ล็อกอินเข้าระบบ
เข้าระบบผ่าน Social Network
เข้าสู่ระบบด้วย Facebook
เข้าสู่ระบบด้วย Line
เข้าสู่ระบบด้วย Apple
เข้าสู่ระบบด้วย Google
หรือ เข้าระบบด้วยบัญชี meb
จำ Password ไม่ได้
จำ Username ไม่ได้
หากยังไม่สมัครบัญชี meb โปรด
สมัครสมาชิก
สมัครสมาชิก MEB Account
กรุณาใส่ข้อมูลที่มีเครื่องหมาย * ให้ครบถ้วน
Username
*
ต้องมีไม่ต่ำกว่า 4 ตัวอักษร และยาวไม่เกิน 32 ตัวอักษร และใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ a ถึง z, A ถึง Z หรือเครื่องหมาย _-@.
Password
*
ระบุอย่างน้อย 8 ตัว
Retype Password
*
E-mail
*
Display name
*
Phone
ระบุเฉพาะตัวเลข
First Name
Last Name
Gender
Not specified
Male
Female
ส่งข้อมูล
ล็อกอินเข้าระบบ The1
สำหรับผู้ที่มีบัญชี meb อยู่แล้ว
ครอปรูปภาพ
ล็อกอินเข้าระบบ / สมัครสมาชิก
ล็อกอินเข้าระบบ
ตะกร้า
จัดการอีบุ๊กที่วางขาย
จัดการอีบุ๊ก
อีบุ๊กทั้งหมด
เมนู
อีบุ๊กทั้งหมด
นิยายทั้งหมด
นิยายแปล
การ์ตูนทั้งหมด
อีบุ๊กทั่วไป
หนังสือเด็ก
หนังสือเรียน
หนังสือเสียง
บุฟเฟต์
หมวดหมู่ทั้งหมด
สำนักพิมพ์
เลือกหมวดหมู่ย่อย
ค้นหาสำนักพิมพ์
หน้าแรก
ขายดี
มาใหม่
โปรโมชัน
ฟรีกระจาย
ฮิตขึ้นหิ้ง
แนะนำ
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนดำเนินรายการด้วยค่ะ
ล็อกอินเข้าระบบ
กรุณายืนยันบัตรประชาชนก่อนดำเนินรายการด้วยค่ะ
ไปยืนยันบัตรประชาชน
ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลบัตรประชาชน
กรุณาดำเนินการใหม่อีกครั้งในภายหลังค่ะ
ขออภัยค่ะไม่สามารถเข้าชมได้
เนื่องจากเนื้อหาเหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
นิตยสาร Creative Thailand ปีที่ 6 ฉบับที่ 6
โดย
TCDC
สำนักพิมพ์
TCDC - ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบฯ
หมวดหมู่
นิตยสารความรู้
ฟรี
No Rating
ติดตาม
นักเขียน
TCDC
สำนักพิมพ์
TCDC - ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบฯ
หมวดหมู่
นิตยสารความรู้
แชร์
Facebook
Twitter
LINE
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
24 เมษายน 2558
ความยาว
36 หน้า
ราคาปก
ฟรี
นิตยสาร Creative Thailand ปีที่ 6 ฉบับที่ 6
โดย
TCDC
TCDC - ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบฯ
นิตยสารความรู้
ฟรี
No Rating
ติดตาม
นักเขียน
TCDC
สำนักพิมพ์
TCDC - ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบฯ
หมวดหมู่
นิตยสารความรู้
แชร์
Facebook
Twitter
LINE
Have a Seat
เมื่อปี 2006 กลางจัตุรัสทราฟัลการ์ใจกลางกรุงลอนดอน ถูกเติมเต็มพื้นที่ด้วยเก้าอี้รูปทรงแปลกตา 500 ตัว มันดึงดูดสายตาและความเคลื่อนไหวของผู้คนในทันที เกิดเป็นหัวข้อสนทนา การรวมตัวกัน ดื่มกาแฟ พูดคุย และกิจกรรมต่างๆ บนเก้าอี้กลางจัตุรัสนั้น ที่จริงแล้ว เก้าอี้ทั้งหมดเป็นผลงานของทอม ดิกสัน (Tom Dixon) ที่ออกแบบเก้าอี้ “CU29” เพื่อเป็นแลนด์มาร์กของเทศกาลลอนดอน ดีไซน์ เฟสติวัล
นอกจากความตั้งใจให้เกิดการจดจำและสร้างจุดสนใจแล้ว เก้าอี้ยังถูกออกแบบไว้เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ ให้ผู้คนนำกลับไปได้ด้วย การเลือกวัสดุพอลิสไตรีน (Polystyrene) น้ำหนักเบา ทำให้ภาพผู้คนยกเก้าอี้ตัวใหญ่เดินออกจากจัตุรัสเป็นภาพที่น่าสนใจ และอีก 4 ปีต่อมา ที่ด้านหน้าของเซาธ์แบงก์ เซ็นเตอร์ สแควร์ ศิลปินอย่างโธมัส เฮเธอร์วิก (Thomas Heatherwick) นำผลงานเก้าอี้ “Spun” วางจัดแสดงและให้ทุกคนได้ลองนั่ง ด้วยรูปทรงน่าฉงน ทำให้การนั่งบนเก้าอี้กลายเป็นเรื่องน่าสนุกไม่ว่าจะเป็นสำหรับเด็ก วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ เมื่อทุกคนต่างออกแบบอิริยาบถต่างๆ ที่จะท้าทายการนั่งบนเก้าอี้ตัวนี้
ถ้าเก้าอี้ตอบโจทย์เพียงแค่การนั่งสำหรับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น ทำงาน กินข้าว เรียนหนังสือ หรือพักผ่อน เราคงไม่เห็นเก้าอี้ที่ต่างกันนับหมื่นแบบ และในบางสังคม คนเรานั่ง นอน และกิน โดยไม่จำเป็นต้องใช้เก้าอี้ด้วยซ้ำไป เช่น เด็กเฝ้าแกะของชนเผ่ามาไซที่ยืนเฝ้าแกะโดยขาข้างเดียวและพักผ่อนโดยไม่ต้องนั่งลง สังคมไทยก่อนยุครัชกาลที่ 4 เราก็ไม่ได้มีวัฒนธรรมการนั่งเก้าอี้ หรือแม้กระทั่งในอินเดียก่อนยุคอาณานิคมอังกฤษ ก็มีเรื่องที่แสดงถึงความไม่เข้าใจระหว่างสองสังคมเกี่ยวกับการนั่งเก้าอี้ เมื่ออังกฤษได้เข้ามาควบคุมการผลิตใบชาของชาวอินเดีย และเห็นว่าการเลือกและเด็ดใบชาของชาวอินเดียที่นั่งบนพื้นแสดงถึงความไม่เป็นอารยชน ความสะอาด และประสิทธิภาพในการทำงาน จึงได้สร้างระบบการคัดเลือกใบชาใหม่ด้วยการออกแบบโต๊ะขนาดยาวและเก้าอี้ เพื่อให้แรงงานนั่งทำงานได้โดยสะดวก แต่เมื่อชาวอังกฤษกลับมาตรวจโรงงานอีกครั้งก็พบว่า แรงงานอินเดียได้ขึ้นไปนั่งเด็ดใบชาบนโต๊ะที่เตรียมไว้กันถ้วนหน้า
เก้าอี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านทางวัฒนธรรมของสังคม เป็นผลงานความคิดสร้างสรรค์ที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นสิ่งที่แสดงความเชื่อมโยงในหลายมิติ ทั้งผู้ออกแบบกับผู้ใช้งาน สติปัญญากับอารมณ์ ความงามกับวิทยาศาสตร์ ช่างฝีมือกับเทคโนโลยี การจัดหมวดหมู่กับการเชิดชูให้โดดเด่น ในทางอุตสาหกรรมการผลิตเก้าอี้ยังสะท้อนถึงความเป็นไปของสภาพเศรษฐกิจในแต่ละยุค ไม่ว่าจะเป็นยุคหลังสงครามโลก ยุคการผลิตแบบมวลหมู่ หรือยุคปัจจุบันที่ผู้คนมีความเหลื่อมล้ำทางสถานะและมีรสนิยมที่หลากหลาย เก้าอี้จึงถูกผลิตและออกแบบมาเพื่อความต้องการที่ไม่รู้จบ ไม่ว่าจะใช้มันด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตามที
ในความต้องการของตลาดที่เปิดกว้าง น่าสนใจว่าความสามารถในการผลิตของไทยได้มีที่นั่งอยู่ในแถวของผู้ผลิตเก้าอี้หรือไม่ เมื่อปีที่แล้ว อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไทยส่งออกได้กว่า 40,000 ล้านบาท โดยมีตลาดสำคัญคือ ญี่ปุ่น อาเซียน สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราที่ผลิตตามแบบของผู้สั่งซื้อ และเรายังมีข้อได้เปรียบจีนในเรื่องคุณภาพการผลิต บวกกับเงื่อนไขที่ว่าญี่ปุ่นมีข้อพิพาทกับจีน ทำให้ไทยยังคงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า แต่สิ่งที่น่าขบคิดก็คือ ถ้าอนาคตจีนมีความสามารถด้านคุณภาพการผลิตสูงขึ้น และญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับจีน เมื่อความได้เปรียบของเราไม่ได้ขึ้นกับความพิเศษจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์ จึงเป็นคำถามที่เราอาจต้องพิจารณาว่า เราจะตกที่นั่งใดในอนาคตข้างหน้า
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
24 เมษายน 2558
ความยาว
36 หน้า
ราคาปก
ฟรี
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
คุณสามารถ
เข้าสู่ระบบ
เพื่อแสดงความคิดเห็นได้จ้า
รีวิวทั้งหมด