มโนทัศน์เกี่ยวกับการเมืองในประเด็นต่างๆ ของกลุ่มคนหนุ่มสาว อาทิ การเมืองการปกครองไทย สถาบันทางการเมือง กระบวนการทางการเมือง การสร้างความเป็นสถาบันทางการเมือง ภาคปฏิบัติของการสร้างความเป็นสถาบันทางการเมือง และการสังเคราะห์ความคิดทางการเมืองไทยว่าด้วยความคิดทางการเมืองของกลุ่มคนหนุ่มสาว

บทที่ 4 การสถาปนาประชาธิปไตยไทย ผู้เขียนนำเสนอผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับการสถาปนาประชาธิปไตยสยามแบบคณะราษฎร จุดเริ่มต้นพัฒนาการความคิดทางการเมืองในแบบประชาธิปไตยไทยนิยม

การต่อรองประนีประนอมระหว่างคณะราษฎรกับคณะเจ้า ระบอบการเมืองการปกครองของคณะราษฎรและคณะเจ้า การสถาปนาประชาธิปไตยสยามสมัยรัฐบาล ป. พิบูลสงคราม สมัยแรก การแตกหักของประชาธิปไตยสยามแบบคณะราษฎร การสถาปนาประชาธิปไตยไทยนิยมผ่านกลไกต่างๆ อาทิ อำนาจกฎหมายพิเศษ อำนาจรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา

รวมถึงนำเสนอผลการวิเคราะห์มโนทัศน์เกี่ยวกับการสถาปนาประชาธิปไตยไทยสมัยก่อนและหลังการปฏิรูปการเมือง การสถาปนาประชาธิปไตยไทยนิยมสมัยก่อนและหลังการปฏิรูปการเมือง และการสังเคราะห์ความคิดทางการเมืองไทยว่าด้วยการสถาปนาประชาธิปไตยไทย

บทที่ 5 ประชาธิปไตยไทยภูมิภาคนิยมเปรียบเทียบ ผู้เขียนนำเสนอผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับประชาธิปไตยไทยภูมิภาคนิยมเปรียบเทียบ ทั้งความคิดทางการเมืองไทยอีสาน ไทยเหนือ ไทยใต้ ไทยกลาง ไทยตะวันออก และไทยตะวันตก

โดยเป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบเกี่ยวกับความคิดทางการเมือง อาทิ ประชาธิปไตยไทยในอุดมคติ ภาพจำเรื่องการเมืองว่าด้วยกลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง และการเลือกตั้ง

รวมถึงนำเสนอผลการวิเคราะห์มโนทัศน์เกี่ยวกับพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในประชาธิปไตยไทย ภูมิทัศน์การเมืองกับการสถาปนาประชาธิปไตยไทย แนวโน้มการสถาปนาประชาธิปไตยไทย และการสังเคราะห์ความคิดทางการเมืองไทยว่าด้วยประชาธิปไตยไทยภูมิภาคนิยมเปรียบเทียบ

หนังสือเล่มนี้มีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นความคิดทางการเมืองไทย ซึ่งผู้เขียนได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม

ในการนี้จึงขออวยพรให้ผู้อ่านทุกคนมีความสุขและมีชีวิตที่ดีที่สุดต่อไป

ไพรวัลย์ เคนพรม
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
07 มิถุนายน 2566
ความยาว
705 หน้า
ราคาปก
299 บาท (ประหยัด 40%)
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
หนังสือเล่มนี้เปิดให้แสดงความคิดเห็นได้เฉพาะผู้ที่มีหนังสือฉบับเต็มเท่านั้น