Icon Close

The Prototype Electronics ฉบับที่ 33

The Prototype Electronics ฉบับที่ 33
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
No Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
05 เมษายน 2556
ความยาว
84 หน้า
ราคาปก
75 บาท (ประหยัด 26%)
The Prototype Electronics ฉบับที่ 33
****โครงงาน (Proto Invention)****

TitanThermo
เครื่องวัดอุณหภูมิแสดงผลด้วย LED 100 ดวง
โครงงานเครื่องวัดอุณหภูมิที่นำมาเสนอในแบบที่แตกต่าง เกาะเกี่ยวกับหน้าตาของแท่งปรอทรุ่น คุณพ่อ ใช้ LED 100 ดวงหลากสี บอกอุณหภูมิ ร้อนหนาว แถมมีขนาดใหญ่จนนำไปใช้เป็นเฟอร์นิเจอร์อวดศักยภาพของผู้สร้างได้อย่างเต็มภาคภูมิ

BT-SpeakerAmp
ลำโพงขยายเสียงผ่านบลูทูธ
จับบอร์ดรับเสียงไร้สายผ่านบลูทูธกับเครื่องขยายเสียงฟังสบายมาใส่ตู้ลำโพงใบเขื่อง ร่ายมนต์แห่งเทคโนโลยี ออกมาเป็นตู้ลำโพงขยายเสียงสมัยใหม่ที่ต่อกับสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตในแบบไร้สาย ขับเสียงให้กระหึ่มได้อย่างอิสระไม่มี สายสัญญาณมาผัวพัน

ไฟวิ่ง LED กับ Raspberry Pi
ตัวอย่างการใช้งานพอร์ตอินพุตเอาต์พุตของ Raspberry Pi อย่างง่ายในการควบคุมอุปกรณ์เอาต์พุตมากถึง 14 ช่อง

FEZ Time Recorder
ตอนจบของโครงงานระบบบันทึกเวลาด้วย RFID แท็ก มาว่ากันถึงการทำงานของโปรแกรม และสร้างกล่องลงทะเบียนเพื่อเริ่มต้นสร้างฐานข้อมูล

Android RFID Reader
เปลี่ยนอุปกรณ์แอนดรอยด์เป็นเครื่องอ่าน RFID
จับอุปกรณ์แอนดรอยด์มารับจ๊อบทำงานร่วมกับ ตัวอ่าน RFID และ แอปเล็กๆ ที่ไม่ธรรมดา ได้เป็นเครื่องอ่านบัตร RFID แบบพกพา

Android LuxMeter
โครงงานทางซอฟต์แวร์ล้วนๆ เพื่อแฟนๆ หุ่นน้อยตัวเขียว มาเรียนรู้การทำแอปเครื่องมือวัดสุดพิเศษ ที่จะเปลี่ยนอุปกรณ์แอนดรอยด์ของคุณเป็นเครื่องวัดแสง ในแบบที่คุณไม่เคยคิดมาก่อนว่า มันทำได้

****บทความ (Proto Knowledge)****

Modbus โปรโตคอลสื่อสารข้อมูลอนุกรมที่ลึกแต่ไม่ลับ
ได้ยินชื่อเสียงมานานสำหรับรูปแบบการสื่อสารข้อมูลยอดนิยมในแวดวงอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม ได้เวลามาทำความรู้จักด้วยมินิซีร์ชุดนี้

RFID อุปกรณ์ระบุเอกลักษณ์ด้วยคลื่นวิทยุ
บอกเล่าเรื่องราวที่มาที่ไปของเทคโนโลยีระบุตัวตนแบบไร้สาย ไร้สัมผัส

ตัวอ่าน RFID แบบอนุกรม
ตัวช่วยสำคัญสำหรับการระบุเอกลักษณ์ด้วยคลื่นวิทยุหรือ RFID แผงวงจรที่ใช้ติดต่อกับบัตร RFID ย่านความถี่ 125kHz ติดต่อกับไมโครคอนโทรลเลอร์ คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์แอนดรอยด์ด้วยสัญญาณข้อมูลอนุกรม เรียนรู้และใช้งานไม่ยุ่งยาก ภายใต้งบประมาณที่สมเหตุสมผล

ดิจิตอลพื้นฐาน ตอนที่ 7 : วงจรเลือกส่งข้อมูล
มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer) ในอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า Data Selector หรือวงจรเลือกส่งข้อมูล วงจรเลือกส่งข้อมูลหรือ มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer) มีทางเข้า (Input) หลายทาง แต่มีทางออก (Output) ทางเดียว โดยข้อมูลจะถูกเลือกครั้งละ 1 บิต เท่านั้น

DARwIn-OP หุ่นยนต์ฮิวมานอยด์
ลึกลงไปอีกนิดกับความรู้เกี่ยวกับการ เตรียมความพร้อมเพื่อเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ระดับโลก
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
05 เมษายน 2556
ความยาว
84 หน้า
ราคาปก
75 บาท (ประหยัด 26%)
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
คุณสามารถล็อกอินเพื่อแสดงความคิดเห็นได้จ้า