ล็อกอินเข้าระบบ
เข้าระบบผ่าน Social Network
เข้าสู่ระบบด้วย Facebook
เข้าสู่ระบบด้วย Line
เข้าสู่ระบบด้วย Apple
เข้าสู่ระบบด้วย Google
หรือ เข้าระบบด้วยบัญชี meb
จำ Password ไม่ได้
จำ Username ไม่ได้
หากยังไม่สมัครบัญชี meb โปรด
สมัครสมาชิก
สมัครสมาชิก MEB Account
กรุณาใส่ข้อมูลที่มีเครื่องหมาย * ให้ครบถ้วน
Username
*
ต้องมีไม่ต่ำกว่า 4 ตัวอักษร และยาวไม่เกิน 32 ตัวอักษร และใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ a ถึง z, A ถึง Z หรือเครื่องหมาย _-@.
Password
*
ระบุอย่างน้อย 8 ตัว
Retype Password
*
E-mail
*
Display name
*
Phone
ระบุเฉพาะตัวเลข
First Name
Last Name
Gender
Not specified
Male
Female
ส่งข้อมูล
ล็อกอินเข้าระบบ The1
สำหรับผู้ที่มีบัญชี meb อยู่แล้ว
ครอปรูปภาพ
ล็อกอินเข้าระบบ / สมัครสมาชิก
ล็อกอินเข้าระบบ
ตะกร้า
จัดการอีบุ๊กที่วางขาย
จัดการอีบุ๊ก
อีบุ๊กทั้งหมด
เมนู
อีบุ๊กทั้งหมด
นิยายทั้งหมด
นิยายแปล
การ์ตูนทั้งหมด
อีบุ๊กทั่วไป
หนังสือเด็ก
หนังสือเรียน
หนังสือเสียง
บุฟเฟต์
หมวดหมู่ทั้งหมด
สำนักพิมพ์
เลือกหมวดหมู่ย่อย
ค้นหาสำนักพิมพ์
หน้าแรก
ขายดี
มาใหม่
โปรโมชัน
ฟรีกระจาย
ฮิตขึ้นหิ้ง
แนะนำ
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนดำเนินรายการด้วยค่ะ
ล็อกอินเข้าระบบ
กรุณายืนยันบัตรประชาชนก่อนดำเนินรายการด้วยค่ะ
ไปยืนยันบัตรประชาชน
ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลบัตรประชาชน
กรุณาดำเนินการใหม่อีกครั้งในภายหลังค่ะ
ขออภัยค่ะไม่สามารถเข้าชมได้
เนื่องจากเนื้อหาเหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
คุณสามารถให้กำลังใจนักเขียนได้ โดยให้ทิปเพิ่มจากราคาปกติ
ราชาธิราช ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
โดย
เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
สำนักพิมพ์
สำนักพิมพ์ล้มลุกบุ๊ค
หมวดหมู่
วรรณกรรมคลาสสิก/วรรณคดีไทย
ทดลองอ่าน
ซื้อ 329 บาท
No Rating
อยากได้
ซื้อเป็นของขวัญ
ติดตาม
นักเขียน
เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
สำนักพิมพ์
สำนักพิมพ์ล้มลุกบุ๊ค
หมวดหมู่
วรรณกรรมคลาสสิก/วรรณคดีไทย
แชร์
Facebook
Twitter
LINE
ประเภทไฟล์
pdf, epub
(สารบัญ)
วันที่วางขาย
18 กรกฎาคม 2566
ความยาว
500 หน้า (≈ 183,119 คำ)
ราคาปก
329 บาท
ราชาธิราช ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
โดย
เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
สำนักพิมพ์ล้มลุกบุ๊ค
วรรณกรรมคลาสสิก/วรรณคดีไทย
ทดลองอ่าน
ซื้อ 329 บาท
No Rating
อยากได้
ซื้อเป็นของขวัญ
ติดตาม
นักเขียน
เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
สำนักพิมพ์
สำนักพิมพ์ล้มลุกบุ๊ค
หมวดหมู่
วรรณกรรมคลาสสิก/วรรณคดีไทย
แชร์
Facebook
Twitter
LINE
เรื่องย่อ
ราชาธิราชเป็นวรรณคดีร้อยแก้วประเภทนิยายพงศาวดาร เมื่อ
จ.ศ. ๑๑๔๗ (พ.ศ.๒๓๒๘) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) พระยาอินทรอัคคราช พระภิรมรัศมี และพระศรีภูริปรีชา แปลและเรียบเรียงเรื่องราวของ
พระเจ้าราชาธิราชซึ่งปรากฏอยู่ในพงศาวดารมอญให้เป็นภาษาไทย เนื้อหาเรื่องราชาธิราชแบ่งเป็น ๓ ภาค คือ
ภาค ๑ พระเจ้าฟ้ารั่ว
ภาค ๒ พระเจ้าราชาธิราช
ภาค ๓ พระเจ้าหงสาวดีมหาปิฎกธรา
ภาคแรก
พระเจ้าฟ้ารั่ว เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงการสร้างเมืองเมาะตะมะตั้งแต่สมัยพุทธกาล พระมหากษัตริย์พุกามพระองค์หนึ่งชื่อพระเจ้าอลังคจอสูได้มาสร้างเมืองเมาะตะมะขึ้น ณ ป่าแห่งนั้นตามพุทธทำนาย พระเจ้าอลังคจอสูทรงให้อลิมามางเป็นเจ้าเมือง ฝ่ายสมณเทวบุตรได้จุติลงมาเป็นชาวเกาะวาน แขวงเมืองเมาะตะมะ ชื่อว่ามะกะโท เมื่ออายุได้ ๑๕ ปี มะกะโทได้คุมบริวารมาค้าขายที่เมืองสุโขทัย ระหว่างเดินทางเกิดนิมิตแก่มะกะโทว่าจะได้เป็นใหญ่ในภายหน้า มะกะโทจึงมาฝากตัวอยู่กับนายช้างเมืองสุโขทัย ต่อมาเมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้ทรงประจักษ์ถึงสติปัญญาของมะกะโทจึงทรงชุบเลี้ยงจนได้เป็นขุนวัง มะกะโทได้ลอบรักกับนางเทพสุดาสร้อยดาวพระราชธิดาของสมเด็จพระร่วงเจ้าแล้วเกรงความผิดจึงพาพระราชธิดาหนีกลับไปเมืองวาน ผู้คนเห็นว่ามะกะโทมีวาสนาบารมีจึงพากันมาสมัครเป็นพวกพ้อง มะกะโท
คิดการจะเป็นใหญ่จึงยกน้องสาวคือ นางอุ่นเรือนให้เป็นภรรยาของอลิมามาง ต่อมามะกะโทมีบริวารมากขึ้น อลิมามางเกิดระแวงจึงคิดอุบายฆ่า แต่
มะกะโทซ้อนกลจนสามารถฆ่า อลิมามางได้ มะกะโทจึงได้เป็นเจ้าเมือง
เมาะตะมะและได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระร่วงเจ้าว่า “พระเจ้าฟ้ารั่ว” เป็นปฐมกษัตริย์แห่งเมืองเมาะตะมะ
พระเจ้าฟ้ารั่วได้ครองราชย์และสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่เมือง
เมาะตะมะ ภายหลังเมื่อสวรรคตแล้วมีกษัตริย์ครองราชย์สืบต่อมาอีกหลายพระองค์จนถึงสมัยของพระเจ้ารามไตย
ภาคสอง
พระเจ้าราชาธิราช พระเจ้ารามไตยมีโอรสธิดา ๓ พระองค์ พระราชธิดาองค์แรกสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ชนมายุยังน้อย พระราชธิดาองค์กลางทรงพระนามว่าวิหารเทวี แต่คนทั่วไปเรียกว่า พระมหาเทวี โอรสองค์สุดท้องชื่อมุนะซึ่งต่อมาได้ครองราชย์ทรงพระนามว่าพระเจ้าอู่หรือเรียกอีกพระนามว่า
พระเจ้าช้างเผือก พระเจ้าช้างเผือกมีโอรสธิดา ๔ พระองค์ซึ่งมีบทบาทสำคัญในเรื่องราชาธิราช คือ โอรสองค์แรกที่มีพระนามว่ามังสุระมณีจักร หรือ
พระยาน้อย โอรสอีกพระองค์มีพระนามว่า พ่อขุนเมือง ส่วนพระธิดา ๒ พระองค์ของพระเจ้าช้างเผือกนั้นมีพระนามว่าตะละแม่ท้าวและตะละแม่ศรี โอรสและธิดาของพระเจ้าช้างเผือกนั้นล้วนประสูติจากต่างมารดาทั้งสิ้น พระยาน้อยนั้นกำพร้ามารดา พระมหาเทวีจึงทรงเลี้ยงดูตั้งแต่เด็กจนเจริญวัย
พระยาน้อยได้ลอบรักกับตะละแม่ท้าวน้องสาวต่างมารดา จนมีโอรสชื่อ
พ่อลาวแก่นท้าว ส่วนตะละแม่ศรีนั้นพระเจ้าช้างเผือกได้ให้อภิเษกกับ
สมิงมราหู เพื่อตอบแทนที่บิดาของสมิงมราหูอาสาศึกจนตัวตาย
พระเจ้าช้างเผือกไม่โปรดพระยาน้อยและไม่ประสงค์จะให้ราชสมบัติ เพราะทรงเห็นว่า “มีใจฉกรรจ์ ไม่ศรัทธาในพระศาสนา” หวังจะให้พ่อขุนเมืองได้ครองราชสมบัติต่อ แต่ต่อมาพ่อขุนเมืองสิ้นพระชนม์ก่อน พระยาน้อยจึงเป็นโอรสที่จะต้องครองราชย์สืบต่อ
ต่อมาพระมหาเทวีได้ลอบเป็นชู้กับสมิงมราหูจึงคิดการจะฆ่าพระยาน้อยเพื่อให้สมิงมราหูได้ราชสมบัติ พระยาน้อยรู้ตัวจึงหนี ทิ้งตะละแม่ท้าวและพ่อลาวแก่นท้าวไว้ที่เมืองพะโค เมื่อมีผู้ทำนายว่าจะได้เป็นพระมหากษัตริย์ พระยาน้อยก็ซ่องสุมหาคนมีฝีมือเป็นพวก ได้พ่อมอญและมังกันจีเป็นคู่คิดและพากันไปตั้งตัวที่เมืองตะเกิง เมื่ออยู่ที่เมืองตะเกิงนั้นได้นางเม้ยมะนิกแม่ค้าแป้งน้ำมันเป็นชายา ต่อมาเมื่อพระเจ้าช้างเผือกเสด็จสวรรคต พระยาน้อยสู้รบกับพระมหาเทวีและสมิงมราหูได้ชัยชนะขึ้นครองราชย์
ทำพิธีราชาภิเษก ทรงพระนามว่าพระเจ้าสีหราชาธิราช ทรงครองราชย์และเปลี่ยนชื่อเมืองพะโคเป็นเมืองหงสาวดี ทรงปูนบำเหน็จขุนทหารทั้งหลายเป็นอันมาก นายทหารคู่ใจคือพ่อมอญและมังกันจี ได้ปูนบำเหน็จเป็น
สมิงพ่อเพชรและราชมนูตามลำดับ
เมื่อพระเจ้าราชาธิราชได้ครองราชสมบัติแล้วได้ทรงปราบเจ้าเมืองต่าง ๆ ที่แข็งเมือง ทรงได้นายทหารที่มีฝีมือมาเป็นพวกพ้องเป็นอันมาก มีทหารคนหนึ่งที่เข้ามาสวามิภักดิ์คือมะสะลุมซึ่งต่อมาได้ยศเป็นสมิงนครอินทร์ พระเจ้าราชาธิราชทรงปกครองบ้านเมืองได้อย่างสงบเรียบร้อย จนถึงศักราช ๗๕๓ จึงเกิดสงครามกับพม่าขึ้นในสมัยพระเจ้าฝรั่งมังศรีฉวา
สงครามระหว่างมอญกับพม่าในสมัยพระเจ้าฝรั่งมังศรีฉวานั้น เริ่มต้นด้วยพระเจ้าฝรั่งมังศรีฉวาซึ่งครองราชสมบัติ ณ กรุงอังวะ ได้ทราบข่าวว่าพระเจ้าช้างเผือกสิ้นพระชนม์ พระเจ้าราชาธิราชได้ครองราชสมบัติต่อ พระเจ้าฝรั่งมังศรีฉวาทรงคิดจะปราบปรามมอญเสียก่อนที่จะมีกำลังแข็งกล้าจึงทรงยกทัพมาตีมอญที่เมืองหงสาวดี พระเจ้าราชาธิราชทรงยกทัพออกไปต้านศึกไว้ การสู้รบในครั้งนั้นทัพของพระเจ้าฝรั่งมังศรีฉวาพ่ายแพ้ ฝ่ายมอญเมื่อเห็นว่าพม่าพ่ายแพ้ก็ส่งราชทูตไปเยาะเย้ยจนในที่สุดพระเจ้า
ฝรั่งมังศรีฉวาตรอมพระทัยสวรรคตเมื่อพระเจ้าฝรั่งมังศรีฉวาสวรรคต
มังสุเหนียดพระโอรสได้ครองราชย์ต่อมาทรงพระนามเมื่อราชาภิเษกแล้วว่าพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องหรือเรียกอีกพระนามคือพระเจ้ามณเฑียรทอง มังศรีธาตุพระราชอนุชาคิดชิงราชสมบัติแต่พ่ายแพ้แก่พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง จึงหนีไปสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าราชาธิราช ณ กรุงหงสาวดี พระเจ้าราชาธิราชทรงเห็นเป็นโอกาสจึงยกทัพไปตีเมืองอังวะ พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องยังไม่พร้อมทำศึกจึงทรงให้พระสังฆราชภังคยะสะกะโรไปขอหย่าทัพ พระเจ้าราชาธิราชจึงทรง
ยกทัพกลับเมืองหงสาวดี
ฝ่ายพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องเมื่อพระเจ้าราชาธิราชทรงยกทัพกลับไปแล้วทรงคิดการทำสงครามตอบแทน โดยปราบหัวเมืองที่เป็นเสี้ยนหนามแผ่นดินให้ราบคาบก่อน แล้วจึงส่งสารขอให้เมืองเชียงใหม่ยกมาช่วยตีกระหนาบในการทำสงครามกับมอญ แต่ทหารฝ่ายมอญจับคนเดินสารได้ ทางเมืองเชียงใหม่ไม่ได้สารจากพม่าจึงไม่ได้ยกทัพมาตามแผนของพม่า ฝ่ายเจ้าเมืองที่ถูกพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องปราบปรามได้เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าราชาธิราช พระเจ้าราชาธิราชจึงทรงถือโอกาสนั้นยกทัพไปตีหัวเมืองเหล่านั้นคืน อีกทั้งจับตัวมังกำมุนีและตะละเจ้าเปฟ้า พระราชบุตรเขยและพระราชธิดาของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องซึ่งอยู่รักษาเมืองตะแคงไป พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องทรงรอไม่เห็นเมืองเชียงใหม่ยกทัพมาช่วยการศึกก็ทรงจัดทัพให้เหล่าทหารลงมาตีเมืองหงสาวดี ฝ่ายมอญมีกำลังน้อยกว่าแต่ก็ได้ยกทัพออกมาสู้รบเป็น
ปีต่อมาพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องทรงยกทัพมาตีกรุงหงสาวดีอีกครั้ง ครั้งนี้ นางมังคละเทวีพระอัครมเหสีได้ตามเสด็จด้วย พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องแพ้ต้อง
ล่าทัพกลับไป ขณะเดินทางกลับช้างทรงของนางมังคละเทวีเตลิดเข้าป่าไป นางมังคละเทวีได้ทหารชื่อฉางกายช่วยไว้ พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องทรงระแวงว่าฉางกายเป็นชู้กับนางมังคละเทวีจึงทรงสั่งประหารชีวิตฉางกาย
พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องทรงยกทัพมาตีกรุงหงสาวดีหลายครั้ง แต่ไม่ว่า
ยกทัพมาตีโดยตรงหรือใช้วิธีตีหัวเมืองรายทางก็ไม่สามารถเอาชนะฝ่ายมอญได้ สุดท้ายจึงทรงเจรจาหย่าศึก สงครามระหว่างมอญและพม่าจึงสงบลงเป็นเวลาหลายปี
สงครามระหว่างมอญกับพม่าเริ่มต้นอีกครั้งเมื่อโอรสของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องคือมังรายกะยอฉวาซึ่งเกลียดชังมอญได้ก่อเหตุสงครามขึ้น
มังรายกะยอฉวานั้นในชาติก่อนคือพ่อลาวแก่นท้าวโอรสของพระเจ้าราชาธิราชอันประสูติจากตะละแม่ท้าว พ่อลาวแก่นท้าวถูกประหารชีวิตเนื่องจากพระเจ้าราชาธิราชทรงเห็นว่ากระด้างกระเดื่อง พ่อลาวแก่นท้าว
ถือพยาบาทจึงอธิษฐานขอเกิดใหม่เป็นโอรสของพระเจ้ากรุงอังวะเพื่อจะมาทำสงครามกับมอญ เมื่อถือกำเนิดใหม่ได้ชื่อว่ามังรายกะยอฉวา มังรายกะยอฉวาถือเหตุที่ประชาชนมอญและพม่าที่อาศัยตามชายแดนได้วิวาทแย่งชิงน้ำมันดินกันก่อสงครามใหญ่ ในการสงครามมังรายกะยอฉวาไม่อาจเอาชนะมอญ แต่ก็สามารถจับตัวสมิงนครอินทร์ สมิงพระรามและช้างพลายประกายมาศได้ แต่ภายหลังมังรายกะยอฉวาก็ถูกฝ่ายมอญจับและถูกทำพิธีปฐมกรรม หลังจากนั้นสงครามมอญพม่าก็ซาลง
ต่อมา จ.ศ. ๗๘๕ พระเจ้ากรุงต้าฉิง เจ้าเมืองจีนได้ยกกองทัพมาทำสงครามกับพม่า โดยท้าให้พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องส่งนายทหารออกไปประลองฝีมือกับกามะนีนายทหารเอกของพระเจ้ากรุงต้าฉิง สมิงพระรามซึ่งถูกจองจำอยู่ในคุกจึงอาสาศึก สมิงพระรามสามารถสังหารกามะนีในสนามประลอง พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องจึงพระราชทานพระธิดาแก่สมิงพระรามและทรงแต่งตั้งสมิงพระรามเป็นอุปราช แต่ท้ายที่สุดสมิงพระรามก็หนีกลับไปยังกรุงหงสาวดี สงครามมอญพม่าในยุคพระเจ้าราชาธิราชกับพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องได้ยุติลง ตราบจนพระเจ้าราชาธิราชและพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องเสด็จสวรรคต
ภาคสาม
เริ่มต้นในสมัยของพระเจ้าแมงแรฉะวากีกษัตริย์พม่าและตะละนางพระยาท้าวกษัตริย์มอญ พระเจ้าแมงแรฉวากีได้ให้ทหารยกทัพมาซุ่มจับตะละนางพระยาท้าวเมื่อคราวเสด็จไปนมัสการพระเกศธาตุ ณ เมือง
ตะเกิง แล้วทรงตั้งตะละนางพระยาไว้ที่พระอัครมเหสี ขนานพระนามว่า
แสจาโป ต่อมาพระนางแสจาโปหนีกลับกรุงหงสาวดีได้ด้วยความช่วยเหลือของสามเณรปิฎกธร เมื่อกลับถึงกรุงหงสาวดีพระนางจึงทรงมอบราชสมบัติแก่พระปิฎกธร พระเจ้าหงสาวดีมหาปิฎกธรทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถมากทรงได้รับการสรรเสริญจากพระมหากษัตริย์แว่นแคว้นต่างๆ เพราะกษัตริย์พระองค์ใดมาทดสอบพระสติปัญญาก็ทรงชนะได้ด้วยปัญญาเสมอ จึงทรงได้รับพระนามต่าง ๆ ว่า ปัญญาราชบ้าง พระมหาราชาธิบดีบ้าง พระราชาธิบดีบ้าง ในสมัยที่พระเจ้าหงสาวดีมหาปิฎกธรทรงครองราชย์นี้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขตราบนั้นมา
หนังสือแปล
คลาสสิก
ประเภทไฟล์
pdf, epub
(สารบัญ)
วันที่วางขาย
18 กรกฎาคม 2566
ความยาว
500 หน้า (≈ 183,119 คำ)
ราคาปก
329 บาท
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
คุณสามารถ
เข้าสู่ระบบ
เพื่อแสดงความคิดเห็นได้จ้า
รีวิวทั้งหมด