Icon Close

ยินดีที่ได้รู้จัก Golang ผ่านภาษาซีและจาวา

ยินดีที่ได้รู้จัก Golang ผ่านภาษาซีและจาวา
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
23 Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
24 เมษายน 2566
ความยาว
239 หน้า (≈ 55,150 คำ)
ราคาปก
325 บาท (ประหยัด 50%)
ยินดีที่ได้รู้จัก Golang ผ่านภาษาซีและจาวา
ยินดีที่ได้รู้จัก Golang ผ่านภาษาซีและจาวา
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
23 Rating
++++มีเวอร์ชั่น เล่มกระดาษวางขาย บน shopee ตามลิงก์ต่อไปนี้++++
https://shopee.co.th/product/159315996/19789606100/

คำอธิบาย
ถ้าเป็นเมื่อก่อน 10 ปีที่แล้ว ยุคสมัยที่ภาษา Java มันครองโลกในงานระดับ Enterprise หรือก็คืองานพัฒนาซอฟต์แวร์ในระดับองค์กร ทั้งฝั่ง front -end กับ back-end เหตุผลที่นิยมเพราะความสามารถเรื่อง WORA (Write Once Run Anywhere) หมายถึงเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Java เพียงครั้งเดียว แล้วสามารถนำไปรันบน OS ได้ทุกที่ (ไม่ต้องคอมไพล์แยกแต่ละ OS) ซึ่งความสามารถนี้เหมาะกับงานระดับองค์กร เพราะเซิร์ฟเวอร์จะมีความหลากหลายของ OS เช่น มีทั้งเครื่องที่เป็นวินโดวส์ หรือ Linux พร้อมทั้งเวอร์ชันที่แต่ต่างกันอีกด้วย เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ภาษา Java จึงเหมาะมาก เราแค่เขียนโค้ด แล้วคอมไพล์เพียงครั้งเดียว ก็สามารถนำไป deploy บน OS ที่แตกต่างกันได้เลย

แต่มายุคสมัยนี้เทคโนโลยีพวก container อย่าง Docker และ K8s มันได้รับความนิยม จึงทำให้สมัยนี้เขียนโปรแกรมด้วยภาษาอะไรก็ได้ แล้วสามารถนำไป deploy บน OS ที่แตกต่างกันได้เลย จึงทำให้มีทางเลือกในการพัฒนาซอฟต์ในระดับองค์กรด้วยภาษาอื่นๆ โดยไม่ต้องใช้ภาษา Java อีกต่อไป

หนึ่งในภาษาที่นิยมในตอนนี้ (เป็นทางเลือก) ยิ่งถ้าเราไปเปิดเว็บหางานก็คือภาษา Go เพราะมันเป็นภาษาที่คอมไพล์แล้วได้ไฟล์ executable ที่มีขนาดเล็ก ประสิทธิภาพการรันที่ดี ไม่กิน RAM ตรงนี้จึงทำให้มันเหนือกว่าภาษา Java ที่กิน RAM มากเกินไป จึงทำให้ภาษา Go เหมาะกับงาน back-end แล้วยิ่งบริหารจัดการ concurrency ได้ง่ายด้วย จึงทำให้ภาษานี้มีเสน่ห์มากยิ่งขึ้น

ยิ่งผู้เขียนได้มีโอกาสมาทำงานแห่งหนึ่ง ที่ต้องใช้ภาษา Go เป็นครั้งแรก ก็เล็งเห็นว่าภาษานี้มีความน่าสนใจ แต่ข้อเสียของมันก็คือ syntax ที่มีการใช้เครื่องหมายปีกกา และวงเล็บเหลี่ยมค่อนข้างเยอะมาก จึงทำให้การอ่านโค้ดดูชวนวุ่นวาย อ่านลำบากไปสักหน่อย บวกกับมีคอนเซปต์แปลกๆ เช่น receiver, method, interface เป็นต้น ที่ไม่เหมือนชาวบ้านเขา ก็อาจสร้างความงงงวยให้กับผู้ศึกษาภาษานี้ครั้งแรกก็เป็นได้

ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงแต่งเล่มนี้ขึ้นมา โดยพยายามเปรียบเทียบเนื้อหาภาษา Go กับภาษา C และ Java เพราะสองภาษาดังกล่าวเป็นที่นิยมมากกว่า และหลายคนคงเขียนเป็นอยู่แล้ว แถม syntax ของภาษา Go ก็ได้รับอิทธิพลมาจาก C และ Java จึงคิดว่าจะช่วยให้ผู้อ่านศึกษาเล่มนี้ได้รวดเร็วปานติดจรวด

ถือว่าเป็นตำราคอมพิวเตอร์ที่แปลกแหวกแนวจากเล่มอื่นๆ ในท้องตลาด
เพราะปกติตำราเล่มอื่น ถ้าเป็น Java, C, Go ก็จะเนื้อหาเดียวกันทั้งเล่ม
แต่เล่มนี้ใช้การผสมผสามเปรียบเทียบ Go กับ C และ Java เลยมีสามภาษาอยู่ในเล่มเดียวกัน

ลองดูตัวอย่างเล่มนี้ได้
https://drive.google.com/file/d/1phI1jTeSyox27_ezNU0tReOVW4eT7mT3/view?usp=sharing

หรือจะทดลองอ่านบทที่ 1-7 ฟรีๆ ก็ได้นะครับ
https://drive.google.com/file/d/1WtCog4FXiMFruRROez3WfxkmzB5wGqBN/view?usp=sharing

ตัวอย่างหน้าสารบัญ
https://drive.google.com/file/d/1ytfxBB0IyHf8UlEfMOUr_VXsBASyGiOB/view?usp=sharing

จำนวนหน้า 238 หน้า กระดาษ B5 หนังสือใช้ฟอนต์ TH SarabunPSK ขนาด 15
(B5 จะเล็กกว่า A4)

เนื้อหาทั้งหมด

บทที่ 1 ปูพื้นฐาน
บทที่ 2 Packages
บทที่ 3 Variables และชนิดข้อมูล
บทที่ 4 Strings
บทที่ 5 Operators
บทที่ 6 Functions
บทที่ 7 Flow Control Statements
บทที่ 8 Pointers
บทที่ 9 Structs
บทที่ 10 Arrays กับ Slices
บทที่ 11 Maps
บทที่ 12 range
บทที่ 13 Methods
บทที่ 14 Interfaces
บทที่ 15 Generics
บทที่ 16 Concurrency
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
24 เมษายน 2566
ความยาว
239 หน้า (≈ 55,150 คำ)
ราคาปก
325 บาท (ประหยัด 50%)

สนใจเวอร์ชันกระดาษ เชิญทางนี้!

เวอร์ชันกระดาษมีวางขายที่เว็บไซต์สำนักพิมพ์ จะไม่มีขายโดย MEB นะจ๊ะ สามารถสั่งซื้อ หรือติดต่อคนขายโดยตรงเลยจ้ะ
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
คุณสามารถล็อกอินเพื่อแสดงความคิดเห็นได้จ้า