Icon Close

การบริหารจัดการความปลอดภัยของผู้มาใช้บริการ กรณีศึกษา : ตลาดนัดสวนจตุจักร กรุงเทพมหานคร

การบริหารจัดการความปลอดภัยของผู้มาใช้บริการ กรณีศึกษา : ตลาดนัดสวนจตุจักร กรุงเทพมหานคร
สำนักพิมพ์ณกรณ์
หมวดหมู่บริหารจัดการ
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
1 Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
13 สิงหาคม 2567
ความยาว
204 หน้า
การบริหารจัดการความปลอดภัยของผู้มาใช้บริการ กรณีศึกษา : ตลาดนัดสวนจตุจักร กรุงเทพมหานคร
การบริหารจัดการความปลอดภัยของผู้มาใช้บริการ กรณีศึกษา : ตลาดนัดสวนจตุจักร กรุงเทพมหานคร
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
1 Rating
การศึกษาเรื่อง “การบริหารจัดการความปลอดภัยของผู้มาใช้บริการ กรณีศึกษา : ตลาดนัดสวนจตุจักร กรุงเทพมหานคร” ในครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการการรักษาความปลอดภัยของตลาดนัดสวนจตุจักรเพื่อศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับมาตรการการรักษาความปลอดภัยของผู้ใช้บริการในตลาดนัดสวนจตุจักรและเพื่อแสวงหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขการรักษาความปลอดภัยของตลาดนัดสวนจตุจักร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้บริหารตลาดนัดสวนจตุจักรและผู้ปฏิบัติงานด้านการรักษาความปลอดภัย รวมทั้งสิ้นจำนวน 6 คน โดยทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย และการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้บริการตลาดนัดสวนจตุจักร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance) การวิเคราะห์การจำแนกพหุ (Multiple Classification Analysis) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษา พบว่า ในปัจจุบันการดูแลความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวของตลาดนัดสวนจตุจักรได้มีนโยบายในการดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว โดยการบูรณาการร่วมกันทั้งการใช้กำลังคนและเทคโนโลยีมาใช้ในการดูแลความปลอดภัย แต่ในการปฏิบัติงาน พบว่า การจัดผังร้านค้าในตลาดที่แออัดและเป็นตรอกซอกซอยจำนวนมาก ทำให้เกิดความแออัดและจำนวนของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไม่สามารถที่จะเดินเข้าไปตรวจตราและดูแลรักษาความปลอดภัยได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ดีจากการประเมิน พบว่า การจัดการความปลอดภัยอยู่ในเกณฑ์ดี โดยพบว่ามีความเข้มงวดมากขึ้น เน้นความมั่นคงความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวมากขึ้น พนักงานรักษาความปลอดภัยมีคุณภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยัง พบว่า กลุ่มตัว อย่างมีระดับการรับรู้เกี่ยวกับมาตรการการรักษาความปลอดภัยของตลาดนัดสวนจตุจักรอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น โดยส่วนใหญ่รับรู้ว่ายานพาหนะจะมีความปลอดภัย เมื่อมาใช้บริการจอดรถในตลาดนัดสวนจตุจักร รองลงมา ได้แก่ มีความมั่นใจว่าการตรวจสอบรถเข้า-ออกในตลาดนัดสวนจตุจักรมีความจำเป็นและสามารถป้องกันการโจรกรรมยานพาหนะได้ ส่วนในเรื่องของการรับรู้ที่น้อยที่สุด คือ ตลาดนัดสวนจตุจักรมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ของตลาดนัด นอกจากนี้ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการรับรู้เกี่ยวกับการเกิดอาชญากรรมในเขตพื้นที่ตลาดนัดสวนจตุจักร ได้แก่ เพศ (Sig. = 0.000) อายุ (Sig. = 0.000) อาชีพ (Sig. = 0.000) การเคยตกเป็นผู้ประสบกับการก่ออาชญากรรมภายในตลาดนัด (Sig. = 0.000) ประสบการณ์ในการเดินทางมาท่องเที่ยวที่ตลาดนัดสวนจตุจักร (Sig. = 0.047) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการรับรู้ถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยของตลาดนัดสวนจตุจักร ได้แก่ อายุ (Sig. = 0.000) และอาชีพ (Sig. = 0.000) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
13 สิงหาคม 2567
ความยาว
204 หน้า
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
คุณสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็นได้จ้า