Icon Close

นิราศทวาราวดี

นิราศทวาราวดี
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
No Rating
ประเภทไฟล์
pdf, epub
วันที่วางขาย
29 มิถุนายน 2567
ความยาว
24 หน้า (≈ 8,465 คำ)
ราคาปก
99 บาท
นิราสทวาราวดีเล่มนี้ หลวงจักรปาณี (มหาฤกษ์) เกิดราว พ.ศ. ๒๓๖๙ ปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นผู้แต่ง มหาฤกษ์คนนี้เปนผู้มีชื่อเสียงว่าแต่งกลอนดี เมื่อในรัชกาลที่ ๔ อยู่มาจนในรัชกาลที่ี ๕ ได้เปนที่หมื่นพากยโวหาร แล้วเปนหลวงจักรปาณีในกรมลูกขุนแล้วจึงถึงแก่กรรม

เรื่องประวัติของมหาฤกษ์ผู้แต่งนิราสนี้ มีปรากฎในนิราสบ้าง ทราบเรื่องแต่ที่อื่นบ้าง มีเรื่องประวัติดังนี้
มหาฤกษ์เปนชาวกรุงเก่า อยู่แพหน้าวัดเชิงท่าในคลองเมือง เห็นจะเปนกำพร้ามาแต่ยังเยาว์ จึงกล่าวไว้ในนิราสปถวีว่า พระวินัยธร อยู่ วัดพนัญเชิงขอป้ามาเลี้ยงไว้แต่ยังเล็ก แต่อยู่ไม่นานไม่ทันจะได้เล่าเรียนอะไร ป้าก็มาลาเอากลับไปฝากพระวินัยธรรมวัดเชิงท่าตรงหน้าบ้านของตน

มหาฤกษ์เล่าเรียนอักขรสมัยอยู่ในสำนักนี้จนบวชเปนสามเณร เห็นจะได้เรียนภาษาบาลีบ้างแล้ว เพราะปรากฎในนิราสว่า พระวินัยธรรมเปนผู้มีปรีชาสอนหนังสือดีนัก ทำนองอาจารย์จะเห็นว่ามีเชาว์ดี จึงพาลงมาฝากไว้ที่วัดสุทัศน์ ได้เล่าเรียนอยู่ในสำนักสมเด็จพระอริยวงศา-คตญาณ (อู่)

สังเกตตามคำที่กล่าวในหนังสือนิราสดูเหมือนจะได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมได้เปนเปรียญแต่เปนสามเณร แลอุปสมบทอยู่ที่วัดสุทัศน์ กล่าวกันว่าเปนเปรียญ ๔ ประโยค อุปสมบทอยู่ตลอดรัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๔ จึงลาสิกขา ไปสังกัดอยู่ในกรมพระอาลักษณ แต่ยังมิได้รับหน้าที่ราชการเปนชิ้นเปนอัน อยู่ข้างจะร่อนเร่ จะได้ภรรยาหรืออาศรัยผู้ใดอยู่ที่บ้านแถวคุกใหม่เดี๋ยวนี้ไม่ปรากฎ เห็นจะเปนในตอนที่สึกแล้วไม่นานนี้เอง มหาฤกษ์ไปไหว้พระปฐม จึงแต่งนิราสพระปฐมเปนเรื่องแรก สังเกตดูข้อความที่พรรณาในนิราสรู้ได้ว่าสึกแล้วไม่นานนัก เพราะยังใช้เด็กวัด (เห็นจะที่เคยเปนศิษย์) ให้แจวเรือ แลยังมีตาด้วงวัดๆ อะไรไปด้วยอีกคน ๑ ทั้งข้อความที่พรรณนาในเชิงสังวาส ก็มีออกนามผู้หญิงที่เกี่ยวข้องกันอยู่หลายคน ดูเหมือนยังจะเที่ยวจับจดอยู่ ทั้งสำนวนโวหารี่แต่งในเล่มแรกนี้ยังมีคนองมาก ดูเหมือนจะยังไม่มีภรรยาเปนหลักฐาน ในตอนนี้ได้บอกหนังสืออยู่ที่โรงทานด้วย ต่อมาอิกเห็นจะหลายปี มหาฤกษ์ได้รับราชการประจำตำแหน่งแล้ว แต่ยังไม่มียศศักดิ์ เห็นจะตั้งหลักฐานได้แล้ว ขึ้นไปรับป้าผู้ที่อุปการะที่กรุงเก่า จึงแต่งนิราสทวาราวดีเปนเรื่องที่ ๒ ครั้นต่อมามหาฤกษ์มีอายุมากขึ้น ไปนมัสการพระฉายเมื่อปีชวด จ.ศ. ๒๓๔๗ พ.ศ. ๒๔๑๘ จึงแต่งนิราสพระปถวีอิกเรื่อง ๑ เปนเรื่องที่ ๓ แต่เมื่อแต่งนิราสเรื่องนี้จะได้เปนหมื่นพากยโวหารแล้วหรือยังไม่แน่ แต่เข้าใจว่าได้เปนแล้ว เพราะนิราสที่แต่งมาก่อนแล้วบอกชื่อตัวทั้ง ๒ เรื่อง มาในเรื่องหลังนี้ชื่อหายไป แลดูวางกิริยาท่าทางพากภูมิ เมื่อกล่าวถึงคนใช้พูดว่า "บ่าว" หลายคำ แลใกล้กับเวลาที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ซ่อมวัดพระแก้วในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งปรากฎว่าหมื่นพากยโวหารฤกษ์ได้แต่งโคลงห้องรามเกียรติด้วย

นอกจากนิราสที่มหาฤกษ์แต่ง ๓ เรื่องนี้ ยังมีหนังสือที่มหาฤกษ์แต่งทูลเกล้าฯ ถวายในพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอิก ๒ เรื่อง คือเสภาเรื่องอาบูหะซันเรื่อง ๑ โคลงรามเกียรติห้อง ๔๔ ตอนเบญกายแปลง กับห้องที่ ๑๓๘ ตอนหณุมานหักด่านท้าวจักรวรรดิเมืองมลิวัน แลโคลงประจำภาพนิลนนท์ เบญกาย ผีเสื้อสมุทร์ ภายหลังมหาฤกษ์ได้เลื่อนที่เปนหลวงจักรปาณี ในกรมลูกขุน แต่เห็นจะไม่นานเท่าใดก็ถึงแก่กรรม ประวัติของมหาฤกษ์มีเรื่องดังกล่าวมา.
ประเภทไฟล์
pdf, epub
วันที่วางขาย
29 มิถุนายน 2567
ความยาว
24 หน้า (≈ 8,465 คำ)
ราคาปก
99 บาท
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
คุณสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็นได้จ้า