Icon Close

ขุนช้างขุนแผน อมตะวรรณคดีรักสามเส้าต้นกรุงรัตนโกสินทร์

ขุนช้างขุนแผน อมตะวรรณคดีรักสามเส้าต้นกรุงรัตนโกสินทร์
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
No Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
08 ธันวาคม 2566
ความยาว
1855 หน้า
ราคาปก
429 บาท (ประหยัด 79%)
ขุนช้างขุนแผน อมตะวรรณคดีรักสามเส้าต้นกรุงรัตนโกสินทร์
เรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องจริงเกิดขึ้นในกรุงเก่า เนื้อความปรากฏจดไว้ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า นับเป็นเรื่องในพระราชพงศาวดาร มีอยู่ดังนี้ ว่า
"ในลำดับนั้นต่อไป พระราชบุตร พระราชนัดดา เชื้อพระราชวงศ์ของพระเจ้าอู่ทองรามาธิบดี ได้ครองราชย์สมบัติในกรุงเทพทวาราวดีเป็นลำดับไปหลายพระองค์ จนถึงพระเจ้าแผ่นดินองค์ 1 ทรงพระนามว่า พระพันวษา ภาษาพม่าเรียกว่าพระเจ้าวาตะถ่อง แปลว่าสำลีพันหนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้มีพระราชประวัติพิสดาร แต่กล่าวไว้โดยเอกเทศ พระองค์มีพระมเหสีทรงพระนามว่าสุริยวงษาเทวี มีพระราชโอรสองค์ 1 ด้วยพระมเหสี มีพระนามว่า พระบรมกุมาร"
"ครั้นอยู่มา พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตลานช้าง มุ่งหมายจะเป็นสัมพันธมิตรสนิทสนมกับกรุงเทพทวาราวดี จึงส่งพระราชธิดาองค์หนึ่งซึ่งมีพระรูปลักษณะงามเลิศ พึ่งเจริญพระชนม์ได้ 16 พรรษา พร้อมด้วยข้าหลวงสาวใช้ข้าทาสบริวาร กับเครื่องราชบรรณาการเป็นอันมาก มีราชทูตเชิญพระราชสาสน์ พร้อมด้วยเสนาอำมาตย์คุมโยธาทวยหาญ เชิญพระราชธิดามาถวายพระพันวษา ณ กรุงเทพทวาราวดี ครั้นมาถึงในกลางทาง ข่าวนี้รู้ขึ้นไปถึงนครเชียงใหม่ พระเจ้าโพธิสารราชกุมารผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดินนครเชียงใหม่ในเวลานั้น ไม่ชอบให้กรุงศรีสัตนาคนหุตลานช้างมาเป็นมิตรไมตรีกับกรุงเทพทวาราวดี อยากจะให้กรุงศรีสัตนาคนหุตไปเป็นสัมพันธมิตรสนิทกับนครเชียงใหม่ จึงคุมกองทัพลงมาซุ่มอยู่ ยกเข้าแย่งชิงพระราชธิดานั้นไปได้ ฝ่ายพวกพลกรุงศรีสัตนาคนหุตที่พ่ายแตกหนีก็รีบกลับไปทูลแจ้งเหตุแก่พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตลานช้างให้ทรงทราบทุกประการ"
"ครั้นประพฤติเหตุเช่นนี้ ทราบเข้ามาถึงพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระพันวษาก็ทรงพระพิโรธยิ่งนัก จึงตรัสแก่เสนาอำมาตย์ทั้งปวงว่า เจ้านครเชียงใหม่ดูหมิ่นเดชานุภาพของเรา เป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในยุติธรรม มาแย่งชิงนางผู้ที่เขาจำนงใจจะมาให้แก่เราดังนี้ก็ผิดต่อกรรมบถมนุษยวินัย จำจะยกขึ้นไปปราบปรามเจ้านครเชียงใหม่ให้ยำเกรงฝีมือทหารไทย ไม่ให้ประพฤติพาลทุจริตดูหมิ่นต่อเราสืบไป จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งให้เตรียมทัพ แลตรัสสั่งพระหมื่นศรีมหาดเล็กผู้เป็นขุนนางข้าหลวงเดิมคนสนิทไว้พระทัย ให้เลือกจัดหาทหารที่มีฝีมือกล้าศึกสงครามเข้ามาถวาย"
"พระหมื่นศรีจึงกราบทูลว่า ในทหารไทยในเวลานี้ ผู้ใดจะเป็นทหารเอกยอดดีไปกว่าขุนแผนนั้นไม่มี ด้วยขุนแผนเป็นผู้รู้เวทมนตร์เชี่ยวชาญ ใจกล้าหาญเป็นยอดเสนา และมีใจกตัญญูกตเวที รู้พระเดชพระคุณเจ้าหาตัวเปรียบได้ยาก บัดนี้ขุนแผนเป็นโทษต้องรับพระราชอาญาจำอยู่ ณ คุก ถ้าโปรดให้ขุนแผนเป็นทัพหน้ายกขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ในครั้งนี้คงจะมีชัยชนะโดยง่าย ไม่ต้องร้อนถึงทัพหลวงและทัพหลังเพียงปานใด สมเด็จพระพันวษาก็ทรงระลึกได้ถึงขุนแผน ด้วยทรงทราบว่าเป็นทหารมีฝีมือมาแต่ก่อน จึงทรงพระกรุณาโปรดให้ขุนแผนพ้นโทษ มีรับสั่งให้พระหมื่นศรีนำขุนแผนเข้ามาเฝ้าโดยเร็ว พระหมื่นศรีได้รับสั่งแล้วก็ไปบอกนครบาลให้ถอดขุนแผนจากเรือนจำ นำตัวเข้ามาหมอบเฝ้าถวายบังคมต่อหน้าพระที่นั่งในท้องพระโรง ในขณะนั้น สมเด็จพระพันวษาจึงมีพระราชโองการตรัสถามขุนแผนว่า เฮ้ยอ้ายขุนแผน เอ็งจะอาสากูยกขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ ปราบปรามเจ้าโยนกอันธพาลให้เห็นฝีมือทหารไทย รับนางคืนมาให้กูจะได้หรือมิได้ประการใด ขุนแผนจึงกราบบังคมทูลว่า ข้าพระบาทผู้เป็นข้าทหาร ชีวิตอยู่ในใต้ฝ่าพระบาทของพระองค์ผู้ทรงพระเดชพระคุณปกเกล้ามาแต่ปู่แลบิดา ข้าพระองค์ขอรับอาสาขึ้นไปตีนครเชียงใหม่ ปราบเจ้าโยนกให้กลัวเกรงพระเดชานุภาพของพระองค์ รับพระราชธิดาพระเจ้าลานช้างคืนมาถวายจงได้ ถ้าตีนครเชียงใหม่ไม่ได้แล้วขอถวายชีวิต สมเด็จพระพันวษาได้ทรงฟังขุนแผนกราบทูลรับอาสาแข็งแรงดังนั้นก็ดีพระทัยนัก จึงโปรดตั้งให้ขุนแผนเป็นแม่ทัพ ถืออาญาสิทธิ์คุมกองทัพทหารไทยยกขึ้นไปตีนครเชียงใหม่ ขุนแผนจึงกราบถวายบังคมลายกกองทัพขึ้นไปถึงเมืองพิจิตร จึงแวะเข้าหาพระพิจิตรเจ้าเมือง ขอให้ส่งดาบเวทวิเศษกับม้าวิเศษที่ฝากไว้แต่ก่อนคืนมาให้ จะไปใช้ในการรบศึก ดาบวิเศษของขุนแผนนั้น ในภายหลังต่อๆ มามีผู้เรียกว่า ดาบฟ้าฟื้น มีฤทธิเดชนัก ม้าวิเศษนั้นเรียกว่า ม้าสีหมอก ขับขี่เข้าสู่สงครามหลบหลีกข้าศึกได้คล่องแคล่วว่องไวนัก ขุนแผนได้ดาบเวทวิเศษและม้าวิเศษแล้วก็ลาเจ้าเมืองพิจิตรรีบยกขึ้นไปถึงแดนนครเชียงใหม่ ฝ่ายเจ้านครเชียงใหม่รู้ว่ากองทัพกรุงศรีอยุธยายกขึ้นมา จึงแต่งกองทัพให้ยกออกมาสู้รบต้านทาน ขุนแผนแม่ทัพก็ขับพลทหารไทยเข้าต่อตีพลลาวยวนเชียงใหม่โดยสามารถ กองทัพเชียงใหม่ก็แตกพ่ายแพ้หนีกลับเข้าเมือง จะปิดประตูลงเขื่อนก็ไม่ทัน ขุนแผนก็ยกติดตามรบรุกบุกบันเข้าเมืองได้ ไล่ฆ่าฟันพลลาวล้มตายลงเป็นอันมาก ฝ่ายเจ้านครเชียงใหม่เห็นข้าศึกเข้าเมืองได้ก็ตกใจไม่มีขวัญ จึงขึ้นม้าหนีออกนอกเมืองไป ขุนแผนจึงคุมทหารเข้าล้อมวัง ไปจับอรรคสาธุเทวีมเหสีพระเจ้าเชียงใหม่ กับราชธิดาอันมีนามว่าเจ้าแว่นฟ้าทอง กับนางสนมน้อยใหญ่ของพระเจ้านครเชียงใหม่ให้รวบรวมไว้พร้อมด้วยกัน แลให้เชิญนางสร้อยทองราชธิดาพระเจ้านครลานช้างที่เจ้านครเชียงใหม่ไปแย่งชิงมาไว้ให้ออกมาจากหอคำ จึงเชิญนางสร้อยทองพระราชธิดาพระเจ้าลานช้าง กับมเหสีราชธิดาพระเจ้านครเชียงใหม่ที่จับไว้ได้ เลิกกองทัพกลับลงมาถวายพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา และกราบทูลข้อราชการทัพที่มีชัยชนะนั้นให้ทรงทราบทุกประการ สมเด็จพระพันวษาก็มีพระทัยยินดีนัก จึงทรงพระราชดำริถึงทศพิศราชธรรมตรัสว่า ซึ่งเจ้านครเชียงใหม่สู้ฝีมือกองทัพไทยมิได้ หนีออกจากเมืองไป ทิ้งเมืองให้ว่างเปล่าไว้ไม่มีเจ้าปกครองดังนั้นไม่ควร สมณชีพราหมณ์ราษฎรจะได้ความเดือดร้อน จึงทรงตั้งอำมาตย์ผู้ใหญ่ ให้เป็นข้าหลวงขึ้นไปเกลี้ยกล่อมราษฎรพลเมืองเชียงใหม่ไม่ให้แตกตื่นวุ่นวาย ให้เสนาข้าราชการชาวเมืองเชียงใหม่นั้นไปติดตามเชิญพระเจ้าเชียงใหม่ กลับเข้ามาครอบครองบ้านเมืองอยู่เป็นปรกติตามเดิมดังเก่า"
"ในขณะนั้น พระองค์จึงทรงโปรดพระราชทานบำเหน็จรางวัลเป็นต้นว่าเงินทอง สิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค แก่ขุนแผนผู้เป็นแม่ทัพ แลนายทัพนายกองตลอดจนพลโยธาทวยหาญ ผู้ไปรบศึกมีชัยชนะมาในครั้งนั้นเป็นอันมาก ครั้นแล้วพระองค์จึงทรงตั้งนางสร้องทองราชธิดาพระเจ้าศรีสัตนาคนหุตลานช้าง เป็นพระมเหสีซ้าย แลตั้งนางแว่นฟ้าทองราชธิดาเจ้านครเชียงใหม่เป็นพระสนมเอก แต่มเหสีเจ้านครเชียงใหม่ผู้เป็นมารดาของนางแว่นฟ้าทองพระสนมเอกนั้น โปรดแต่งข้าหลวงพร้อมด้วยพวกพลพาขึ้นไปส่งต่อพระเจ้านครเชียงใหม่ โดยพระทัยทรงพระกรุณา ฝ่ายข้าคนชายหญิงชาวนครลานช้างแลชาวนครเชียงใหม่นั้น ก็ทรงโปรดให้ตั้งทำมาหากินอยู่ตามภูมิลำเนา ในกรุงศรีอยุธยา"
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
08 ธันวาคม 2566
ความยาว
1855 หน้า
ราคาปก
429 บาท (ประหยัด 79%)
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
คุณสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็นได้จ้า