ล็อกอินเข้าระบบ
เข้าระบบผ่าน Social Network
เข้าสู่ระบบด้วย Facebook
เข้าสู่ระบบด้วย Line
เข้าสู่ระบบด้วย Apple
เข้าสู่ระบบด้วย Google
หรือ เข้าระบบด้วยบัญชี meb
จำ Password ไม่ได้
จำ Username ไม่ได้
หากยังไม่สมัครบัญชี meb โปรด
สมัครสมาชิก
สมัครสมาชิก MEB Account
กรุณาใส่ข้อมูลที่มีเครื่องหมาย * ให้ครบถ้วน
Username
*
ต้องมีไม่ต่ำกว่า 4 ตัวอักษร และยาวไม่เกิน 32 ตัวอักษร และใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ a ถึง z, A ถึง Z หรือเครื่องหมาย _-@.
Password
*
ระบุอย่างน้อย 8 ตัว
Retype Password
*
E-mail
*
Display name
*
Phone
ระบุเฉพาะตัวเลข
First Name
Last Name
Gender
Not specified
Male
Female
ส่งข้อมูล
ล็อกอินเข้าระบบ The1
สำหรับผู้ที่มีบัญชี meb อยู่แล้ว
ครอปรูปภาพ
ล็อกอินเข้าระบบ / สมัครสมาชิก
ล็อกอินเข้าระบบ
ตะกร้า
จัดการอีบุ๊กที่วางขาย
จัดการอีบุ๊ก
อีบุ๊กทั้งหมด
เมนู
อีบุ๊กทั้งหมด
นิยายทั้งหมด
นิยายแปล
การ์ตูนทั้งหมด
อีบุ๊กทั่วไป
หนังสือเด็ก
หนังสือเรียน
หนังสือเสียง
บุฟเฟต์
หมวดหมู่ทั้งหมด
สำนักพิมพ์
เลือกหมวดหมู่ย่อย
ค้นหาสำนักพิมพ์
หน้าแรก
ขายดี
มาใหม่
โปรโมชัน
ฟรีกระจาย
ฮิตขึ้นหิ้ง
แนะนำ
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนดำเนินรายการด้วยค่ะ
ล็อกอินเข้าระบบ
กรุณายืนยันบัตรประชาชนก่อนดำเนินรายการด้วยค่ะ
ไปยืนยันบัตรประชาชน
ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลบัตรประชาชน
กรุณาดำเนินการใหม่อีกครั้งในภายหลังค่ะ
ขออภัยค่ะไม่สามารถเข้าชมได้
เนื่องจากเนื้อหาเหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
นิตยสาร Creative Thailand ปีที่ 4 ฉบับที่ 4
โดย
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้
สำนักพิมพ์
TCDC - ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบฯ
หมวดหมู่
นิตยสารความรู้
ฟรี
No Rating
ติดตาม
นักเขียน
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้
สำนักพิมพ์
TCDC - ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบฯ
หมวดหมู่
นิตยสารความรู้
แชร์
Facebook
Twitter
LINE
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
03 มกราคม 2556
ความยาว
36 หน้า
ราคาปก
ฟรี
นิตยสาร Creative Thailand ปีที่ 4 ฉบับที่ 4
โดย
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้
TCDC - ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบฯ
นิตยสารความรู้
ฟรี
No Rating
ติดตาม
นักเขียน
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้
สำนักพิมพ์
TCDC - ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบฯ
หมวดหมู่
นิตยสารความรู้
แชร์
Facebook
Twitter
LINE
Sensual Living
ในช่วงปี 1860-1914 กลุ่มจิตรกรในอังกฤษ นำโดย อัลเบิร์ต มัวร์ (Albert Moore) เซอร์ ลอว์เรนซ์ อัลมา-ทาเดมา (Sir Lawrence Alma-Tadema) เซอร์ เฟรเดอริก เลห์ตัน (Sir Frederic Leighton) และเอ็ดเวิร์ด เบิร์น-โจนส์ (Edward Burne-Jones) ได้ร่วมกันเสนอแนวคิดและสร้างรูปแบบงานจิตรกรรมซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากหญิงสาวในยุคกลาง โดยถ่ายทอดความน่าหลงใหลนั้นมาเป็นภาพเขียนเหล่าเทพธิดา (Muse) นิมฟ์ (Nymph) เทพปกรณัมกรีกหรือเหล่าวีรสตรีผู้อบอุ่นและกรุณา โดยสัญลักษณ์ของความรัญจวนใจ ลุ่มหลง เร้าอารมณ์ และสุนทรียะจากความงามเหล่านี้ได้รับการเรียกขานว่า วิกตอเรียน เพนท์ติ้ง (Victorian Painting)
เบื้องหลังแนวคิดการบูชาความงามตามธรรมชาติของผู้หญิงนั้น เกิดจากความปรารถนาที่จะยุติความธรรมดาในชีวิตประจำวันของชาวอังกฤษ เพื่อให้ผู้คนได้หันมาเสพความเพลิดเพลินและเข้าใจถึงสุนทรีภาพอันลึกซึ้งท่ามกลางความโชติช่วงทางเศรษฐกิจของยุคสมัย เหล่าศิลปินต่างตั้งใจพัฒนาความงามอันตระการตาและกระตุ้นเร้าความปรารถนาเพื่อแสดงความแข็งขืนต่อจารีตอันเคร่งครัดของยุควิกตอเรียน และสิ่งเหล่านี้ก็ดูจะได้ผล เมื่อแนวคิดการใช้ชีวิตที่ถูกเติมเต็มด้วยความรู้สึกนี้ได้แผ่ขยายไปสู่ผลงานแขนงอื่นๆ ทั้งด้านวรรณกรรม บทกวี โคลงกลอน กระทั่งโรงละครของเช็กสเปียร์ก็ยังนำเสนอแนวคิดที่เปิดเผยต่อความกระหายในรัก ผ่านการประดับตกแต่งโรงละครอย่างพิเศษเพื่อสร้างอรรถรสและความอิ่มเอมใจแก่ผู้ชม
เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่าน อรรถรสของความเร้าอารมณ์ก็ยิ่งเติบโตและเปิดเผย รูปแบบการใช้ชีวิตในปัจจุบันเปิดทางให้ผู้คนสรรหาความสำราญใจที่สนองตอบต่อแรงปรารถนาได้หลากหลายขึ้นทั้งที่ถูกและผิดกฎหมาย หรือแม้แต่การก้าวข้ามศีลธรรมและหมิ่นเหม่ต่อค่านิยมในสังคม แต่การเปิดกว้างของสังคมที่ยอมรับได้ต่อความต้องการในมุมมืดของมนุษย์ ก็ได้นำมาซึ่งการสร้างธุรกิจที่ตอบสนองต่อความต้องการในด้านที่สว่างมากขึ้น ทั้งที่เป็นการตอบสนองอย่างตรงไปตรงมา เช่น นิตยสารเพนท์เฮาส์ เพลย์บอย และฮัสต์เลอร์ ซึ่งมียอดขายกระจายไปตามบ้านเรือนอเมริกันชนถึง 200 ล้านเล่มต่อปี หรือการเติบโตของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเซ็กซ์ในออสเตรเลียที่มีรายได้เติบโตจาก 1.13 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2008 มาเป็น 1.22 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2009 เป็นต้น
ขณะเดียวกัน รูปแบบของการตอบสนองความปรารถนาที่ไม่โจ่งแจ้งแต่ละเมียดละไมมากกว่า ก็นำไปสู่การสร้างผลผลิตที่จรรโลงใจผู้คนผ่านรูป รส กลิ่น เสียง อย่างมีชั้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นความอิ่มเอมจากรสสัมผัสของอาหาร ความประทับใจในวิธีการบริการ หรือความดื่มด่ำจากบรรยากาศของสถานที่ที่ได้ปรุงแต่งอย่างเหมาะสม ความกระหายที่ผ่านการขัดเกลาเหล่านี้จึงนับเป็นความพยายามของสังคมที่จะมอบชีวิตแบบปุถุชนที่มีความปรารถนาจะเห็น จะรู้สึก และจะคาดหวัง ซึ่งหากสังคมสามารถรักษาด้านของความปรารถนาให้สมดุลกับบรรทัดฐานทางสังคมได้อย่างราบรื่น ชีวิตที่น่ารื่นรมย์ก็จะมาพร้อมกับการรู้จักถ่ายทอดความรื่นรมย์นั้น มาเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความมั่งคั่งต่อไปอย่างไม่รู้จบ ตราบเท่าที่ความต้องการของมนุษย์ยังไม่สิ้นสุดนั่นเอง
ในเล่มพบกับ...
The Object... MUSK The Sex Scent
Classic Item... Karma Sutra
Cover Story... Sex: The Source of Creative Energy
Creative Entrepreneur... Boudoir BY DISAYA ผัสสะจากอาภรณ์ชิ้นใน
Creative City... Maldives ความพิสุทธิ์ที่ปลุกเร้า
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
03 มกราคม 2556
ความยาว
36 หน้า
ราคาปก
ฟรี
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
คุณสามารถ
เข้าสู่ระบบ
เพื่อแสดงความคิดเห็นได้จ้า
รีวิวทั้งหมด