ล็อกอินเข้าระบบ
เข้าระบบผ่าน Social Network
เข้าสู่ระบบด้วย Facebook
เข้าสู่ระบบด้วย Line
เข้าสู่ระบบด้วย Apple
เข้าสู่ระบบด้วย Google
หรือ เข้าระบบด้วยบัญชี meb
จำ Password ไม่ได้
จำ Username ไม่ได้
หากยังไม่สมัครบัญชี meb โปรด
สมัครสมาชิก
สมัครสมาชิก MEB Account
กรุณาใส่ข้อมูลที่มีเครื่องหมาย * ให้ครบถ้วน
Username
*
ต้องมีไม่ต่ำกว่า 4 ตัวอักษร และยาวไม่เกิน 32 ตัวอักษร และใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ a ถึง z, A ถึง Z หรือเครื่องหมาย _-@.
Password
*
ระบุอย่างน้อย 8 ตัว
Retype Password
*
E-mail
*
Display name
*
Phone
ระบุเฉพาะตัวเลข
First Name
Last Name
Gender
Not specified
Male
Female
ส่งข้อมูล
ล็อกอินเข้าระบบ The1
สำหรับผู้ที่มีบัญชี meb อยู่แล้ว
ครอปรูปภาพ
ล็อกอินเข้าระบบ / สมัครสมาชิก
ล็อกอินเข้าระบบ
ตะกร้า
จัดการอีบุ๊กที่วางขาย
จัดการอีบุ๊ก
อีบุ๊กทั้งหมด
เมนู
อีบุ๊กทั้งหมด
นิยายทั้งหมด
นิยายแปล
การ์ตูนทั้งหมด
อีบุ๊กทั่วไป
หนังสือเด็ก
หนังสือเรียน
หนังสือเสียง
บุฟเฟต์
หมวดหมู่ทั้งหมด
สำนักพิมพ์
เลือกหมวดหมู่ย่อย
ค้นหาสำนักพิมพ์
หน้าแรก
ขายดี
มาใหม่
โปรโมชัน
ฟรีกระจาย
ฮิตขึ้นหิ้ง
แนะนำ
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนดำเนินรายการด้วยค่ะ
ล็อกอินเข้าระบบ
กรุณายืนยันบัตรประชาชนก่อนดำเนินรายการด้วยค่ะ
ไปยืนยันบัตรประชาชน
ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลบัตรประชาชน
กรุณาดำเนินการใหม่อีกครั้งในภายหลังค่ะ
ขออภัยค่ะไม่สามารถเข้าชมได้
เนื่องจากเนื้อหาเหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
คุณสามารถให้กำลังใจนักเขียนได้ โดยให้ทิปเพิ่มจากราคาปกติ
ตำราทางยกทัพ สำรวจคราวเตรียมรบพม่า ในรัชกาลที่ 2
โดย
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช
สำนักพิมพ์
สำนักพิมพ์ล้มลุกบุ๊ค
หมวดหมู่
ประวัติศาสตร์
ทดลองอ่าน
ซื้อ 99 บาท
No Rating
อยากได้
ซื้อเป็นของขวัญ
ติดตาม
นักเขียน
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช
สำนักพิมพ์
สำนักพิมพ์ล้มลุกบุ๊ค
หมวดหมู่
ประวัติศาสตร์
แชร์
Facebook
Twitter
LINE
ประเภทไฟล์
pdf, epub
(สารบัญ)
วันที่วางขาย
16 สิงหาคม 2566
ความยาว
41 หน้า (≈ 5,870 คำ)
ราคาปก
99 บาท
ตำราทางยกทัพ สำรวจคราวเตรียมรบพม่า ในรัชกาลที่ 2
โดย
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช
สำนักพิมพ์ล้มลุกบุ๊ค
ประวัติศาสตร์
ทดลองอ่าน
ซื้อ 99 บาท
No Rating
อยากได้
ซื้อเป็นของขวัญ
ติดตาม
นักเขียน
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช
สำนักพิมพ์
สำนักพิมพ์ล้มลุกบุ๊ค
หมวดหมู่
ประวัติศาสตร์
แชร์
Facebook
Twitter
LINE
คำอธิบายตำราทางยกทัพ
ตำราทางยกทัพที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ มีเนื้อความปรากฎในต้นฉบับ ประกอบกับหนังสือพระราชพงศาวดารว่า รวบรวมในรัชกาลที่ ๒ คราวเตรียมจะรบกับพม่าเมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๖๓
เรื่องมุลเหตุที่เกิดเตรียมการสงครามคราวนี้ในหนังสือพงศาวดารทั้ง ๒ ฝ่ายยุติต้องกันว่า เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๖๒
พระเจ้าปะดุง ซึ่งได้ทำสงครามขับเคี่ยวมากับไทยในรัชกาลที่ ๑ นั้น สิ้นพระชนม์ จักกายแมงราชนัดดาได้รับรัชทายาท แลเมื่อพระเจ้าจักกายแมงขึ้นครองราชสมบัติ ไพร่บ้านพลเมืองไม่เปนปรกติ พระเจ้าจักกายแมงเกรงจะเกิดขบถขึ้นในแผ่นดินพม่า พอถึงปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๖๓ ได้ข่าวออกไปถึงเมืองอังวะว่า ที่ในเมืองไทยเกิดไข้อหิวาตะกะโรค ผู้คนล้มตายระส่ำระสายมาก พระเจ้าจักกายแมงเห็นเปนโอกาศจึงคิดจะยกกองทัพมาตีเมืองไทย ให้ราษฎรเห็นว่าเข้มแขงในการศึกสงครามเหมือนเช่นพระเจ้าปะดุงผู้เปนไอยกา แลครั้งนั้นประจวบเวลาเจ้าพระยาไทรปะแงรันเกิดวิวาทกับตนกูสนูน้องชาย ซึ่งเปนที่พระยาอภัยนุราชเจ้าเมืองสตูล เจ้าพระยานคร (น้อย) เข้ากับพระยาอภัยนุราช เจ้าพระยาไทรปะแงรันจึงเอาใจออกหากไปเข้ากับพม่า รับว่าถ้าพม่ายกกองทัพมาตีเมืองไทยเมื่อใด เจ้าพระยาไทร ฯ จะยกกองทัพตีขึ้นมาทางเมืองนครอิกทาง ๑ พระเจ้าจักกายแมงเห็นได้ที จึงให้เกณฑ์คนในหัวเมืองพม่า ตลอดจนเมืองแปรแลหัวเมืองมอญข้างฝ่ายใต้ ให้หวุ่นคยีมหาเสนาบดีเปนแม่ทัพใหญ่ หวุ่นคยีนรทาเปนปลัดทัพ มาตั้งประชุมพลแลรวบรวมเสบียงอาหารที่เมืองเมาะตมะ อย่างเคยเตรียมทัพที่ยกมาตีเมืองไทยครั้งก่อน ๆ
ในขณะนั้น กองมอญอาทมาตข้างฝ่ายไทยออกไปตระเวนด่านตามเคย พวกกองอาทมาตเข้าไปถึงเมืองเร้ ซึ่งเปนหัวเมืองมอญ อยู่ข้างเหนือเมืองทวาย พบพม่าที่ถือท้องตราลงมาเกณฑ์คนเข้ากองทัพ จึงจับตัวแลได้ท้องตราพม่าเข้ามาส่งยังกรุงเทพ ฯ เมื่อเดือน ๑๑ ปีมะโรงโทศกนั้น พระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย จึงโปรด ฯ ให้เกณฑ์กองทัพ ๕ ทัพ แต่จำนวนพลเท่าใดหาปรากฎไม่ กองทัพที่ ๑ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ คือพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เปนแม่ทัพยกไปตั้งอยู่ตำบลปากแพรกที่ตั้งเมืองกาญจนบุรีบัดนี้ คอยต่อสู้กองทัพพม่าที่จะยกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ทัพ ๑ กองทัพที่ ๒ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพ คือกรมพระราชวังบวร ฯ ในรัชกาลที่ ๓ ยกไปตั้งอยู่ที่เมืองเพ็ชรบุรี คอยต่อสู้กองทัพพม่า ที่จะยกเข้ามาทางด่านสิงขรทัพ ๑ กองทัพที่ ๓ เปน กองทัพน้อย ให้เจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์เปนแม่ทัพ ตั้งอยู่ที่เมืองราชบุรี คอยต่อสู้กองทัพพม่าที่จะยกมาจากเมืองทวายทัพ ๑ กองทัพที่ ๔ เห็นจะเปนกองทัพน้อย ให้พระยากลาโหมราชเสนาไปตั้งรักษาเมืองกลางทัพ ๑ กองทัพที่ ๕ เตรียมไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช ให้เจ้าพระยานคร (น้อย) เวลานั้นยังเปนแต่พระยานคร ฯ เปนแม่ทัพ พระยาวิชิตณรงค์เปนปลัดทัพ พระพงศ์นรินทร์เปนยกรบัตรทัพ คอยต่อสู้ข้าศึกที่จะยกมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ทัพ ๑ เข้าใจว่ายังมีกองทัพที่ ๖ อิกทัพหนึ่ง ซึ่งมิได้ปรากฎในจดหมายเหตุ มีแต่เค้าเงื่อนในระยะทางยกทัพฝ่ายเหนือที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ ดูเหมือนเจ้านายจะเปนแม่ทัพ สันนิษฐานว่าเห็นจะเปน เจ้าสามกรมซึ่งเปนโอรสกรมพระราชวังหลัง คือกรมหมื่นนราเทเวศร์ กรมหมื่นนเรศร์โยธี กรมหมื่นเสนีบริรักษ์ พระองค์ใดพระองค์หนึ่งฤาทั้ง ๓ พระองค์ด้วยกัน ขึ้นไปตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านแคแขวงเมืองตาก จึงเรียกในระยะทางที่สำรวจว่าตำหนักบ้านแค กองทัพนี้คอยต่อสู้พม่าที่จะยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา แลช่วยรักษาเมืองเชียงใหม่เผื่อพม่าจะยกมาตีทางนั้นด้วย มีชื่อตำหนักมั่นอยู่ในระยะทางที่สำรวจอิกแห่งหนึ่ง อยู่ในชานเมืองเชียงใหม่ทีเดียว บางที่จะโปรดให้เจ้านายใน ๓ พระองค์นั้นขึ้นไปตั้งอยู่ที่เมืองเชียงใหม่พระองค์ ๑ ก็จะเปนได้
ในคราวเตรียมรบพม่าซึ่งกล่าวมานี้ ที่สำรวจระยะทางสำหรับยกกองทัพและส่งเสบียงอาหารถึงกัน ดังปรากฎอยู่ในสมุดเล่มนี้ แต่การที่เตรียมรบพม่าครั้งนั้นหาได้รบกันไม่ ได้ความปรากฏในพงศาวดารพม่าว่า แม่ทัพพม่าให้คนเข้ามาสอดแนม ได้ความว่ามีกองทัพไทยออกไปตั้งสกัดอยู่ เห็นว่าไทยรู้ตัวก็ไม่อาจยกเข้ามาเมื่อปีมะโรง เปนแต่ทั้งคุมเชิงกันอยู่ จนเข้ารดูฝนปีมะเสง พ.ศ. ๒๓๖๔ พ้นระดูที่จะเดินทัพแล้ว พระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย จึงโปรดให้กองทัพกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ กับกองทัพกรมหมื่นศักดิพลเสพกลับคืนเข้ามากรุงเทพ ฯ ให้เจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ คุมกองทัพตั้งรักษาอยู่ที่เมืองราชบุรีแห่งเดียว ครั้นกองทัพพระยากลาโหมราชเสนากลับเข้ามาจากเมืองถลาง โปรดให้พระยากลาโหมราชเสนา หนุนไปตั้งอยู่ที่เมืองราชบุรีอิกทัพ ๑ จนถึงระดูแล้ง ปลายปีมะเสง ทางเมืองพม่าพวกเมืองมณีบุระกำเริบขึ้นทางชายแดนข้างฝ่ายเหนือ พระเจ้าอังวะต้องถอนกองทัพที่เตรียมไว้ข้างใต้ขึ้นไปรบกับพวกเมืองมณีบุระ ฝ่ายกรุงเทพ ฯ สืบได้ความว่าพม่าเลิกทัพไปหมดแล้ว ก็เลิกการที่ได้ตระเตรียม เรื่องราวมีปรากฏดังได้แสดงมานี้.
ข้อควรรู้ เกี่ยวกับคำว่า “เส้น” (ผู้เรียบเรียง)
ในตำราเล่มนี้ ๑ เส้นยาวเท่ากับกี่กิโลเมตรกันแน่
ขออธิบายว่า
๑ เส้น = ๔๐ เมตร
๑๐๐ เส้น = ๔,๐๐๐ เมตร หรือ ๔ กิโลเมตร
หรือ ๑ เส้น = ๐.๐๔ กิโลเมตร
๑ เส้น เท่ากับ ๐.๐๔ กิโลเมตร
สูตรการแปลงเป็นกิโลเมตร
กิโลเมตร = เส้น × ๐.๐๔
สงคราม
ประวัติศาสตร์
ภูมิศาสตร์
ทหาร
ประเภทไฟล์
pdf, epub
(สารบัญ)
วันที่วางขาย
16 สิงหาคม 2566
ความยาว
41 หน้า (≈ 5,870 คำ)
ราคาปก
99 บาท
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
คุณสามารถ
เข้าสู่ระบบ
เพื่อแสดงความคิดเห็นได้จ้า
รีวิวทั้งหมด